Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Easy Finance
•
ติดตาม
21 ก.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ
เกษียณยังไง? ให้มีเงินใช้!
การแผนเกษียณผู้อ่านอาจได้เจอผู้คนที่ออกมาแนะนำการว่างแผนทางการเงิน และการจัดการเงินยังไง ให้ได้มีเงินในตอนที่ผู้อ่านทุกคนได้เกษียณ ทางEasy Finance ของพวกเราไม่ได้จะมาบอกว่าผู้อ่านจะไปลงทุนเท่านั้น ถึงจะเกษียณได้ด้วยมีเงินเหลือได้ใช้ชีวิตตอนแก่แล้วเท่านั้น คำพูดอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ ขึ้นผู้อ่านเชื่อแบบไหน แล้วมันไม่มีคำว่าถูกผิด แต่จะอยู่ที่ว่าใครสามารถว่างแผนทางการเงิน และการจัดการเงินยังไงมากกว่า
ทำไมต้องวางแผนเกษียณ
แม้ว่าคุณทำอาชีพรับราชการได้รับเงินบำนาญจากกบข. หรือเป็นพนักงานเอกชนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่การวางแผนเกษียณ เราไม่สามารถพึ่งพาเงินจากแหล่งดังกล่าวได้เพียงช่องทางเดียว เพราะอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ทำให้มูลค่าของเงินลดลงในอนาคตอย่างไม่รู้ตัว และซื้อสินค้าได้น้อยลง แถมยังมีโอกาสใช้เงินมากกว่าสวัสดิการดังกล่าวอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้การวางแผนเกษียณจึงควรวางแผนการเงินควบคู่กันไป เพื่อเก็บเงินถึงเป้าหมายให้เร็วที่สุด และมองหาช่องทางลงทุนอื่นๆ สำหรับต่อยอดรายได้เพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีแรงหารายได้ และยังช่วยให้เรามีเงินใช้จ่ายเพิ่มเติมในยามฉุกเฉินด้วย
สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนเตรียมวางแผนเกษียณคือ
-ชีวิตในวัยเกษียณของเราจะเป็นแบบไหน? อยู่กับใคร? อยู่ที่ไหนอย่างไร?
-คาดว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่?
-ประมาณว่าจะมีอายุไปจนถึงเมื่อไหร่?
อีกสิ่งที่สำคัญคือเราต้องสำรวจแหล่งเงินได้ว่ามีอะไรบ้าง และแบ่งกลุ่มแหล่งรายได้ว่าเป็นแบบเงินก้อนหรือรายได้ประจำให้ชัดเจนเพื่อให้วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องประเมินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจากเป้าหมายการใช้ชีวิตที่วางแผนไว้
1. ตั้งเป้าหมายเงินเก็บสำหรับวัยเกษียณ
ก่อนวางแผนเกษียณที่อายุ 60 ปีได้นั้น จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายเงินเก็บให้เพียงพอเป็นอันดับแรก หากไม่ทราบว่าควรเก็บเงินเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะสม? สามารถคำนวณเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณด้วยตนเองแบบง่ายๆ จากสูตรคำนวณ คือ ค่าใช้จ่ายในแต่ละปีหลังเกษียณ * 17 ปี
ยกตัวอย่างเช่น คุณคาดว่าหลังเกษียณจะใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท หมายความว่าในหนึ่งปี จะใช้เงิน 240,000 บาท ดังนั้นควรมีเงินเก็บหลังเกษียณ คือ 240,000 * 17 ปี หรือเท่ากับ 4,080,000 บาท โดยประมาณ
2. วางแผนเก็บเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
มนุษย์เงินเดือนสามารถเริ่มต้นเก็บเงินด้วยตนเองแบบง่ายๆ เช่น ใช้ตารางออมเงิน ที่เหมาะสำหรับผู้ชอบการหยอดเงินใส่กระปุกทุกวัน หรือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่สำคัญออกไป นอกจากนี้เมื่อเริ่มทำงาน คุณอาจซื้อประกันสะสมทรัพย์ เพื่อมีเงินเก็บในระยะยาวด้วยอีกทาง
ที่สำคัญการวางแผนเก็บเงินอย่างมีประสิทธิภาพควรมีวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรเก็บเงินทีเดียวทีละมากๆ เพราะอาจทำให้หลงลืมว่าต้องเก็บเงินในเดือนถัดๆ ไป ซึ่งการออมเงินทีละน้อย เก็บหอมรอมริบ ย่อมสร้างวินัยเก็บเงินในระยะยาวได้ดีกว่า
3. อย่าลืมคิดอัตราเงินเฟ้อเข้าไปในแผนเกษียณด้วย
ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น เงินเฟ้อก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้การคิดเงินเฟ้อเข้าไปรวมในแผนเกษียณก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ไม่อย่างนั้นแล้วเงิน 100 บาทในวันนี้ อาจซื้อข้าวได้เพียง 1 จานในอนาคต ซึ่งการคิดอัตราเงินเฟ้อสามารถคำนวณได้จากสูตร Future Value นั่นคือ FV = PV(1+i) ^n
จากตัวอย่างเดิมในข้อ 1 หากกำหนดให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ดังนั้นเงินเก็บที่เพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณเมื่อคิดอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย คือ
4,080,000 *(1+2%)^17 = 5,712,985 บาท
4. พยายามอย่าก่อหนี้ก้อนโต
ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แม้ว่าจะอยู่ในวัยหลังเกษียณแล้ว ทำให้คนหลังเกษียณจำนวนมากต้องออกมาทำงานเพื่อผ่อนชำระหนี้ ซึ่งมนุษย์เงินเดือนสามารถบริหารแผนการเงินแบบง่ายๆ ด้วยการชำระหนี้ให้หมดก่อนวัยเกษียณ หรือหาทางลดดอกเบี้ยให้ได้มากที่สุด เช่น การรีไฟแนนซ์บ้าน หรือโปะหนี้ทีละมากๆ เพื่อลดดอกเบี้ยในเดือนต่อไป
5. กองทุนรวมก็เป็นอีกคำตอบที่ช่วยได้
ปัจจุบันมีช่องทางลงทุนที่ทุกคนเริ่มต้นได้ง่ายๆ อย่างกองทุนรวม ที่สามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ซึ่งมีตั้งแต่กองทุนรวมในประเทศ หรือต่างประเทศ แต่หากต้องการลงทุนในระยะยาว และมีโอกาสได้กำไรสม่ำเสมอ เราแนะนำให้ซื้อกองทุนดัชนี เพราะดัชนีของตลาดปรับตัวขึ้นแทบทุกปี ตามเศรษฐกิจที่โตขึ้น
แต่ก่อนลงทุนในกองทุนรวมทุกครั้งควรอ่านหนังสือชี้ชวน เนื่องจากคุณต้องทราบด้วยว่ากองทุนที่กำลังจะเลือกซื้อนั้นนำเงินไปลงทุนอะไรบ้าง และเพื่อให้เราประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อตนเองได้อีกด้วย
6. ลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝากเงิน
หากกองทุนรวมเป็นรูปแบบการลงทุนที่ไม่ตอบโจทย์ต่อไลฟ์สไตล์ เพราะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นอยู่ แถมการลงทุนในกองทุนรวมไม่ว่าจะกองทุนอย่าง RMF, LMF ยังต้องใช้ความรู้ และใช้เวลาในการศึกษา ในขณะที่การฝากเงิน ซึ่งให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ แม้ผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ความเสี่ยงต่ำ อาจตอบโจทย์สำหรับผู้ไม่มีเวลานั่งอ่านหนังสือชี้ชวน
ข้อมูลอ้างอิง
https://makebykbank.kbtg.tech/articles/retirement-planning
https://www.terrabkk.com/articles/199990
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
สามารถซื้อสินค้าได้ที่นี่
https://s.shopee.co.th/2LFdEZeGMF
https://s.shopee.co.th/7UxjNljjKJ
https://s.shopee.co.th/4AhHPsTsfY
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFpK
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFK8
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFKO
blockdit.com
[Easy Finance] เทคนิคการจัดทำงบประมาณ และการจัดการหนี้สิน เทคนิคการจัดทำงบประมาณ และการจัดการหนี้สิน เป็นเทคนิคหรือการจัด ผู้อ่านแยกให้ออกก่อนว่าทั้งสองอย่างนี้มีความหมายยังไง แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเอาทั้งอย่างมารวมก
เทคนิคการจัดทำงบประมาณ และการจัดการหนี้สิน เป็นเทคนิคหรือการจัด ผู้อ่านแยกให้ออกก่อนว่าทั้งสองอย่างนี้มีความหมายยังไง แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเอาทั้งอย่างมารวมกัน?
เรียนรู้เพิ่มเติม
ในเมื่อเราอายุมากขึ้น เราต้องดูแลตัวเองได้
Easy Finance
การเงิน
ข่าวรอบโลก
ธุรกิจ
1 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พื้นฐานเรื่องการเงิน
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย