6 ก.ค. เวลา 05:01 • ไลฟ์สไตล์

อย่างนี้ก็ไเด้หรอ ตอน ทำไมไม่เข้าใจกันบ้างนะ

“ ทำไมไม่ยอมกันบ้างนะ”
“ พูดกับนกแล้วเหนื่อย”
“ ไม่พูดด้วยแล้ว เหนื่อย“
อ้อเราชื่อนกนะคะเป็นลูกสาวของแม่
คำพูดข้างต้นนี้ แม่ของเราเป็นคนพูด เราได้ยินจนชินในระยะหลังๆมานี้ เพราะตอนเราเป็นเด็กเค้าก็ใช้ความเป็นแม่ที่มีอำนาจเหนือลูกครอบงำเรา ให้ทำทุกอย่างตามความคิดของเขา ถ้าเราทำอะไรที่ต่างจากความคิดของเขา เขาก็จะว่าเราหัวแข็ง ดื้อ ไม่เชื่อฟัง
นั่นก็เลยกลายเป็นปมตั้งแต่เด็กว่าทำไมคนที่เป็นแม่ถึงทำกับลูกอย่างนี้
คนที่เป็นพ่อน่ะเหรอ ก็ไม่เคยช่วยลูกสักครั้ง ปล่อยให้แม่ ๑อบรมสั่งสอน“ ลูกไป
คำว่าอบรมสั่งสอนของแม่สำหรับเรา เราคิดว่ามันใกล้เคียงกับคำว่า “ บูลลี่” มากกว่า
เพราะถ้าเราทำอะไรที่ไม่ตรงกับความคิดของเขา เราจะกลายเป็นคนผิดทันที แล้วแม่ก็ก็จะเริ่มวิธีการ “ อบรมสั่งสอน” ด้วยการตีและบ่นแบบที่ทำให้เรารู้สึกผิด ตอนที่เราเป็นเด็กนะจะโดนแบบนี้
แต่พอเราโตขึ้นเราก็ไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้อีก เราจะโต้กลับด้วยเหตุผล มันกลับกลายเป็นว่าเรา
”หัวหมอ พูดเก่งนะ น่าจะเป็นทนาย“ “ทำไมไม่ยอมเข้าใจอะไรง่ายๆ”
เป็นอย่างนั้นเสมอในความคิดแม่
มันต่างเจนเนอเรชั่นกันน่ะค่ะ เราคิดอย่างนึง แล้วแม่คิดอีกอย่างนึง มันไม่สามารถเข้ากันได้
ถ้าเราคิดว่าความคิดเราเป็นเหตุเป็นผล มีเหตุผลคนในสังคมปัจจุบันเค้าคิดกันอย่างนี้แล้ว แม่ก็จะบอกว่า ”พูดกับเราแล้วเหนื่อย“ เพราะเราไม่เข้าใจแม่
แต่แม่ไม่เคยหยุดคิดเลยว่าแม่ก็ไม่เคยเข้าใจเราเหมือนกัน
แม่มักจะมองฝ่ายเดียวคือฝ่ายตัวเองเท่านั้น ความคิดฝ่ายตัวเองเท่านั้นที่ถูก คนอื่นที่คิดไม่เหมือนกับที่ตัวเองคิดคือผิดทั้งหมด
ไม่ยากเลยเราจึงกลายเป็นคนผิดทุกที
แล้วน้องชายเหรอ น้องชายเป็นบุคลิกที่ยอมแม่ ยอมคนนอกบ้านที่เป็นคนเห็นแก่ตัวเ ถ้าคนนอกบ้านคนนั้นจะใช้เสียงดังในการทะเลาะทุ่มเถียง น้องชายก็จะเงียบยอมให้เค้าเอาเปรียบ เพราะไม่อยากให้อีกฝ่ายใช้เสียงดังเถียงกลับมาซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ ไม่ยอมแม้แต่จะแสดงความคิดของตัวเองออกมา ยอมๆเค้าไปดีกว่า แต่ความสัมพันธ์นี้สำหรับเราเราคิดว่ามันเป็นความสัมพันธ์ที่ Toxic มาก
แต่เราไม่ใช่ไงเราพูดออกไปเลยว่าทำไมถึงคิดอย่างนี้ทำไมถึงพูดอย่างนี้กลายเป็นว่าเราเป็นลูกสาวที่ “ เหนื่อยที่จะพูดด้วย”
กลายเป็นอย่างนั้นไป ถ้าอยู่กับคนอย่างแม่อย่างพ่อซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ การที่ลูกไม่ยอมรับความคิดเห็นของเขามาเป็นความคิดเห็นของตัวเองคือผิดทั้งหมด
กลายเป็นว่าเค้าก็ไม่อยากคุยกับลูก เข้าทางเราเลยค่ะเพราะเราก็ไม่อยากคุยกับพ่อแม่เหมือนกัน เพราะว่าคุยกันแต่ละทีมันมักจะลงเอยด้วยการทะเลาะเสมอ
ส่วนพ่อก็ไม่กล้าช่วยอะไรเลย พ่อเป็นคนยองคนแหยมากกว่าน้องเสียอีก
เพราะว่าเค้ายอมแม่ทุกอย่างเพื่อไม่ให้แม่บ่น เลยกลายเป็นคนที่ไม่มีความคิดเป็นของตัวเองทุกวันนี้แม่จะทำอะไรกับพ่อก็ได้เพราะว่าพ่อเค้าไม่ยอมยืนหยัดหรือสู้เพื่อตัวเองเลย
พ่อจะยอมแม่ที่ใช้เสียงดัง บ่นไม่หยุด โกรธแล้วตวาดเสมอ แต่แม่มีวิธีการพูดที่ให้ตัวเองดูดีมีเหตุผลเสมอไงทั้งทั้งที่เหตุผลนั้นมันบิดเบี้ยวมากในความคิดของเราแต่พ่อจะเห็นว่ามันถูก
ก็เลยกลายเป็นว่าทั้งพ่อทั้งแม่มีความคิดเดียวกันซึ่งแน่นอนต้องยึดตามตรรกะของแม่เท่านั้น
เราไม่อยากเป็นคนที่มีตรรกะบิดเบี้ยวอย่างนั้น เพราะมันจะทำให้เข้าใจสังคมในยุคปัจจุบันไม่ได้เลย เราก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเจอเขา ลดเวลาที่ใช้กับเขา ไม่ต้องคุยกับเขาให้มากที่สุด
ฟังดูอาจจะไม่ดี แต่เราก็ต้องปกป้องตัวเองเหมือนกัน เราต้องเรียนรู้ที่จะรักตัวเองเหมือนกันเพราะถ้าเราไม่รักตัวเอง ไม่ปกป้องตัวเอง จะหาใครที่บ้านมาปกป้องเราล่ะ
หลานสาวซึ่งโตแล้วก็มีความคิพอย่างเรา แต่เค้าเป็นเด็กอายุแค่ 10 ขวบก็เลยปกป้องเราไม่ได้ส่วนหลานชายที่อายุน้อยกว่าหลานสาวเยอะถูกล้างสมองไปเรียบร้อย ก็ไม่รู้ว่าเค้าจะโตขึ้นแล้วจะดีกว่านี้ไหม เพราะว่าอีกหน่อยเค้าก็ต้องไปอยู่ในสังคมของเพื่อนในวัยเดียวกัน ความคิดที่ถูกล้างสมองไปมันอาจจะเปลี่ยนกลับมาก็ได้
สรุปในบ้านไม่มีใครปกป้องเราได้ เราก็ต้องปกป้องตัวเอง มันไม่ถูกเหรอคะ
แม่มีความคิดบิดเบี้ยวมาตั้งแต่ต้นแล้วพยายามใช้เหตุผลทั้งที่ตั้งฐานอยู่บนความบิดเบี้ยวนั่นแหละ
คำพูดที่แม่ใช้ทำให้เราซึ่งเป็นลูกรู้สึกผิดเสมอเช่น
“ เข้าใจกันบ้างสิ”
“ หยวนหยวนกันบ้างสิ”
