19 ก.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

เทคนิคการจัดทำงบประมาณ และการจัดการหนี้สิน

เทคนิคการจัดทำงบประมาณ และการจัดการหนี้สิน เป็นเทคนิคหรือการจัด ผู้อ่านแยกให้ออกก่อนว่าทั้งสองอย่างนี้มีความหมายยังไง แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเอาทั้งอย่างมารวมกัน?
เทคนิคการจัดทำงบประมาณ คือ การวางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข เช่น ในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงทำงาน, จำนวนสินค้าที่ขาย ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ในอนาคต เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
การจัดทำงบประมาณเหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก การจัดทำงบประมาณจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมการขายและค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นโดยผ่านตัวเลขทางบัญชีและการเงิน ฉะนั้นการจัดทำงบประมาณถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และยังเป็นเครื่องมือให้ฝ่ายบริหารสามารถวางแผนการใช้เงินในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไรของกิจการ
งบประมาณการของธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางจะนิยมทำขึ้น 2 ประเภท
1. งบประมาณดำเนินการ ประกอบไปด้วยงบประมาณดังนี้ งบประมาณการขาย,งบประมาณการผลิต, งบประมาณการใช้วัตถุดิบ,งบประมาณแรงงาน,งบประมาณค่าใช้จ่ายโรงงาน,งบประมาณต้นทุนการผลิต, งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร
2. งบประมาณการเงิน ประกอบไปด้วย งบประมาณเงินสด, งบประมาณกำไรขาดทุน, งบประมาณการงบดุล
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องทำงบประมาณการทุกงบตามด้านบน อาจเลือกทำงบประมาณที่มีความสำคัญต่อกิจการตนเอง เช่น งบประมาณการขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณกำไรขาดทุน
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณการ
• นำข้อมูลการขาย ค่าใช้จ่ายในอดีตมาวิเคราะห์
• ดูแนวโน้มของธุรกิจว่าดีขึ้นหรือแย่ลงเพื่อวางแผนปีหน้า
• ดูสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
• ดูความพร้อมของทรัพยากรวัตถุดิบ คน เครื่องจักร เงินทุน
• เจ้าของกิจการ, ผู้บริหาร, ผู้จัดการฝ่าย ร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานว่าจะเพิ่มยอดขาย หรือเพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มสาขา เพิ่มตลาดฯลฯ
• กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
• เริ่มจัดทำงบประมาณให้เป็นไปตามแผนโดยมีการตั้งข้อสมมติฐานในการจัดงบประมาณการตามแผนที่วางไว้ คือการพยากรณ์รายได้จากการขาย รายจ่ายจากต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารและความต้องการเงินที่ต้องลงทุนเพิ่ม
• แผนกหรือฝ่ายแต่ละฝ่ายส่งงบประมาณของฝ่ายตนเองมาให้บัญชีและการเงินรวบรวมเพื่อออกมาเป็นงบประมาณกำไรขาดทุน และงบประมาณการงบดุล
• งบประมาณการควรมีการจัดทำขึ้นแบบมีรายละเอียดทุกเดือนเพื่อให้ผู้บริหารติดตามได้และมีการสรุปเป็นรายไตรมาส เพื่อแก้ไขได้ทันการณ์หากการขายไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
ปัญหาในการจัดทำงบประมาณมีดังนี้
1. แผนธุรกิจกำหนดเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน
2. กำลังคน อุปกรณ์และเครื่องใช้ไม่สมดุลกับงานตามงบประมาณที่ตั้งไว้
3. การประมาณการทั้งรายได้และรายจ่ายที่ไม่เหมาะสม ตั้งยอดขายไว้สูงเกินไป
4. มีการคำนวณค่าใช้จ่ายไม่ครอบคลุมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดทุนได้
5. แบบฟอร์มที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณนั้นยากเกินไปในการกรอกข้อมูล
6. ไม่มีข้อมูลในอดีตและไม่ได้วิเคราะห์สถานการณ์ให้ดี
7. ขาดการศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของเงินที่ลงทุนเพิ่ม
การจัดการหนี้สิน คือ กระบวนการบริหารและจัดการหนี้ไม่ให้เกิดเป็นหนึ้ค้าง ชาระและแก้ไขหนี้ค้างชาระอย่างเป็นระบบ ทาให้ลูกหนี้ชาระหนี้คืนได้
หนี้ดี คือ หนี้ที่สร้างรายได้หรือสร้างความมั่นคงในอนาคต
- หนี้สร้างอนาคต เป็นหนี้ที่ทำให้เรามีโอกาสได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น มีงานทำหรือมีโอกาสก้าวหน้าในงานมากขึ้น
- หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สร้างอาชีพให้แก่เราและทำให้เรามีโอกาสมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น กู้เงินเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์มาทำงาน ซื้อเครื่องมือการเกษตร​
- หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว เช่น การมีบ้านเป็นของตัวเองจะทำให้เราไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านแต่มาจ่ายค่าผ่อนบ้าน ทำให้มีทรัพย์สินส่วนตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปบ้านที่เราซื้อก็มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
หนี้พึงระวัง คือ หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต
- หนี้จากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นหนี้ที่สร้างความสุขเพียงชั่วคราว ไม่สมเหตุสมผลและไม่ได้สร้างรายได้หรือความมั่นคงให้แก่เราในระยะยาว
- หนี้ที่มีมากเกินกำลังจ่าย เช่น กู้เงินซื้อบ้านหรือรถที่แพงเกินไป กู้ซื้อคอนโดหลายแห่งพร้อมกัน ผ่อนไม่ไหวจนต้องขายหรือถูกยึดในที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าหนี้ดีก็อาจเป็นหนี้พึงระวังได้
หนี้อันตราย คือ หนี้ที่เกิดจากการนำเงินไปใช้กับสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเงินคืน หรืออาจเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จึงเป็นหนี้ที่ต้องละเว้นเด็ดขาด
- หนี้ที่เกิดจากการพนัน/เสี่ยงโชค
- หนี้ที่กู้ไปลงทุนผิดกฎหมาย เช่น แชร์ลูกโซ่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา