24 พ.ค. เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

EP.21: สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน โดย บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) – พฤษภาคม 2567

Monthly Investment Insights for AIA Unit Linked by AIAIMT – MAY 2024
สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน สำหรับ AIA Unit Linked โดย บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) – พฤษภาคม 2567
📌 ภาพรวมตลาดในเดือนที่ผ่านมา – Fed ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวน
• ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนเมษายน เคลื่อนไหวในทิศทางต่างกัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากความกังวลต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับลดล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีน (GDP, PMI ภาคการผลิตและบริการ) ในช่วงไตรมาส1/2567 รายงานออกมาสูงเกินคาด
ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวนระหว่างเดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลยืนยันจะเริ่มดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตได้ในไตรมาส 4/2567 อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยกลับมาปรับตัวลดลงอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือน หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯยังขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าคาด
ตลาดตราสารหนี้ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ในเดือนเมษายน 2567 ทำให้นักลงทุนบางส่วนมองว่า ธปท. อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมตลอดปี และ (2) Fed ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดหลักปรับเพิ่มขึ้น
📌 ตลาดตราสารหนี้ :
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดโลก ประกอบกับท่าทีของ ธปท. ที่มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.27% ปิดที่ระดับ 2.78% ด้านหุ้นกู้ภาคเอกชน ส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (credit spread) อายุ 5 ปี อันดับความน่าเชื่อถือ A ปรับแคบลง 0.06% ปิดที่ระดับ 1.12% หลังจากอัตราผลตอบแทนที่ปรับเพิ่มขึ้นมามากในเดือนเมษายน 2567 ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนอีกครั้ง
• ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นถึง 0.48% ปิดที่ระดับ 4.68% หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อยังคงขยายตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายของ Fed และตัวเลขเศรษฐ กิจสหรัฐฯและตลาดแรงงานยังคงขยายตัวได้ดี ทำให้นักลงทุนมองว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยสูงไว้ยาวนานกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
📌 ตลาดหุ้นไทย :
• SET Index มีทิศทางผันผวนรุนแรงตลอดเดือนเมษายน 2567 โดยดัชนีฯ ในช่วงแรกของเดือนปรับสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 1,408 จุด (วันที่ 10 เมษายน 2567) จากปัจจัยบวกภายในประเทศเรื่องความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งโครงการ Digital Wallet (หลังจากสามารถระบุแหล่งเงินทุนงบประมาณที่จะใช้สำหรับโครงการได้แล้ว) รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกดดันต่างประเทศ ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงแนวโน้มที่ Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้ากว่าคาด กดดันให้ดัชนีฯ พลิกกลับมาหดตัวจนทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ระดับ 1,332 จุด (วันที่ 19 เมษายน 2567) ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นบ้างในช่วงปลายเดือน โดยรวมแล้ว SET Index ณ สิ้นเดือนเมษายน 2567 ปิดที่ระดับ 1,368 จุด ปรับลดลงเล็กน้อย 0.70% จากเดือนก่อนหน้า
📌 มุมมองการลงทุน
มุมมองการลงทุนตราสารหนี้: การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงเดือนเมษายน 2567 ทำให้ตราสารหนี้ไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น และมองเป็นจังหวะในการทยอย เข้าซื้อเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยในระยะถัดไป อัตราผลตอบแทนอาจยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อได้บ้าง หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวและเงินเฟ้อกลับมาเข้ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนปรับมุมมองต่อดอกเบี้ยนโยบายว่าอาจคงอยู่ในระดับ 2.50% ตลอดทั้งปี 2567
มุมมองการลงทุนตราสารทุน :
มุมมองการลงทุนหุ้นในตลาดต่างประเทศ: ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนเมษายน 2567 เคลื่อนไหวในทิศทางต่างกัน โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500 -4.1%, Nasdaq -4.4% DJIA -5%) ล้วนปรับตัวลดลง เป็นผลจากความกังวลต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับลดล่าช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ในทางตรงกันข้าม ตลาดหุ้นเอเชีย (HSKI +7.4%, CSI300 +1.9%) ส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีน (GDP, PMI ทั้งภาคการผลิต และบริการ) ในช่วงไตรมาศ 1/2567 รายงานออกมาสูงเกินคาด
มุมมองการลงทุนหุ้นในตลาดไทย: SET Index ยังคง Laggards เทียบกับตลาดหุ้นโลก แสดงถึงดัชนีฯ หุ้นไทยตอบรับปัจจัยลบในประเทศต่างๆ ไปมากแล้ว ทั้งนี้ เอไอเอเชื่อว่าความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโครงการ Digital Wallet รวมถึงงบประมาณเบิกจ่ายของรัฐบาลที่จะเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 2/2567 น่าจะช่วยหนุนดัชนีฯ ในช่วงที่เหลือของปี ให้พลิกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
📌 คำแนะนำการลงทุน
ตราสารทุน : รักษาวินัยการลงทุน สะสมการลงทุนในตราสารทุนเพื่อเป้าหมายการลงทุนระยะยาว โดยทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนเข้าสู่เป้าหมายระยะยาว
ตราสารหนี้ : ตลาดยังมีความผันผวนสูง ควรรักษาสภาพคล่องเพื่อหาจังหวะทยอยลงทุนในตราสารทุน ในขณะเดียวกัน ยังควรถือตราสารหนี้เพื่อจำกัดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
แหล่งข้อมูล: “สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567” โดย AIA Investments และ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป ผู้ใช้ต้องใช้ความระมัดระวังด้วยวิจารณญาณและรับผิดชอบในความเสี่ยงต่างๆ ด้วยตนเอง
เริ่มวางแผนการเงินระยะยาว กับบริการผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลการลงทุน AIA InvestPro และ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย)
ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ที่เหมาะกับคุณได้แล้ววันนี้
ติดต่อตัวแทน เอไอเอ หรือดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.aia.co.th/th/our-products/save-invest/unit-linked
📌 คำเตือน:
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจรายละเอียด เงื่อนไข ความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย รวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/aiathailand

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา