Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
8 ก.ค. 2024 เวลา 13:18 • สุขภาพ
ยาแอมโลดิปีน กับ มานิดิปีน
วันนี้ จ่ายยาพบผู้ป่วยทานยา Amlodipine (แอมโลดิปีน)10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ความดันผู้ป่วยยังค่อนข้างสูงคือ 160/100 แพทย์จึงเปลี่ยนเป็นยา Manidipine (มานิดิปีน) 20 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เหตุผลเพราะอะไร ??วันนี้พี่บุ๋นมาเล่าให้ฟังค่ะ
.
ก่อนจะเล่าเรื่องเหตุผลของการเปลี่ยนยา ขอเล่าพื้นฐานยาในกลุ่มนี้สักนิดนะคะ เนื่องจากเป็นยาในกลุ่มเดียวกัน😁
เป็นยารักษาโรคความดันสูงในกลุ่ม Calcium Channel Blockers เหมือนกัน เรียกกันย่อๆว่า CCBs(แคลเซียมแชนแนลบลอคเกอร์)
#กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม CCBs
ยับยั้ง ปิดกั้นการผ่านเข้าสู่เซลล์ของแคลเซียม ที่บริเวณเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว จึงทำให้หัวใจเต้นช้าลง หลอดเลือดแดงขยายตัว ทำให้สามารถลดความดันได้
.
สำหรับเหตุผลที่ถูกเปลี่ยนจาก แอมโลดิปีน เป็น มานิดิปีน ขออธิบายสั้นๆเพื่อความเข้าใจแบบง่ายๆค่ะ
.
-แอมโลดิปีน ขนาดยาสูงสุดสำหรับ ยาชนิดนี้ที่แนะนำ คือ ไม่เกินวันละ 10 mg ต่อวัน แต่มีบางครั้ง เคยพบแพทย์สั่ง ขนาดสูงสุดถึง 20 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ค่อยเจอนะคะ เพราะอาจเพิ่มผลข้างเคียงของยา
**สำหรับผู้ป่วยรายนี้ มี 2 ทางเลือก ก็คือ เพิ่มยาชนิดอื่น หรือเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นในกลุ่ม CCBs ค่ะ แพทย์ท่านนี้จึงลองเปลี่ยนเป็นยามานิดิปีน ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำคือ 20 mg ต่อวัน (แต่มีบางเว็บแนะนำว่า ทานได้ถึง 40 mg ต่อวัน ก็เป็นขนาดยาที่อาจพบได้ไม่บ่อยนักเช่นกัน)
.
และเหตุผลอื่นที่อาจสนับสนุนให้แพทย์สั่งยามานิดิปีน (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ พี่บุ๋นนะคะ) อาจเพราะ ยามานิดิปีนถูกพัฒนาให้มีอาการและผลข้างเคียงดีขึ้น เป็นยาความลดความดันในกลุ่ม CCBs ที่ถูกพัฒนาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว คือ
-เกิดอาการข้างเคียง เช่น ข้อเท้าหรือขาบวม ปวดศีรษะ หน้าแดงน้อยกว่า
เนื่องจาก อาการบวมที่เกิดจากยาในกลุ่มนี้ เกิดจาก ยามีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
** กลไกที่ทำให้เกิดอาการบวมจากยากลุ่มนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความที่เคยเขียนเอาไว้นะคะอยู่ในอ้างอิง 4 ค่ะ)
.
➡ส่วนยามานิดิปีน มีการจำเพาะเจาะจงในการขยายหลอดเลือดดำมากกว่าหลอดเลือดแดง จึงทำให้อาการข้างเคียงน้อยกว่า
-ในแง่ความปลอดภัยต่อไต มีมากกว่ายาแอมโลดิปีน ยาช่วยขยายหลอดเลือดที่ไต ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น ช่วยชะลอการเสื่อมของไต ได้ดีกว่าแอมโลดิปีน แต่ก็ไม่ดีเท่ากลุ่ม ACE inhibitior (เช่น Eanalapril) ซึ่งยังถูกเลือกใช้เป็นตัวเลือกหลัก ในกลุ่มผู้ป่วยความดันสูงที่มีภาวะโปรตีนในปัสสาวะร่วมด้วย
**หมายเหตุ-ถึงแม้ดูว่ายามานิดิปีนดูมีความปลอดภัยต่อไตมากกว่า แต่ยาทั้งสองชนิดก็สามารถ #ใช้ในผู้ป่วยโรคไตได้ และไม่ได้มีการแนะนำให้มีการปรับยาในผู้ป่วยโรคไต
.
.
#สรุป ยามานิดิปีนอาจจะดูมีข้อดีกว่าแอมโลดิปีนก็จริง แต่ ในทาง ปฏิบัติก็พบว่า ยาแอมโลดิปีนยังเป็นยาพื้นฐานที่แพทย์นิยมใช้ทั่วไปอยู่ เนื่องด้วย ประสิทธิภาพในการลดความดัน และยังมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย จึงขึ้นกับดุลยพนิจของแพทย์ในการเลือกใช้ยาที้งสองชนิดนี้
.
.
เล่าเรื่องโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์(พี่บุ๋น)
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
.
1.
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=338
.
2.
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=75
.
3.
https://www.blockdit.com/posts/5db58a2fdbd7b70cfe277fdf
.
4.
https://www.facebook.com/share/p/AtMVnCrgJ6sBdVZJ/?mibextid=xfxF2i
health
สุขภาพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย