27 มิ.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

ประเภทธุรกิจ

ผู้อ่านบ้างคนต้องการที่จะทำธุรกิจเพื่อเลี้ยงชีวิตของผู้อ่านเอง หรือคนอื่นๆ ในครอบครัวของผู้อ่าน บ้างคนทำธุรกิจเพราะหวังว่าจะรวยและมั่นคง บ้างคนที่ทำเพราะแค่อยากจะทำก็ได้ ประเภทธุรกิจ มีอยางหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเอง ผู้อ่านแยกให้ออกว่าธุรกิจที่ผู้อ่านจะทำเป็นธุรกิจแบบไหน เพราะธุรกิจแต่ละประเภทไม่เหมือนกันในการยื่นภาษี
รูปแบบของการประกอบธุรกิจ
ในการประกอบธุรกิจทุกรูปแบบกิจการจะต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกิจการ และจัดทำบันทึกรายการที่เกิดขึ้น เพื่อจะทำให้ทราบผลดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ ดังนั้นในการประกอบธุรกิจสามารถแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งและผู้เริ่มก่อตั้งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
หมายถึง กิจการขนาดเล็กที่มีผู้เริ่มต้นก่อตั้งเพียงบุคคลเดียว ลงทุนเพียงคนเดียว มีอำนาจในการบริหารงาน การจัดการ การดำเนินงานทั้งหมดซึ่งเจ้าของจะมีหน้าที่รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการร้านค้าที่เกิดขึ้นแบบไม่จำกัดจำนวน โดยเจ้าของสามารถจ้างพนักงานมาช่วยงานในกิจการได้ เช่น ร้านเสริมสวย ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ร้านซักอบรีด ร้านซ่อมรถ เป็นต้น
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
หมายเหตุ กิจการที่มีผู้เริ่มก่อตั้งและร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการกำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขในการลงทุนและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน ผู้เป็นหุ้นส่วนจะช่วยกันทำงานหรือแต่งตั้งบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นผู้บริหารงานก็ได้ ตามหลักกฎหมายได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแบบไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนที่จะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนจัดตั้งก็ได้ แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและจะต้องมีคำว่า “นิติบุคคล” ต่อท้ายชื่อของห้างหุ้นส่วน
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดจะมี 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดชอบกับหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ ซึ่งทุกห้างหุ้นส่วนจำกัดกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนที่ผู้รับผิดชอบแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนจัดตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล
3. บริษัทจำกัด (Company)
ตามกฎหมายแล้วบริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) บริษัทเอกชน จำกัด (Corporation) บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1097 ได้บัญญัติไว้ว่า การจัดตั้งบริษัทเอกชนจำกัด ต้องมีผู้จัดต้องอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ร่วมกันจดหนังสือบริคณห์สนธิและนำไปจดทะเบียน เมื่อมีผู้ซื้อหุ้นครบแล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท บุคคลทั่วไปไม่สามารถซื้อหุ้นของบริษัทเหล่านี้ได้ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ หุ้นต้องมีมูลค่าอย่างต่ำหุ้นละ 5 บาท การชำระมูลค่าหุ้นครั้งแรกต้องไม่ต่ำกว่า 25% และผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเพียงแค่มูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
2) บริษัทมหาชน จำกัด (Public Corporation) บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 กำหนดว่าการจัดตั้งบริษัทมหาชน จำกัด ต้องมีผู้จัดตั้งอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป ต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อยร้อยละ 5 ของหุ้นที่จดทะเบียน แต่ละคนถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 หุ้นของบริษัทมหาชนมีลักษณะที่ตั้งใจจะขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป โดยผู้ที่ซื้อหุ้นไปจะมีสภาพความเป็นเจ้าของซึ่งจะจำกัดความรับผิดชอบตามมูลค่าหุ้นที่ต้องชำระเท่านั้น
4. รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
เป็นหน่วยงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมด หรือรัฐบาลร่วมลงทุนเกินกว่า 50% โดยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 มาตรา 13 เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ท่าเรือแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคมคอยดูแล การไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงานคอยดูแล การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยคอยดูแล
การแบ่งประเภทของธุรกิจในทางบัญชีและการจัดทำบัญชีมี 3 ประเภท คือ
1. ธุรกิจให้บริการ (Service firm)
คือ ธุรกิจที่จัดทำขึ้นมาเพื่อจะให้บริการในด้านต่างๆ แก่ลูกค้าโดยไม่มีการนำสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เช่น โรงแรมให้บริการห้องพัก ร้านซ่อมรถ ร้านซักอบรีด ร้านเสริมสวย ร้านบริการอินเตอร์เน็ต และบริษัทให้บริการขนส่งสินค้า เป็นต้น
2. ธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising firm)
คือ การนำสินค้าจำหน่าย หรือทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน มีสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจากกิจการอื่นนำมาขายให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ขายก็ได้ โดยซื้อมาแบบใดขายไปแบบนั้นไม่มีการแปรสภาพของสินค้า เช่น ห้างสรรสินค้า บริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้า ร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อ
3. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing firm)
คือ ธุรกิจที่ทำการแปรสภาพวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป บางธุรกิจผลิตสินค้าขึ้นมาเองแล้วนำสินค้านั้นออกจำหน่ายด้วยตัวเอง บางธุรกิจผลิตขึ้นมาแล้วส่งให้ผู้อื่นขาย เช่น บริษัทในเครือซีพี บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูลย์ บริษัทผลิตรถยนต์
ประเภทของธุรกิจ แบบนิติบุคคล
โดยธุรกิจแบบนิติบุคคล จะแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทของธุรกิจ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
เป็นลักษณะของธุรกิจที่มีผู้ร่วม 2 คน ขึ้นไป แต่จะจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ไม่ใช่ชื่อบุคคล สำหรับผู้เข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจกิจการ หากรับผิดชอบส่วนหนี้สินไม่เกินเงินลงทุน หากต้องการมีสิทธิในการตัดสินใจ ต้องรับผิดชอบแบบไม่จำกัดจำนวนหนี้สินเท่านั้น
ประเภทของธุรกิจ บริษัทจำกัด
เป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ร่วมดำเนินการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และต้องเป็นผู้ถือหุ้นจำนวนเท่ากัน และการรับผิดชอบหนี้สิน จะไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน โดยต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การทำธุรกิจประเภทนี้ จะต้องเป็นกิจการที่มีมูลค่าสูง และทำรายได้ดี มีคณะกรรมการบริหารกิจการ
ประเภทของธุรกิจ บริษัทมหาชนจำกัด
เป็นลักษณะบริษัท ที่ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน โดยสามารถนำหุ้นจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อได้ และร่วมเป็นหุ้นส่วนได้ ตามส่วนที่ซื้อ และยังสามารถขายต่อได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
ประเภทของธุรกิจ องค์กรธุรกิจจัดตั้ง หรือ จดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
ประเภทของธุรกิจ นีัจะจัดตั้งผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป โดยแต่ะละหุ้น ต้องมีมูลค่าเท่ากัน เป็นองค์กรที่จัดตั้งเฉพาะธุรกิจนั้นๆ เช่น ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจอาหาร ธุรกิจบริการ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า แต่ละประเภทธุรกิจ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป อยู่ที่ว่า เจ้าของธุรกิจจัดตั้งขึ้นมาเป็นธุรกิจประเภทไหน เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะกับสิ่งที่ทำอยู่ ก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างราบรื่น สิ่งสำคัญหลังจากมีธุรกิจเป็นของตัวเองแล้ว ก็ต้องเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคให้ได้ ต้องมีการทำการตลาดด้วย หลักการตลาด ที่เหมาะสม เข้าให้ถึง พฤติกรรมผู้บริโภค ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร ถึงจะไปถึงจุดหมายได้ในที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง
ของใช้ในOffice พร้อมLinkสั่งซื้อ
การเริ่มทำการธุรกิจไม่เกินจริง
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา