24 ก.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

ใช้จ่ายยังไงให้มีเงินออม 💵✅

การใช้เงินกับการออมเงินสองสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ต้องอยู่คู่กัน ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้อ่านเอาทั้งสองอย่างนี้แยกออกจากกัน ผุ้อ่านอาจจะใช้เงินเกินกว่าที่จะใช้ได้ หรือก็คือค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ทำให้ผู่อ่านมีเงินไม่พอใช้นั้นเอง การที่ทาง Easy Finance ของพวกเราได้เอาทั้งสองอย่างมารวมกันเพราะเหตุผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น
หากใครที่ตั้งเป้าออมเงิน แล้วไม่สามารถทำได้สม่ำเสมอทุกเดือน เพราะมีบางเดือนทนไม่ไหวนำเงินไปซื้อของที่อยากได้เสียก่อน ลองเปลี่ยนมาใช้วิธี เก็บเงินให้อยู่เชิงบังคับก็ดีเหมือนกัน สำหรับคนที่เก็บเงินเองไม่ค่อยจะอยู่ ควรศึกษารูปแบบการออมที่ว่าเอาไว้ แต่อย่างไรก็ดี เงินเก็บส่วนนี้ต้องแยกออกมา และจะต้องเป็นจำนวนเงินที่เรามั่นใจระดับหนึ่งว่า ไม่ต้องนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือหากมีเหตุฉุกเฉินก็ต้องมีเงินก้อนสำรองอีกส่วนกันเอาไว้ เพื่อจะได้ไม่มากระทบเงินออมก้อนนี้
1. บัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษี
บัญชีประเภทนี้จะเป็นบัญชีที่มักจะมีอัตราดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าแบบบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป และดอกเบี้ยที่ได้ก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะบังคับให้เราต้องฝากเงินในจำนวนเท่ากันทุกเดือน เพื่อให้คงสิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยสูง ส่วนมากจะมีระยะเวลาการฝากที่ 24, 36 หรือ 48 เดือน ก็อาจเป็นวิธีเก็บเงินให้อยู่ได้เบื้องต้น เพราะหากงดการฝากเกินจำนวนครั้งที่กำหนด ก็จะเสียโอกาสรับดอกเบี้ยสูงไป
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วิธีเก็บเงินสำหรับคนที่ทำงานในบริษัทที่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สามารถกำหนดให้บริษัทหักเงินออมจากเงินเดือนไว้ก่อนเพื่อนำเงินไปลงทุนในกองทุนที่เลือกไว้ ซึ่งนอกจากส่วนที่พนักงานส่งเงินเพื่อสะสมแล้ว ก็ยังมีส่วนของบริษัทฯ สมทบอีกเท่าตัวด้วยเหมือนกัน หากอยู่ครบอายุงานที่บริษัทกำหนด ก็จะได้รับเงินส่วนของบริษัทฯ สะสมให้ด้วย สูงสุดถึง 100%
3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
เป็นประกันประเภทที่มุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเมื่ออยู่ครบสัญญา ผู้ทำประกันแบบสะสมทรัพย์จะได้เงินคืนพร้อมผลตอบแทน มีทั้งที่เป็นแบบรับประกันจำนวนผลตอบแทนหรืออยู่ในรูปแบบเงินปันผล เป็นอีกหนึ่งวิธีเก็บเงินซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทประกัน แบบประกันที่มีอายุสัญญาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้อีกด้วย
4. เก็บก่อนใช้แบ่งเก็บ 10-20% ของรายได้
“เก็บก่อนใช้” เป็นวิธีเก็บเงินง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณออมเงินได้โดยไม่ต้องรัดเข็มขัดจนเกินไป เพียงแค่แบ่งเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้ก่อนใช้ ไม่ต้องรอให้เงินเหลือ ตัวอย่างเช่น หากมีรายได้ 20,000 บาท 10% จะเท่ากับ 2,000 บาท และ 20% จะเท่ากับ 4,000 บาท
5. ใช้แอปพลิเคชันช่วยออมเงิน
ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยให้ออมเงินได้ง่ายขึ้น แอปเหล่านี้มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย เช่น บันทึกรายรับรายจ่าย จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย ตั้งเป้าหมายการออม รวมถึงการโอนเงินออมอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีเก็บเงิน ที่สะดวกและใช้งานง่าย
6. หาเพื่อนร่วมออมเงิน
การหาเพื่อนร่วมออมเงินเป็นวิธีเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะการมีเพื่อนจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแบ่งปันกลยุทธ์กัน โดยสามารถเริ่มได้ด้วยการเข้ารวมกลุ่มออมเงินออนไลน์ กลุ่มออมเงินในชุมชน หรือชวนเพื่อนในที่ทำงานมาตั้งกลุ่มออมเงินกัน
7. ตั้งเป้าหมายการออมแบบ SMART
การตั้งเป้าหมายการออมแบบ SMART เป็นวิธีเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้มีแรงจูงใจ มีแผน และติดตามความคืบหน้าได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าหมายเก็บเงิน 20,000 บาท ภายใน 1 ปี เพื่อโทรศัพท์ใหม่
  • ​Specific: ระบุจำนวนเงิน (50,000 บาท) ระยะเวลา (1 ปี) และสิ่งที่ต้องการออม (โทรศัพท์ใหม่)
  • ​Measurable: สามารถวัดผลได้โดยติดตามยอดเงินในบัญชีออมทรัพย์
  • ​Achievable: ตั้งอยู่ในระดับที่ท้าทาย แต่ achievable
  • ​Relevant: เกี่ยวข้องกับความต้องการในการซื้อโทรศัพท์ใหม่
  • ​Time-bound: มีกรอบเวลาที่ชัดเจน (1 ปี)
8. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
การจดบันทึกรายรับและรายจ่ายทุกวัน และแยกประเภทของค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทาง จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น ส่งผลให้ควบคุมค่าการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีเก็บเงินที่ช่วยวางแผนการใช้จ่าย ที่ช่วยให้เก็บเงินได้สำเร็จ
9. ลดการทานข้าวนอกบ้านมาทำกับข้าวเอง
การทำกับข้าวทานเอง เป็นวิธีเก็บเงินที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารแล้วยังช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย เพราะสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาทำอาหารแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ได้ โดยการวางแผนเมนูล่วงหน้าเป็นรายสับดาห์ และปรุงอาหารไว้ล่วงหน้า แบ่งเก็บไว้ทานเป็นมื้อเที่ยงที่ทำงาน
10. เล่นเกม เก็บเงินตามวันที่
วิธีเก็บเงินตามวันที่เป็นวิธีเก็บเงินแบบท้าทาย สนุกสนาน และได้ผลจริง โดยเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายจำนวนเงินที่ต้องการเก็บ กำหนดระยะเวลาในการเก็บเงิน (โดยทั่วไปคือ 365 วัน) วางแผนตารางเก็บเงิน
โดยเริ่มจากวันที่ 1 เก็บ 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท ... เรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 365 วันคุณจะเก็บเงินได้ทั้งหมด 66,795 บาท
11. ซื้อของในช่วงโปรโมชัน
การซื้อของในช่วงโปรโมชันถือเป็นวิธีการใช้เงินที่ชาญฉลาด เพราะสินค้าในช่วงโปรโมชั่นมักมีราคาลดลงจากราคาปกติแถมยังมีแบบ ซื้อ 1 แถม 1 ที่ช่วยให้ได้สินค้าเพิ่มโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
12. ตั้งคำถามก่อนซื้อ
การตั้งคำถามก่อนซื้อจะช่วยป้องกันการซื้อของที่ไม่จำเป็น โดยเริ่มจากการถามตัวเองตามลำดับต่อไปนี้
  • 1.
    ​จำเป็นต้องซื้อสินค้าชิ้นนี้จริง ๆ หรือไม่
  • 2.
    ​ใช้บ่อยแค่ไหน
  • 3.
    ​มีตัวเลือกอื่นอีกไหม
  • 4.
    ​ของเก่าที่มีอยู่ยังใช้ได้หรือไม่
  • 5.
    ​หากจำเป็นต้องซื้อ เงินพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในเดือนนี้หรือไม่
13. ศึกษาการลงทุนต่าง ๆ
หากมีเงินเย็น สามารถนำไปลงทุนต่อได้หลากหลายช่องทาง
การลงทุนก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ควรมี โดยวิธีนั้นไม่ยากอย่างที่คิด สำหรับการเริ่มเก็บเงินง่าย ๆ และเริ่มลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก อาจจะลองเริ่มจากการลงทุน
SSF (Super Savings Fund) หรือ “กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว” ที่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท แถมยังไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่กำหนดว่าต้องซื้อต่อเนื่อง แต่มีข้อแม้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี ทั้งหมดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567 ซื้อแล้วถือได้ยาว ๆ 10 ปีไปเลย แถมยังสามารถนำไปหักภาษีได้!
RMF (Retirement Mutual Fund) หรือเรียกว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ซึ่งเป็นกองทุนที่สนับสนุนให้คนไทยเก็บออมระยะยาว สำหรับเป็นเงินที่เอาไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ กองทุนประเภทนี้นั้นจะต้องซื้อเป็นประจำทุกปี ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้แต่ละปีหรือ 5,000 บาท และสามารถขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีขึ้นไป
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
ไม่ว่าผู้อ่านจะใช้เงินเท่าไร ต้องมีเงินออมเสมอ!
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา