17 ก.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

วางแผนการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล เป็นหนึ่งในขั้นตอนการในการวางแผน ถ้าผู้อ่านวางแผนได้ดี สภาพทางการเงินของผู้อ่านจะดีขึ้นในอนาคคตอย่างแน่นอน และผู้อ่านจะไม่มีเป็นหนี้นอกระบบที่ไม่จำเป็น
ขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน
การวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ ควรมีขั้นตอนชัดเจน เป็นไปได้ และสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา โดยหลักการแล้ว การวางแผนการเงินควรประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ ได้แก่
กำหนดวิธีเก็บเงิน
จัดสรรเงินอย่างเป็นขั้นตอน มีระบบชัดเจน
นำเงินเก็บไปลงทุน และต่อยอดเพิ่มเติม
เมื่อนำหลักการทั้ง 3 ข้อมาพิจารณาร่วมกัน จะได้ 7 วิธีที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นวางแผนการเงินได้ดังต่อไปนี้
1. ออมทีละน้อยค่อยตั้งเป้าหมายใหญ่
วินัยออมเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นตัวตัดสินว่าแผนการเงินนั้นจะเป็นไปได้ และประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ ซึ่งวินัยออมเงินที่ดี คือ “เก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ” ไม่ว่าเงินจำนวนเล็กน้อย 5 บาท 10 บาท ต่างก็มีมูลค่าทั้งนั้น เงินจำนวนเพียงเล็กน้อยสามารถกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ เมื่อตั้งเป้าหมายอย่างแน่วแน่
2. ออมเงินทันทีเมื่อมีรายรับ
นอกจากการเก็บเงินทีละน้อย และมีวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอแล้ว การออมเงินทันทีเมื่อเงินเดือนออก เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด เพราะการเก็บเงินทีละน้อยทุกวัน มีโอกาสที่เราอาจหลงลืมได้ ที่สำคัญเมื่อวางแผนการเงินให้เก็บเงินทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน จะช่วยให้มีเงินออมแน่นอน ลดการบริโภคเกินความจำเป็น และให้เราเข้มงวดต่อตนเองกับแผนการเงินที่วางเอาไว้ด้วย
3. บัญชีรายรับรายจ่ายไม่ควรมองข้าม
ถ้าหาวิธีเก็บเงินที่เหมาะสมกับตนเองได้แล้ว การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้มือใหม่ผู้สนใจเริ่มต้นออมเงิน วางแผนการเงินถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เพราะช่วยให้เราทราบว่ามีเงินส่วนใดใช้จ่ายอย่างผิดปกติ และหาทางป้องกันไม่ให้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยจนเกินไป
4. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน
เมื่อจัดสรรเงินอย่างเป็นระบบ แบ่งเงินอย่างชัดเจนว่าส่วนใดคือ รายจ่าย-เงินเก็บ จะทำให้การวางแผนการเงินง่ายขึ้น เพราะหลายคนเมื่อได้เงินเดือนมาก็หมดไปกับรายจ่ายที่รออยู่ตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ-ค่าไฟ ฯลฯ รู้ตัวอีกทีก็เหลือเงินเพียงหลักร้อย แต่ต้องใช้จ่ายตลอดทั้งเดือน
ซึ่งสัดส่วนการแบ่งเงินที่แนะนำ คือ “60 - 30 - 10” โดยกำหนดให้
60 คือค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ หนี้สิน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
30 เท่ากับ รายจ่ายรายวันที่เกี่ยวกับค่าเดินทาง ค่าอาหาร
10 หมายถึงจำนวนเงินออมที่ควรเก็บในแต่ละเดือน
โดยการแบ่งสัดส่วนที่ผู้อ่านได้เห็นอยู่เป็นการแบ่งสัดส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหม่แนะนำเท่านั้น
5. วางแผนการเงินสำหรับเกิดเหตุฉุกเฉิน
เชื่อว่าหลายคนลืมวางแผนการเงินสำหรับเรื่องฉุกเฉินไว้เสียสนิท และมักเผลอใช้เงินเก็บทั้งหมดสำหรับดาวน์บ้าน ซื้อรถ ทำให้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น จ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือตกงานกะทันหัน ต่างต้องหาเงินด่วนด้วยการกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งยิ่งซ้ำเติมให้สถานการณ์ทางการเงินแย่ลงไปอีก
6. รู้จักการบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเป็นหนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เมื่อรู้จักการวางแผนการเงิน และบริหารหนี้อย่างเหมาะสม โดยให้จัดลำดับความสำคัญของหนี้แต่ละประเภทตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ยิ่งดอกเบี้ยเยอะ กำหนดจ่ายเร็ว ต้องชำระหนี้ส่วนนั้นก่อนเป็นอันดับแรก ไม่อย่างนั้นแล้วจะโดนค่าปรับ และทบยอดให้ต้องจ่ายหนี้นานขึ้น จำนวนเงินมากขึ้นไปอีก
7. นำเงินไปลงทุนต่อยอด
การสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวไม่ใช่การมีเงินเก็บมากที่สุด แต่เป็นการสร้าง Passive income ที่ให้เงินช่วยทำงานแทนเรา ซึ่งการวางแผนการเงินเพื่อสร้าง Passive income จำเป็นต้องมีวินัยทางการเงิน และความรู้ทางการเงินอย่างดีเยี่ยม โดยมือใหม่สามารถเริ่มได้ ด้วยการศึกษาการลงทุนทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทองคำ กองทุนรวม ฯลฯ
ควรเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน
มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3 - 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน
ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
พิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง
อาจหาแหล่งรายได้เสริมหรือนำสินทรัพย์ที่มีไปลงทุนให้งอกเงยขึ้น​
อาหารเสริมอาหารเสริมบำรุงสมอง
อาหารเสริมอาหารเสริมสายตา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา