6 ก.ค. เวลา 00:39 • นิยาย เรื่องสั้น

รามเกียรติ์ที่เปลี่ยนไป

ใครที่เคยอ่านหรือดูละคร ซีรีส์เรื่องราวของพระรามตามหาพระนางสีดา คงยังจำฝังใจกับตัวละครที่ชื่อ ‘ทศกัณฐ์’ ยักษ์ที่ไปลักพาตัวพระนางสีดามาได้แน่นอน เพราะเป็นตัวละครที่โดดเด่นมาก ๆ ถือว่ามีบทเยอะสุด ๆ ก็ว่าได้ จุดเริ่มต้นของเรื่องราวเกิดจากทศกัณฐ์ในครั้งที่เป็นยักษ์นนทก
ผู้เขียนเชื่อว่ายังมีนักอ่านอีกหลายท่านที่อ่านเรื่องราวเหล่านั้นแล้วมีความรู้สึกเหมือนตัวละครในนิยายเรื่อง “รามเกียรติ์ที่เปลี่ยนไป” นั่นคือ ‘’ทศพล ชาติพิภักดิ์' อาจารย์หนุ่ม ดีกรีปริญญาเอก ประจำคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาวิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยชื่อดังด้านศิลปะแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ทศพลเป็นแฟนคลับตัวยงของนิยายเรื่องรามเกียรติ์เขาชื่นชอบตัวละครฝั่งยักษ์มากกว่าฝั่งเทวดา เขาคิดตลอดมาว่าทศกัณฐ์ไม่ได้รับความเป็นธรรม และหากมีโอกาสเขาก็อยากช่วยกอบกู้ความเป็นธรรมให้กับทศกัณฐ์
ในขณะที่เขากำลังซ่อมแซมภาพจิตรกรรมตอนทศกัณฐ์ล้ม อยู่ที่วัดพระแก้ว เขาก็เห็นทศกัณฐ์ที่นอนตายมีน้ำตาไหลออกมา เขายังได้ยินเสียงร้องไห้ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปอีกด้วย
และแล้วเขาก็เป็นลมล้มลงไปโดยไม่รู้ตัว
วันต่อมาเมื่อเขานอนพักผ่อนอยู่ในคอนโดเขาก็ได้ยินเสียงร้องไห้อีกครั้ง เป็นเสียงร้องไห้ของผู้ชายทศพลถามออกไปว่า “นั่นใคร มีอะไรให้ออกมาคุยกัน” และเขาต้องตกใจแทบเป็นลมอีกครั้ง เพราะผู้ที่ออกมานั้นคือยักษ์ทศกัณฐ์จากเรื่องรามเกียรติ์
ทศกัณฐ์ขอร้องทศพลว่าให้ไปช่วยแก้ไขเรื่องราวที่เขาทำผิดพลาดไว้ช่วยกอบกู้เมืองยักษ์ของเขาอย่าให้ต้องถูกทำลาย
ทศพลตอบรับทันที
สนุกมากค่ะทุกคน สนุก เท่ ฉลาด แบบท่านขุนพลไปทำศึกด้วยตัวเอง
ด้วยความที่ทศพลเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทลัย มีดีกรีปริญญาเอก ความรู้ความสามารถด้านวรรณกรรมของเขาจึงเป็นที่หนึ่งก็ว่าได้ เขามีใจรักในตัวละครที่เป็นฝ่ายยักษ์อยู่แล้วด้วย
ผู้เขียนชอบไอเดียการทะลุมิติของเรื่องนี้มากค่ะ คือตัวละครมีสติ มีการเจรจา ทำข้อตกลงกันก่อนไป และมีการวางแผนกันนิดหน่อย เช่นทศพลขอกับทศกัณฐ์ว่า “ขอนำหนังสือเรื่องรามเกียรติ์ไปด้วยนะ”
ตัวละครทศพลมีความเป็นทศกัณฐ์ไหม ไม่น่ามีนะคะ แต่มีความยุติธรรมให้ คือมีความสงสาร อยากช่วยทวงความยุติธรรมให้กับฝ่ายยักษ์ และสั่งสอนฝ่ายเทวดาว่าที่ทำมาทั้งหมดนั้นใช่แนวทางของผู้ที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายดีจริงหรือ
โห โดนกันทุกตัวละครค่ะ โดนทศพลปากแซ่บ ด่าไฟแล่บกันหมดทุกพระองค์ ยิ่งพระนางสีดา ตัวละครต้นเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกรุงลงกา โดนหนักกว่าใครเพื่อนเลย ไม่ได้โดนแค่พระนางสีดานะคะ พระแม่ลักษมีด้วย ทศพลเก็บเช็คบิลหมด ตั้งแต่พระอิศวรนั่นแหละค่ะ ใครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น พี่ทศพลเรียกมาปรับทัศนคติหมด
ส่วนฝ่ายยักษ์ ใครที่ไม่ได้ทำผิด แต่ต้องมารับเคราะห์กรรมในตอนที่ทศกัณฐ์บ้าคลั่งนั้น ทศพลก็หาทางยับยั้งสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น เช่นตอนนางลอย หรือนางสุพรรณมัจฉา ซึ่งทศพลก็ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ตัวละครได้ทัน
และการทำศึกกับพระราม ยังคงมีอยู่ เพื่อไม่ให้เส้นเรื่องเปลี่ยนไปมากนัก แต่จะทำยังไง จะแก้เกมกันยังไง อันนี้บอกเลยว่าสนุกมาก สะใจมากแม่ ทศพลใช้กลยุทธ์การทำศึกของซุนวูในเรื่องรามเกียรติ์ เอากับเขาสิ เท่สุด ๆ ไปเลยค่ะทุกคน
นักเขียนพาพวกเราเข้าไปทวงความยุติธรรมให้กับเรื่องราวที่ยังคงค้างคาในใจมานานหลายปีได้อย่างสุดยอดไปเลยค่ะ
อ้อ และยังมีภาษาบรรยายที่เป็นภาษากลอนด้วยนะคะ ซึ่งยังคงไว้คุณค่าทางภาษา และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวรรณกรรมไทยได้อย่างสวยงาม
“รามเกียรติ์ที่เปลี่ยนไป” เป็นนิยายอีกเรื่องที่ผู้เขียนอ่านรวดเดียวจบ แล้วตอนจบคืออยากสปอยล์มาก ๆค่ะ กับการตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตใหม่ให้กับตัวเองของอาจารย์ทศพล เมื่อเขาได้เรียนรู้หลายอย่างจากเรื่องราวทั้งหมดที่พบเจอมา
พอกลับออกมาจากกรุงลงกาแล้ว ทศพลเลือกเส้นทางชีวิตใหม่ให้ตัวเขาเอง แต่จะเป็นเส้นทางไหน เพื่อน ๆ ไปติดตามกันได้เลยนะคะ
สนุก มัน สะใจ เหมือนเราได้เข้าไปร่วมทำศึกกับเขาอย่างนั้นเลย
ในนิยายเรื่อง #รามเกียรติ์ที่เปลี่ยนไป
เขียนโดย #สวรรยสร
ประเภท #แฟนตาซี #ทะลุมิติ
#ย้อนเวลา #ย้อนอดีต
#นิบายออนไลน์
ลิงก์อ่านนิยาย 👇
e-book 👇
"รามเกียรติ์ที่เปลี่ยนไป"
เพิ่มเติม :
ที่มาของรามเกียรติ์มาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย ซึ่งแต่งขึ้นโดยฤๅษีวาลมีกิชาวอินเดียประมาณ 2,400 ปีเศษ. รามเกียรติ์ได้แพร่หลายไปทั่วภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ โดยชาวอินเดียนำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคและกลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหลายชาติ รวมทั้งไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ในประเทศไทย รามเกียรติ์มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้รับการพระราชนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยมีฉบับอื่นๆ ปรากฏในสมัยต่อมาเช่น รัชกาลที่ 1 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รามเกียรติ์ไทยมีต้นตอจากรามเกียรติ์เขมร ซึ่งเขียนว่ารามเกรฺติ์ (อ่าน เรียม-เกร์) และมีเค้าโครงมาจากเรื่องรามายณะฉบับทมิฬของอินเดียใต้ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟังของชาวบ้าน แต่ไม่ใช่รามายณะฉบับที่นับถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์
โดยสรุป รามเกียรติ์ไทยมีที่มาจากวรรณคดีอินเดียโดยผ่านการแพร่หลายและปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
References:
ขอบคุณค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา