15 มิ.ย. 2024 เวลา 13:44 • อาหาร

บันทึกนึกได้ วันที่ 15 มิถุนายน 2024 กลางวันนี้กินอะไรดี

เราได้เลือกมาทำงานที่บ้านได้ ประมาณ 10 ปีแล้วนั่นหมายความว่าต้องกินข้าวกลางวันแถวบ้านเท่านั้นถ้าไม่นับรวมสั่งแอพ มันคือ = 365 วัน X 1 มื้อ X 10 ปี = 3650 มื้อ
คนเราจะกินอาหารแถวบ้านได้นานขนาดนี้เยอะขนาดนี้ถึง 3650 ครั้งใน 10 ปีเลยเหรอ จะบอกว่าในระยะหลังมีแอพสั่งอาหาร มีเว็บไซต์ฟู๊ดเดลิเวอรี่มากมาย แต่ในฐานะคนที่ออกมาทำงานที่บ้านค่อนข้างจำกัดงบประมาณ เลยไม่สามารถสั่งตามใจปากทุกอย่างได้ทุกครั้งไป
ก็ต้องเป็นนานนานทีเพื่อเซฟคอสต์
นั่นทำให้เหลือตัวเลือกแค่อาหารร้านตามสั่งแถวบ้านเท่านั้น ซึ่งเราก็จะคิดทุกครั้งว่าจะสั่งอะไรดี มันเป็นเรื่องใหญ่เลยนะว่าวันนี้จะกินข้าวกลางวันอะไร ตอนเย็นบางทีเราก็หากินตามมีตามเกิด หรือไม่ก็ค่อยขอส่วนบุญจากคนที่ออกไปทำงานแล้วนอกบ้าน แล้วก็จะมีอะไรติดไม้ติดมือกลับมาบ้าง แล้วบ้านเราก็สั่งอาหารปิ่นโตตอนเย็น อาหารเย็นเลยไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราไดเอตจำกัดอาหารจะไม่มีปัญหาเลย มื้อเย็นไม่ควรกินข้าวใช่ไหมแต่เราก็กินเยอะนะเพราะส่วนใหญ่น้องจะหาของที่ดูน่ากินกลับมาไว้ที่บ้านเสมอ
ทีนี้ปัญหามันก็เลยตกไปที่่มื้อกลางวัน แต่มันก็มีแค่ไม่กี่อย่างที่ดูได้กินแล้วพอจะกินได้ มันเป็นปัญหาระดับชาติเลยนะเรื่องนี้คือพอตอนตื่นนอนเราก็ต้องคิดแล้วว่าวันนี้จะกินอะไรดี คิดก่อนแล้วไปทำตามทีหลังคือให้มีตัวเลือกเอาไว้ก่อน
เราอยู่กับพ่อแม่ มีอยู่ครั้งนึงนึกยังไงไม่รู้อยากกินข้าวต้มกับผักกาดดองก็จะเป็นผักกาดดองกระป๋องตรานกพิราบที่เราคิดว่าอร่อยที่สุด เคยกินยี่ห้ออื่นเหมือนกันแต่เราว่าเราชอบนกพิราบมากกว่า
ทีนี้เราก็บอกพ่อว่าช่วยซื้อผักกาดดองกระป๋องตรานกพิราบมาให้หน่อย เราจะกินตอนกลางวันพ่อก็โอเคซื้อมา แต่ดราม่าเริ่มเกิดเพราะมีแต่ผักผักกาดดองไม่มีข้าว
เราจะเอาข้าวมาทำข้าวต้มกินกับผักกาดดองป๋องแต่มันไม่มีข้าวแล้วจะให้ทำยังไง พ่อเราก็ไม่เอะใจอะไรเลย ตอนเราบอกว่าเราจะเอาผักกาดดองมากินกับข้าว เค้าก็ซื้อแค่ผักกาดดองแต่ข้าวเหลือซักสามช้อนเล็กๆผู้ใหญ่จะกินพอเหรอ ไม่มีทาง
แผนเลยต้องเปลี่ยนเป็นอาหารกันตายอย่างมาม่าแทน แล้วพอจะใส่ไข่ให้เพิ่มโปรตีนให้มีเนื้อมีหนังหน่อยพ่อก็บอกว่าไข่หมดอีกไม่ได้ซื้อ เอาเข้าไป
สรุปเมนูอาหารมื้อกลางวันเลยเป็นมาม่าเปล่าๆ ไม่ใส่อะไรเลย อาหารเหงาๆ ของคนทำงานที่บ้านมา 10 ปีแล้วมันก็ได้แค่นี้แหละ
ถ้าชอบบทความแบบนี้ช่วยกดไลค์กดติดตามกันหน่อยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา