26 ก.ย. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

อย่าทำตัวเหมือนเศรษฐีต้นเดือน

เศรษฐีต้นเดือน ถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายๆ เลยก็คือการที่ผู้อ่านมีเงินเยอะต้นเดือน และทำให้ผู้อ่านใช้จ่ายใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนทำให้ผู้อ่านไม่มีเงินเก็บหรือมีเงินใช้ถึงปลายเดือนนั้นเอง
เมื่อรายได้ที่มีค่อนข้างจำกัด รายจ่ายก็ย่อมถูกจำกัดตามไปด้วย แต่การคุมค่าใช้จ่ายอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน การทำ “แผนใช้เงิน” ก็อาจเป็นอีกทางที่จะช่วยเราให้อยู่รอดในช่วงเวลาที่มีรายได้จำกัดแบบนี้
 
แผนใช้เงิน เป็นงบประมาณส่วนตัวที่ใช้ดูแลการใช้จ่ายในแต่ละช่วงเวลา โดยมากจะทำตามช่วงเวลาของรายรับ เช่น รับเงินรายเดือน ก็ทำแผนใช้เงินเป็นรายเดือน ถ้ารับรายสัปดาห์ ก็ทำรายสัปดาห์ การทำแผนอาจดูยุ่งยาก แต่ในสถานการณ์แย่ ๆ แผนใช้เงินจะเป็นเหมือนผู้ช่วยให้เราจัดการเงินของเราได้ดีขึ้น
แต่หากใครไม่มีเวลา ไม่อยากยุ่งยาก ก็ไม่ต้องทำแผนใหม่ทุกเดือน ทำแค่ตอนที่ชีวิตการเงินมีการเปลี่ยนแปลง เช่น รายได้เพิ่มหรือลด มีรายจ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนเพิ่มขึ้น หรือมีหนี้ที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. จดรายการรายรับต่อเดือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด
การที่เราจะจัดการเงิน เราก็ต้องรู้ก่อนว่า เรามีรายรับเท่าไหร่ โดยการเขียนออกมาให้ได้มากที่สุดว่า เงินที่เข้ามามีอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้รู้จำนวนเงินเข้าในแต่ละเดือน
เมื่อมีข้อมูลรายรับครบแล้ว ก็ให้นำจำนวนเงินของรายรับแต่ละรายการมาบวกกัน แล้วเราจะได้ยอด “รวมรายรับ” ของเดือนนั้น ๆ
2. จดรายจ่ายต่อเดือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด
พอจดรายรับแล้ว ก็ถึงเวลาจดรายจ่ายทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละเดือนว่า มีรายการอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ จดทุกรายการที่ทำให้เงินออกจากกระเป๋า รวมถึงเงินออมก็ถือว่าเป็นรายจ่าย เพราะเป็นเงินที่ออกไปจากกระเป๋าเรา (ถึงแม้ว่าจะย้ายไปอยู่อีกกระเป๋าก็ตาม)
เมื่อเราจดรายจ่ายครบทุกรายการแล้ว ก็ให้นำจำนวนเงินของรายจ่ายทั้งหมดมาบวกกัน แล้วเราก็จะได้ยอด “รวมรายจ่าย” ของเดือนนั้น
3. ทำแผนใช้เงินให้อยู่รอดไปจนถึงสิ้นเดือน
รายการรายรับรายจ่ายที่ได้ จะยังไม่ใช่แผนใช้เงินที่เสร็จสมบูรณ์ เราจะต้องนำยอดรวมของรายรับและรายจ่ายมาเปรียบเทียบกันก่อน ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบจะบอกเราว่า เราควรปรับรายรับและรายจ่ายอย่างไร เพื่อให้รายการรายรับรายจ่ายนี้กลายเป็น “แผนใช้เงิน” ที่นำไปใช้ได้
ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายมีดังนี้
1) รายรับ = รายจ่าย
แผนใช้เงินนี้จะทำให้เราจะอยู่รอดจนถึงสิ้นเดือน แต่หากมีรายจ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล เงินที่มีอาจทำให้เราอยู่ได้ไม่ถึงสิ้นเดือน แต่หากเรามีเงินสำรองไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันแล้ว ก็ถือว่ารายการรายรับรายจ่ายนี้เป็น “แผนใช้เงิน” ที่สามารถนำไปเป็นแผนการใช้จ่ายของเราได้เลย
การปรับรายรับรายจ่าย: สำหรับคนที่ยังไม่มีเงินสำรองเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน อาจลดรายจ่ายอื่นลง (สามารถดูวิธีการหารายจ่ายที่จะสามารถลดได้ที่นี่) แล้วเพิ่มรายการ “เงินออมเผื่อฉุกเฉิน” ในช่องรายจ่ายเพื่อกันไว้ใช้จ่ายในอนาคต
2) รายรับ > รายจ่าย
เราจะอยู่รอดจนถึงสิ้นเดือนได้อย่างสบาย ๆ เพราะรายรับที่มีครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมดแล้ว แต่ต้องแน่ใจว่า เราจดรายจ่ายครบหมดทุกรายการแล้ว หากยังไม่แน่ใจ แนะนำให้ทำบันทึกรายจ่าย
การปรับรายรับรายจ่าย: สำหรับรายรับที่เกินรายจ่าย อาจใช้เงินนั้นไปซื้อของที่อยากได้ แต่หากใครที่ยังไม่มีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือในช่วงที่ขาดรายได้ ให้เพิ่มรายการ “เงินออมเผื่อฉุกเฉิน” ในช่องรายจ่าย เพื่อแบ่งเงินไว้เป็นเงินเก็บสำรองสำหรับใช้จ่ายในอนาคต
3) รายรับ < รายจ่าย
เราจะอยู่ไม่รอดจนถึงสิ้นเดือนและอาจต้องกู้เงินเพื่อใช้จ่าย และหากปล่อยทิ้งไว้นานไป อาจกลายเป็นปัญหาทางการเงินได้ เพราะการใช้จ่ายเกินรายรับมักนำไปสู่ปัญหาหนี้สิน
การปรับรายรับรายจ่าย: เราจะต้องจัดการเงินอย่างจริงจัง เริ่มจากลดหรือตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น โดยดูวิธีลดรายจ่ายได้ที่ เงินหายไปไหน หากตัดรายจ่ายทุกอย่างที่ไม่จำเป็นออกหมดแล้ว แต่รายรับก็ยังน้อยกว่ารายจ่าย ก็ต้องหารายได้เพิ่ม
การหารายได้เพิ่ม อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะหารายได้เพิ่มยังไง อาจจะลองขายของที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ยังอยู่ในสภาพดี หรือของสะสม และหากยังไม่พอ ก็อาจต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ พอเริ่มมีรายได้ ค่อยเก็บเงินซื้อใหม่
1. จดรายรับและรายจ่ายทั้งหมด (เชื่อได้ ว่ามันจะเวิร์ค ถึงแม้จะใช้เวลา)
ก่อนจะไปเริ่มบันทึกรายรับหรือรายจ่ายในแต่ละเดือน ต้องเลือกเครื่องมือในการจดบันทึกที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อจะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีความถนัด หรือความสะดวกที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็จดลงสมุด บ้างก็ทำผ่านโปรแกรม Excel บ้างก็ทำผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ ที่สามารถทำรายรับรายจ่ายได้ เป็นต้น
เมื่อแต่ละคนเลือกวิธีที่ตัวเองถนัดได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยก็คือคำนวณรายรับ เพื่อที่จะรู้ว่าในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ เรามีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ และจากอะไรบ้าง เช่น เงินเดือน เงินค่าจ้าง เงินปันผล เงินช่วยเหลือต่างๆ โบนัส หรือแม้แต่การถูกลอตเตอรี่ก็นับเป็นรายรับ เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมว่าเรามีเงินเข้าจำนวนมากแค่ไหน
หลังจากที่เราเห็นแล้วว่า เรามีรายรับทั้งหมดเท่าไหร่ ก็มาดูกันต่อว่า เราจ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสัพเพเหระต่างๆ แล้วก็อย่าลืมว่ารายจ่ายที่เราควรหักออกไว้อย่างสม่ำเสมอในทุกเดือนก็ คือ เงินออม ซึ่งถือเป็นการจ่ายเพื่อตัวเองในการสร้างรากฐานสู่ความมั่นคงทางการเงินในอนาคต
วางแผนการใช้เงินตลอดทั้งเดือน
เมื่อเห็นแล้วว่าในเดือนหนึ่ง เขาจ่ายอะไรไปบ้าง สิ่งต่อไปก็คือการมานั่งวางแผนว่า จะทำอย่างไรให้สถานะการเงินของเขาปลอดภัยมากกว่าเดิม โดยอาจเริ่มจากการตรวจสอบรายการใช้จ่ายเดือนที่ผ่านมา และบอกตัวเองว่าเดือนต่อไปจะเลือกใช้จ่ายเฉพาะรายการที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตจริงๆ เท่านั้น และตัดรายการไม่จำเป็น อย่างพวกของตามกระแสแบบที่ใคร ๆ พูดกันว่า “ของมันต้องมี” ออกไปก่อน
อ้างอิงจากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเมื่อเทียบกับรายรับที่มีคือค่ากระเป๋าแฟชั่นเกาหลี ราคา 4,000 บาท และค่ากล่องสุ่ม Art Toy ราคา 3,000 บาท อย่างไรก็ตามในตัวอย่างข้างต้น แต่ละคนอาจจะมีความจำเป็นที่ไม่เท่ากัน หาก ณ ตอนนั้นมีความจำเป็นต้องใช้กระเป๋าก็เลยซื้อกระเป๋าใบใหม่ ก็ต้องซื้อ แต่หากมีกระเป๋าอยู่แล้ว ซื้อเพราะกระแสกำลังมา ใบเก่าที่มีอยู่ก็ยังสามารถใช้งานได้ดี ก็อาจสร้างความไม่จำเป็นให้กับตัวเองได้
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตาอาหารเสริม
การทำตัวเป็นเศรษฐีต้นเดือน
ไม่ทำให้เหมือนคนรวยแต่เหมือนคนจนมากว่า
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา