12 มิ.ย. เวลา 11:05 • สุขภาพ

อนุภาคเล็กๆ ปัญหาใหญ่ของหัวใจที่โดนทำร้ายจากฝุ่น PM 2.5

#HealthyLiving สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษคืออนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกว่า PM2.5 พวกมันมีขนาดเล็กมากโดยไม่ได้ติดอยู่กับตัวกรองในจมูกและทางเดินหายใจที่ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายจากสารปนเปื้อนในอากาศ
.
อนุภาคเดินทางลึกเข้าไปในปอด ซึ่งพวกมันจะระคายเคืองต่อตัวรับและกระตุ้นเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการทำงานที่สำคัญอื่นๆ ปรากฏการณ์นี้น่าจะอธิบายได้ว่าทำไมแม้แต่การสัมผัสมลพิษทางอากาศในระดับสูงในระยะสั้นก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนได้ ดร. มิตเทิลแมน "Dr. Mittleman" กล่าว
.
อันตรายที่เกี่ยวข้องกับหัวใจจากมลพิษทางอากาศ เป็นภัยคุกคามที่มองไม่เห็น ซึ่งส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
.
ยังมีผู้คนมากมายที่ไม่ได้คิดถึงมลพิษทางอากาศบ่อยนัก จากการทบทวนที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2021 ใน The New England Journal of Medicine (NEJM) ที่มักถูกมองข้ามแต่มีส่วนสำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
.
จากข้อมูลถึงแม้อากาศจะสะอาดขึ้นกว่าเมื่อ 50 ปีก่อน แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนจากก๊าซที่ไม่มีกลิ่น และมองไม่เห็นเป็นส่วนใหญ่ และภายในในนั้นคืออนุภาคขนาดเล็กที่เก็ดจากการเผาไหม้เชิ้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีทั้งจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงถลุงเหล็ก และท่อไอเสียรถยนต์เป็นปัจจัยหลัก ควันจากไฟป่า โดยเฉพาะไฟป่าขนาดใหญ่ และจากการเผาไหม้เพื่อการเกษตร
.
ดร. เมอร์เรย์ มิตเทิลแมน (Dr. Murray Mittleman) ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาที่ Harvard T.H. กล่าว "แม้แต่ในเมืองที่ค่อนข้างสะอาดซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศของ EPA ระดับมลพิษทางอากาศที่ค่อนข้างต่ำก็ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง”
.
...
องค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่า หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกินกว่า 10-25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคมะเร็ง
...
.
การระคายเคืองที่เกิดจาก PM2.5 และโมเลกุลอื่นๆ ในมลพิษทางอากาศก็สามารถกระตุ้นการอักเสบได้ เช่น การหลั่งไหลของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เช่นเดียวกับสารอื่นๆ ที่เร่งการเกิดหลอดเลือด แผ่นไขมันในหลอดเลือดแดง (fatty plaque inside the arteries) ชิ้นส่วนเซลล์เล็กๆ ในเลือดที่เรียกว่าเกล็ดเลือดจะ "เหนียวกว่า" และมีแนวโน้มที่จะแข็งตัวมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ร่วมกันทำให้หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสมากขึ้น
.
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงเหล่านี้ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของระดับ PM2.5 ทั้งในระยะสั้น (ชั่วโมงต่อวัน) และในระยะยาว (หนึ่งถึงห้าปี) ตามบทความของ NEJM การเพิ่มขึ้นของระดับ PM2.5 ยังเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
.
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือได้ว่ามีส่วนร่วมกับ PM2.5 และองค์ประกอบอื่นๆด้วยเช่นกัน มลพิษทางอากาศ รวมถึงโอโซนระดับพื้นดิน มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศเลวร้ายลงด้วยวิธีการที่เชื่อมโยงถึงกัน
.
เมื่ออุณหภูมิสูงส่งเสริมการสร้างโอโซนระดับพื้นดิน และเพิ่มความเสี่ยงของไฟป่าและพายุฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิด PM2.5 มากขึ้น
.
ความร้อนที่ร้อนอบอ้าว ก็เป็นส่วนที่ทำให้เพิ่มความต้องการของไฟฟ้า (ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็เพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่ ที่เพิ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก) ท้ายที่สุด อุณหภูมิที่สูงเกินไปอาจทำให้หัวใจวายและโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
.
การผลักดันให้มีการเปลี่ยนไปสู่รูปแบบพลังงานที่สะอาดขึ้น การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับมลพิษด้วยเช่นกัน เพื่อผลดีต่อคุณภาพอากาศ
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
#betterday
#Green
โฆษณา