“ ทำไมเป็นคนอย่างนี้นะ”
คำพูดประมาณนี้ถ้าเป็นคนวัยเดียวกันพูดกับเรา เราคงจะหัวเราะ
แต่ถ้าคนเป็นแม่เป็นคนพูดล่ะ ไม่รู้เป็นอะไร “คนเป็นแม่” จะมีอิทธิพลทางจิตใจเหนือลูกเสมอถ้าคนเป็นแม่พูดมันจะทำให้ลูกรู้สึกผิดและถ้าลูกพูดอะไรกลับไปจะกลายเป็น “ เถียง” ทันที
ซึ่งเป็นการ“ เถียง” ของแม่ แต่เป็นการ “ พูดกลับเพื่อปกป้องตัวเองโดยใช้เหตุผลของลูก“
คำนึงที่แม่มักพูดติดปากเวลาพูดถึงพ่อคือ “ อยู่กันมาตั้งนานเดาใจฉันไม่ออกเลยเหรอ”
ใช่ค่ะ แม่คิดว่าคนอื่นต้องเดาเอาใจแม่ออกเสมอ ต้องรู้ว่าแม่อะไรคิดอะไรเสมอ แม่จึงไม่เคยเอ่ยปากขอบคุณเราเลยสักครั้งไม่ว่าเราจะทำอะไรดีให้มากแค่ไหนเค้าก็ไม่เคยเอ่ยปากขอบคุณเพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ “ลูกต้องทำให้อยู่แล้ว ลูกต้องเดาใจแม่ได้สิ ลูกต้องรู้ใจแม่สิ”
นั่นเป็นวิธีการคิดของแม่ค่ะ
ส่วนเรา เราอยากให้มีการเอ่ยปากขอบคุณนะ เพราะความรู้สึกเรามันก็สำคัญเหมือนกันคำขอบคุณมาแสดงให้เห็นถึงว่าอีกฝ่ายเห็นและรู้สึกดีกับการกระทำของเราเลยเอ่ยปากขอบคุณ มันก็แค่นั้นเอง
คำว่าขอบคุณเรามักได้รับจากหลานๆ มากกว่า เราเอ่ยขอบคุณหลานถ้าหลานทำสิ่งดีๆให้ เอ่ยขอโทษถ้าเราเผลอไปทำร้ายจิตใจเค้าโดยไม่รู้ตัว
คำว่าขอบคุณขอโทษสำหรับหลานจึงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเราพยายามปลูกฝังให้หลานๆ ไม่ต้องเขินอายที่จะพูดออกมา แต่แม่นี่ไม่เลย
พ่อเป็นคนที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกอย่าง อะไรที่จะทำให้แม่โมโห โกรธ พูดเสียงดัง หรือใครก็ตามที่โต้เถียงกับแม่กลับไปเค้าจะบอก
“ พอแล้วพอแล้ว หยุดเถอะ“
”พอได้แล้วไม่ต้องพูด”
มันกลายเป็นการหมักปัญหามากกว่าแก้ปัญหาที่คาใจ ถ้าเราไม่พูดออกมาปัญหานั้นก็จะกลายเป็นระเบิดที่รอวันปะทุเท่านั้น
พ่อจึงกลายเป็นคนเก็บกดส่วนแม่กลายเป็นคนที่ต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจความคิดของตัวเองจึงมีบรรยากาศไม่น่าเข้าใกล้
พอสองคนนี้มาอยู่ด้วยกันมันก็กลายเป็นค็อกเทล Toxic ขนานแท้และดั้งเดิม
เราก็ไม่อยากพูดอย่างนี้กับพ่อแม่หรอกนะแต่เค้าเป็นอย่างนี้จริงๆ
จะทำยังไงดี
ถ้าชอบบทความในลักษณะนี้ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา