Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2024 เวลา 05:45 • สุขภาพ
7 อาการนอนผิดปกติ และวิธีรักษาตามสาเหตุ! เสี่ยงสำลักขณะหลับ
ปัญหาการนอน เป็นสิ่งที่หลายคนเจอแต่ไม่รู้ตัว เผยอาการผิดปกติและวิธีรักษาจากต้นเหตุลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลังจากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่ามีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ ซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อค้นหาโรคซ่อนเร้น ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
ปัญหาการนอน
อาการนอนหลับผิดปกติ (sleep symptoms)
●
นอนกรน (Snoring) ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ obstructive sleep apnea ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่น ๆ
●
หยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) เป็นอาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยาก ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนไข้นอนคนเดียว ไม่มีคนนอนข้าง ๆ
●
ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination อาการนี้ก็สามารถพบได้เช่นกันในคนไข้ obstructive sleep apnea โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้ดังกล่าวหยุดหายใจ ซึ่งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea ก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ
●
ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache) คนไข้ที่มีอาการ hypoventilation ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้า ๆ
●
ขาขยุกขยิก (Restless Legs) พบได้ในคนไข้ Restless leg syndrome โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำ ๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง ในช่วงขณะตั้งครรภ์คนไข้โรคไตวายและโรคอื่น ๆ
●
ขาขยับไปมาขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement During Sleep) เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบร่วมได้ในคนไข้ Restless leg syndrome, Narcolepsy, Obstructive sleep apnea และโรคอื่น ๆ
●
ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness) เป็นอาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะหรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleep fragmentation) ซึ่งสามารถเกิดได้ในโรคต่าง ๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่น ๆ Cognitive Dysfunctions
รักษาการนอนหลับผิดปกติ
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของโรคการนอนหลับผิดปกติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ วินิจฉัยสาเหตุของโรคและรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตามความผิดปกติบางอย่างนอกจากต้องรักษาที่สาเหตุแล้วยังอาจต้องรักษาที่ตัวอาการด้วย ได้แก่ อาการนอนไม่หลับเรื้อรังโดยแบ่งเป็น
1
●
การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic therapy)
●
การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacologic therapy)
●
หรืออาจสามารถแบ่งเป็น
●
การรักษาที่สาเหตุ (specific treatment)
●
การรักษาอี่น ๆ ร่วมด้วย (supportive treatment)
ขณะที่ได้รับการรักษา สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กัน คือ ความสม่ำเสมอของการรักษาและการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่สำคัญคือ คนไข้ส่วนหนึ่งไม่ค่อยรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเหตุใดก็ตาม เช่น คนไข้บางคนรู้สึกอึกอัดในขณะสวมหน้ากากของเครื่อง CPAP จึงไม่ใช้เครื่อง CPAP อีกต่อไป โดยไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น เปลี่ยนชนิดของหน้ากากให้เหมาะสม หรือในบางคนการสวมหน้ากากก่อนนอนระยะหนึ่ง โดยยังไม่เปิดเครื่อง CPAP สามารถช่วยให้คนไข้รู้สึกคุ้นเคยกับสภาวะดังกล่าวในขณะที่นอนหลับโดยเครื่อง CPAP กำลังทำงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
Facebook Video :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/videos
Facebook PPTV Sports :
https://www.facebook.com/PPTVSports
Facebook PPTV บันเทิง :
https://www.facebook.com/PPTVHD36Entertainment
Facebook PPTV Health :
https://www.facebook.com/PPTVHealth
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
Twitter :
https://twitter.com/PPTVHD36
Instagram :
https://www.instagram.com/pptvhd36/
LINE VOOM :
https://pptv36.tv/174l
TikTok :
https://www.tiktok.com/@pptv.thailand
สุขภาพ
นอนหลับ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย