8 ก.ค. เวลา 07:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รีวิว ETF ตอนที่ 8 SMH ลงทุนผ่าน VanEck Vectors Semiconductor ETF | by หนีดอย

💰 รีวิว ETF ก่อนหน้านี้ ผมได้พูดถึง SNSR ETF ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรม IoT ที่เติบโตขึ้นในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยจะลงทุนตามดัชนี Indxx Global Internet of Things Thematic Index หากใครสนใจสามารถตามอ่านกันได้ที่
💰รายละเอียด SMH
VanEck Vectors Semiconductor ETF อ้างอิงดัชนี MVIS® US Listed Semiconductor 25 Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่มีมูลค่าตลาดเกิน 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป (หุ้น Large-cap) จำนวน 25 บริษัทที่มียอดขายมาจากเซมิคอนดักเตอร์เกิน 50% ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เช่นบริษัท Nvidia บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing และบริษัท Intel
-วันจัดตั้งกองทุน : 09 May 2000
-ค่าธรรมเนียมการจัดการรวม : 0.35%
-มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด : $23,422 ล้าน
-จำนวนหุ้นที่ถือ : 25 บริษัท
*ข้อมูล ณ วันที่ 8 Jul 2024
💰ก่อนอื่นมาไล่ดูกันก่อนว่า Top 11 holdings ของ ETF กองนี้มีบริษัทอะไรกันบ้างครับ โดย 10 อันดับแรกของ ETF นี้จะกินสัดส่วนอยู่ที่ราวๆ 73% โดยจะมีสัดส่วนหลักๆ 3 อันดับแรกดังนี้คือ Nvidia 20.02%, TSMC 13.23%, Braodcom 8.10% (3 อันดับแรก รวมกันได้ 41% แทบจะเป็นสัดส่วนครึ่งพอร์ทของ ETF) เราจะเห็นว่า ETF นี้เป็นการกระจุกตัวอย่างชัดเจน ทำให้มีความผันผวนสูง เทียบกับ ETF อื่นๆ ที่เคยรีวิวกันมา
11 หุ้นตัวแรกของ SMH
💰เปรียบเทียบ ETF ในกลุ่ม Semiconductor ด้วยกัน ระหว่าง SMH, SOXX, PSI, FTXL และ XSD ตั้งแต่ต้นปี , 1 ปีย้อนหลัง และ 5 ปีย้อนหลัง ตามลำดับ
ผลตอบแทนเปรียบเทียบ ตั้งแต่ต้นปี
ผลตอบแทนเปรียบเทียบ 1 ปีย้อนหลัง
ผลตอบแทนเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง
💰เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าเหตุใด ETF SMH ถึงมีผลตอบแทนดีกว่า ETF semiconductor อื่นๆ เช่น SOXX, PSI, FTXL และ XSD เราสามารถเปรียบเทียบได้ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
1. การคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพสูง
* SMH: เน้นลงทุนในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำระดับโลก เช่น TSMC, NVIDIA, Intel ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงและมีศักยภาพในการเติบโตสูง
* SOXX: มีการกระจายการลงทุนในบริษัทต่างๆ อย่างกว้างขวางแต่ไม่เน้นเฉพาะบริษัทชั้นนำ
* PSI: มีแนวโน้มเน้นที่บริษัทขนาดเล็กและกลาง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า
* FTXL: เน้นลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตเร็ว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทชั้นนำ
* XSD: กระจายการลงทุนในหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ทุกขนาด ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้น
2. การจัดการพอร์ตโฟลิโอ:
* SMH: มีการปรับพอร์ตโฟลิโอให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด
* SOXX, PSI, FTXL, XSD: การบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโออาจไม่เน้นความเฉพาะเจาะจงเหมือน SMH
3. แนวโน้มอุตสาหกรรม:
* SMH: มีการลงทุนในบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม เช่น AI, รถยนต์ไฟฟ้า, IoT
* SOXX, PSI, FTXL, XSD: ลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย แต่ไม่เน้นเฉพาะเจาะจงในแนวโน้มสำคัญ
4. ค่าใช้จ่ายในการจัดการ:
* SMH: มีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ต่ำเมื่อเทียบกับ ETF อื่นๆ โดยค่าใช้จ่ายเทียบเท่ากับ SOXX และ XSD
* PSI, FTXL: ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่า ซึ่งอาจลดผลตอบแทนสุทธิให้กับนักลงทุน
5. การกระจายความเสี่ยง:
* SMH: มีการกระจายความเสี่ยงอย่างสมดุลในบริษัทที่มีศักยภาพสูง มีหุ้น 25 บริษัท
* SOXX: มีการกระจายความเสี่ยงในบริษัทจำนวนมาก แต่ไม่เน้นที่ศักยภาพสูง มีหุ้น 30 บริษัท
* PSI, FTXL, XSD: กระจายความเสี่ยงในบริษัทขนาดเล็กและกลาง ซึ่งมีความเสี่ยงสูง มีหุ้น 31, 31 และ 39 บริษัท ตามลำดับ
6. การเติบโตในตลาดเอเชีย:
* SMH: ลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตในตลาดเอเชีย สัดส่วนของ TSMC สูงที่สุดเทียบกับ ETF อื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการใช้เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์อย่างแพร่หลาย
* SOXX, PSI, FTXL, XSD: มีการลงทุนในตลาดเอเชียน้อยกว่า ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตในภูมิภาคนี้
สรุปแล้ว ETF SMH มีการคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพสูง การจัดการพอร์ตโฟลิโอที่เชี่ยวชาญ ค่าใช้จ่ายต่ำ การกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และการเติบโตในตลาดเอเชีย ซึ่งทำให้ SMH มีผลตอบแทนดีกว่า ETF semiconductor อื่นๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
💰 จากข้อมูลที่นำมาจาก Morningstar พบว่า บริษัทใน SMH จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่และเป็นหุ้นแนวเติบโตเป็นหลัก ซึ่งทำให้ไม่ได้รับผลกระทบอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงในช่วงที่ผ่านมา เทียบกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาไม่ดีนัก
💰 ผลตอบแทนย้อนหลังแบบรายปี และ ในระยะยาวๆ
💰 นอกจากนี้หากวัดผลตอบแทนตั้งแต่เปิดกองมา 24 ปี ตั้งแต่ ปี 2000 เฉลี่ย SMH ทำผลตอบแทนได้ 27.2% ต่อปี !!!!
💰เหตุผลที่ควรลงทุนใน ETF SMH
การที่ ETF SMH ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั้นสามารถเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น นี่คือปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของ SMH ที่ผ่านมา
1. การคัดเลือกหุ้นที่มีคุณภาพ : SMH มักลงทุนในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เช่น Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC), NVIDIA, และ อื่นๆ ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีผลประกอบการที่ดีและมีการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่อง
2. แนวโน้มของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์: การเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนผลตอบแทนของ ETF ซึ่งมีการใช้งานชิปเซมิคอนดักเตอร์ในหลายอุตสาหกรรม เช่น AI, รถยนต์ไฟฟ้า, และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)
3. การบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอ: ผู้จัดการกองทุนของ SMH มีความเชี่ยวชาญในการเลือกและปรับปรุงพอร์ตโฟลิโอให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด ซึ่งช่วยให้ผลตอบแทนสูงขึ้น
4. ค่าใช้จ่ายต่ำ: SMH มีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ ETF อื่นๆ ซึ่งช่วยเพิ่มผลตอบแทนสุทธิให้กับนักลงทุน
5. การกระจายความเสี่ยง: SMH มีการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหลายบริษัทภายในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทเดียว
6. การเจริญเติบโตของตลาดเอเชีย: หลายบริษัทในพอร์ตโฟลิโอของ SMH มีการเจริญเติบโตที่ดีในตลาดเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการใช้เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์อย่างแพร่หลาย
การรวมปัจจัยเหล่านี้ทำให้ SMH มีผลตอบแทนที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์
💰ข้อเสียและความเสี่ยงใน ETF นี้คือ
1. ยังคงผันผวนสูงเนื่องจากเป็นหุ้นทั้งหมดในกองทุน
2. ราคาปรับตัวขึ้นมาสูง จากความคาดหวังที่สูงของนักลงทุนในตลาด
3. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินบาทไทย เพราะเราต้องแลกจากเงินบาทไทยเป็นดอลลาร์
4. การกระจุกตัวของ NVIDA, TSMC และ Broadcom มากถึง 40% ของกองทุน หาก 3 หุ้นนี้ถูกเทขายลงมามาก ก็จะส่งผลกับพอร์ทผู้ลงทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ
5. ความเสี่ยงของ Geopolitics ที่ยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และระหว่างจีนกับไต้หวัน
💭 ETF นี้เหมาะกับใคร
1. คนที่เชื่อและชอบการลงทุนในตีมนี้ ที่มองเห็นศักยภาพการเติบโตในแง่การใช้งานในโลกอนาคตไม่ว่าจะเป็น AI, Digital economy
2. คนที่ต้องการแก้พอร์ทที่ติดลบจากหลายๆการลงทุน เช่นลงทุนในจีน ลงทุนในพลังงานสะอาด ฯลฯ
3. คนที่อยากได้หุ้นเติบโต มีศักยภาพจะโตได้อีก ล้อไปกับ Megatrend
4. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษารายละเอียดเป็นหุ้นรายตัวมากนัก และไม่อยากเสี่ยงซื้อหุ้น Semiconductor รายตัว
💭 ช่องทางการลงทุน
1. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทย แบบนี้สามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้นต่างประเทศ และ ETFs ต่างประเทศ เช่น Dime, Innovest X, Liberator ตอนนี้บางโบรกเกอร์สามารถซื้อได้ฟรีค่าคอมมิชชั่น 1 ไม้ต่อเดือน เช่น Dime, Liberator ครับ
2. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ หลักการคล้ายๆโบรกเกอร์ของไทย แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกกว่า ผมมีเขียนบทความเรื่องนี้ไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศว่ามีตัวเลือกโบรคเกอร์อย่างไร
3. เปิดบัญชีซื้อขายเฉพาะ ETFs กับ Jitta Wealth โดย Jitta Wealth ไม่ใช่โบรคเกอร์ แต่ Jitta Wealth จะเป็น กองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้น บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ได้ถูกจัดเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์บริษัทหลักทรัพย์
สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ที่ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/companyprofile/Intermediaries/0000029621
4. ซื้อผ่านกองทุนไทย ที่ลงทุนในต่างประเทศ เช่น SCBSEMI(A), SCBSEMI(E) เป็นต้น ที่ลงทุนผ่าน ETF นี้อีกที
💭หากใครสนใจลงทุนใน Jitta Wealth คลิกได้เลยที่ Link : https://link.jittawealth.co/6votzlub7h
หรือคลิกที่รูปด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีลงทุน
โฆษณา