18 ก.ค. เวลา 04:55 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Vanilla Sky Studio

Behind the Sound I ปุจฉาพาเสียว [Doctor Climax] - PART2

  • เข้าสู่ช่วงเล่าสู่กันฟัง แบ่งปันเรื่องราวในการทำงานในซีรีส์ “Doctor Climax” หรือ “ปุจฉาพาเสียว” ผ่านมุมมองของทีมงานตัวจริง ที่อยู่เบื้องหลังการทำเสียงประกอบซีรีส์เรื่องนี้! กันดีกว่า
𝗕𝘂𝗿𝗮𝗽𝗼𝗻
ในส่วนของไดอะลอกสำหรับงาน "ดร.ไคลแมกซ์" ค่อนข้างราบรื่น ตั้งแต่ช่วงที่ไฟล์ถูกส่งมาจากห้องตัด ซึ่งไฟล์เสียงที่ได้รับมา จะเรียกว่า ไฟล์ ⁽¹⁾ 𝗢𝗠𝗙 (.𝗼𝗺𝗳) หรือ 𝗔𝗔𝗙 (.𝗮𝗮𝗳) เป็นไฟล์ที่ถูกตัดต่อและซิงก์ให้ตรงกับปากของนักแสดงมาเรียบร้อยแล้ว
ขั้นแรกของการทำงาน 𝘿𝙞𝙖𝙡𝙤𝙜𝙪𝙚 𝙀𝙙𝙞𝙩𝙤𝙧 จะเลือกเสียงจากไมค์ที่ฟังชัดและมีเนื้อเสียงที่ดีที่สุดมาใช้ หรือในบางกรณีก็อาจใช้ผสมกันหลายไมค์ เพื่อให้ได้เสียงที่ชัดที่สุด แต่ก็มีข้อควรระวังคือ เรื่องการ ⁽²⁾เฟส (𝗣𝗵𝗮𝘀𝗲) ของเสียง
หลังจากนั้น ก็จะเริ่มทำการคลีนเสียง และจัดการกับความดังเบาของเสียงตัวละครทุกตัวให้มีความใกล้เคียงกัน รวมถึงปรับแต่ง ⁽³⁾อีคิว (𝗘𝗤) ให้ทุกเสียง มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด แต่ถ้าเป็นเสียงที่ต้องผ่านโทรศัพท์หรือผ่านทีวี ก็จะมีการปรับแต่งพิเศษเพิ่มเติม
ปัญหาหลักของเรื่องนี้คือ มีเซ็กส์ซีนที่ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ไมค์ที่อัดมา เนื้อเสียงไม่ค่อยดีเท่าที่ควร จำเป็นต้องอาศัยการ ⁽⁴⁾𝗔𝗗𝗥 เข้ามาช่วยในหลาย ๆ ซีน แต่บางครั้ง 𝗔𝗗𝗥 ออกมาแล้วมันลอย จึงใช้วิธีการนำเสียงจากเทคอื่นที่ไม่ได้ใช้ มาใส่แทนเสียงจากเทคที่ใช้
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: tark.maneekart
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Tark Maneekart
𝗦𝘂𝗰𝗵𝗮𝗱𝗮
เรื่องราวของ "ดร.ไคลแมกซ์" เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2521 หรือ ค.ศ. 1978 ตั้งแต่ได้อ่านบท ก็ทยอยหาเก็บเสียงกัน โดยลองหาของจากยุคนั้นมาอัดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ดีด โทรศัพท์ เกมส์ ของเล่น รถเก่า โรงพิมพ์ ฯลฯ
ส่งให้ทางอีดิทเตอร์ เอาเสียงไปวาง ซึ่งในส่วนของอีดิทเตอร์เอง เขาก็วางเสียงไกด์มาให้ได้ดีมากๆ (ขยันสุดๆ) ในส่วนของ ⁽⁶⁾𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗘𝗳𝗳𝗲𝗰𝘁𝘀, ⁽⁷⁾𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗗𝗲𝘀𝗶𝗴𝗻, ⁽⁸⁾𝗔𝗺𝗯𝗶𝗲𝗻𝗰𝗲, และ ⁽⁹⁾𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆 จะแยกได้เป็น 2 พาร์ท คือ โลกความเป็นจริงกับโลกแฟนตาซี ที่เกิดจากจินตนาการอันอัศจรรย์พันลึกของตัวละคร ในแต่ละอีพี
โลกความจริง - ก็สร้างเสียงยุค 𝟳𝟬’𝘀ให้เนียน ใส่บรรยากาศรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ กระดิ่งรถขนม นาฬิกาติ๊กต็อก ซึ่งใส่ทุกห้องในบ้าน ห้องนอน สำนักพิมพ์ คลินิก ไม่รู้ได้ยินกันมั้ย (หัวเราะ)
เสียงผู้คนทั้งโรงพิมพ์ ตลาด และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนมากมาย ก็ได้จากทีมเสียง ⁽¹⁰⁾𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 ที่อัดเสียงมาให้ และทีมเสียง ⁽¹⁰⁾𝗣𝗼𝘀𝘁-𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 ก็ช่วยกันอัดเองเพิ่มเติมอีก ในซีนที่ต้องการคนเยอะ ๆ นอกจากนี้ยังได้น้องๆ นักศึกษาจาก ม.ศรีปทุม ที่พี่นครไปสอน ช่วยอัดเสียงในส่วนนี้ให้ด้วยอีก ขอบคุณน้องๆ ด้วยนะคะ
โลกแฟนตาซี - ก็จะแนวโอเวอร์ ๆ เล่นกับเสียงสไตล์ในยุค 𝟳𝟬’𝘀 ทั้งตู้เพลง แผ่นเสียง และละครวิทยุ เพิ่ม ⁽¹¹⁾นอยส์ (𝗡𝗼𝗶𝘀𝗲) และ ⁽¹²⁾เอคโค่ (𝗘𝗰𝗵𝗼) ฉ่ำ ๆ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับสำนักพิมพ์ก็มีเครื่องพิมพ์ดีดสไลด์ ผสม⁽¹³⁾เสียงวูช (𝗪𝗵𝗼𝗼𝘀𝗵) มาใช้เป็น ⁽¹⁴⁾เทรานซิชัน (𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻) เรื่องนี้ ⁽¹⁵⁾มิกซ์ (𝗠𝗶𝘅) เป็น ⁽¹⁶⁾แอทมอส (𝗔𝘁𝗺𝗼𝘀) 𝟳.𝟭.𝟰 เพิ่มเสียงในส่วนลำโพงบนหัวด้วย ⁽¹⁷⁾แพน (𝗣𝗮𝗻) กันสนุกเลย
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺:
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Suchada Supromin
𝗛𝗮𝗺𝗵𝗶𝗿𝗮𝗻
ในซีรีส์นี้ ผมรับหน้าที่เป็น 𝙎𝙤𝙪𝙣𝙙 𝙀𝙛𝙛𝙚𝙘𝙩𝙨 𝙀𝙙𝙞𝙩𝙤𝙧 โดย 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗘𝗳𝗳𝗲𝗰𝘁𝘀 นั้นมีความสำคัญทั้งในเรื่องของโทนและลักษณะเฉพาะ เพื่อให้เสียงส่งเสริมภาพได้อย่างเต็มที่ เราจึงต้องกำหนดว่าเสียงในแต่ละเหตุการณ์ควรออกมาเป็นแบบไหนครับ
หลักการทำงานของผมคือ การสอบถามคนในยุคนั้นถึงเหตุการณ์ในชีวิตและการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้ เพื่อสร้างเสียงที่สื่อถึงอารมณ์และบรรยากาศของภาพได้อย่างลงตัวที่สุด
ระหว่างการทำงานก็มีอุปสรรคบ้างครับ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการท้าทายความคิดว่าจะออกแบบเสียงอย่างไรให้เข้ากับภาพมากที่สุด โดยสิ่งสำคัญในการทำงานตรงนี้ คือ เราต้องตัดและวางเสียงให้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพแบบเฟรมต่อเฟรมเลยครับ
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: markj_jj
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Mark Hamhiran Sridamrong
𝗣𝗮𝗹𝗶𝗸𝗮
สำหรับงานนี้ เรามีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ 2 บทบาท คือ บทบาทของคนทำเสียงกับบทของคนประสานงาน (𝗖𝗼𝗼𝗿𝗱𝗶𝗻𝗮𝘁𝗲) ซึ่งลักษณะการทำงานมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีบางอย่างที่สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้
บทบาทของคนทำเสียง เราทำงานในฐานะของคนสร้างสรรค์งาน ที่ทำงานในด้านศิลปะ ซึ่งในที่นี้คือภาพยนตร์ สำหรับเรา นอกจากงานภาพแล้ว งานเสียงก็สำคัญไม่แพ้กันเลยนะ มีประโยคนึงที่จอร์จ ลูคัส (𝗚𝗲𝗼𝗿𝗴𝗲 𝗟𝘂𝗰𝗮𝘀) เคยพูดไว้ แล้วเราเห็นด้วยเลยคือ...
Sound is 50 percent of the moviegoing experience.
(เสียงคือครึ่งหนึ่งของประสบการณ์การชมภาพยนตร์)
จอร์จ ลูคัส (George Lucas)
ซีรีส์เรื่องนี้ เราทำหน้าที่เป็น 𝘼𝘿𝙍 𝙀𝙙𝙞𝙩𝙤𝙧 รับผิดชอบในส่วนของเสียงหายใจ/เสียงอุทานที่แสดงอารมณ์ต่างๆ (𝗕𝗿𝗲𝗮𝘁𝗵/𝗘𝗳𝗳𝗼𝗿𝘁) และเสียงวีโอหรือวอยซ์โอเวอร์ (𝗩𝗼𝗶𝗰𝗲 𝗢𝘃𝗲𝗿) ที่เป็นเสียงการเล่าเรื่องของตัวละคร ตอนอ่านจดหมาย รวมถึงแก้เสียงไดอะลอก ที่มีเสียงพร๊อพหรือเสียงเท้าติดอยู่ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดในส่วนนี้มาก เพราะมีที่พี่นคร แกพูดถึงไปแล้ว (ขอแนบลิงค์) แต่จะเล่าในมุมมองที่เราทำงานแทน ว่าเราทำอะไรไปบ้าง
ขั้นตอนการทำงาน (เตรียมงาน)
  • 1.
    นั่งดูซีรีส์ อ่านไม่ผิดหรอก เพราะถ้าไม่ดูก็ทำงานต่อไม่ได้ (หัวเราะ)
  • 2.
    ระหว่างที่ดู ก็จะมาร์คแต่ละจุดที่ตัวละครมีการหายใจหรือมีรี-แอ็ค (𝗥𝗲-𝗔𝗰𝘁)
  • 3.
    รวมถึงมาร์คเสียงไดอะลอก ที่ต้องทำการ 𝗔𝗗𝗥 ซึ่งเบื้องต้นจะมีจากที่พี่คนทำไดอะลอก เขามาร์คไว้แล้วแหละ แต่เราจะนั่งรีเช็คอีกรอบนึง เผื่อมีตกหล่น
  • 4.
    จัดทำ 𝗔𝗗𝗥 𝗟𝗶𝘀𝘁
การนั่งไล่เช็คไม่ว่าจะเสียงหายใจ, เสียงรี-แอ็ค หรือเสียงไดอะลอก ขอสารภาพบาปว่า...สำหรับเราเป็นขั้นตอนที่ทรมานใจขั้นสุด (หัวเราะ) แต่เราโชคดีมากที่มีน้องแพร (Chanamon) เข้ามาช่วยในส่วนนี้ รวมถึงส่วนอื่นๆ ที่เราอาจทำคนเดียวไม่ทันแน่ๆ (บุญคุณนี้จะไม่ลืมเลือนเลย ฮือ)
ในการทำ 𝗔𝗗𝗥 𝗟𝗶𝘀𝘁 มีตัวช่วยที่จะทำให้ประหยัดเวลาอยู่ คือ แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่สามารถเจเนอเรต (𝗚𝗲𝗻𝗲𝗿𝗮𝘁𝗲) คิวลิสต์ออกมาได้ ซึ่งเราจะได้เป็นไฟล์ 𝗔𝗗𝗥 (สคริปต์) มาใช้งานต่อได้เลย สะดวกมากๆ แต่ส่วนใหญ่เราจะเจเนอเรต เพื่อเอาเวลา 𝗧𝗶𝗺𝗲 𝗖𝗼𝗱𝗲 เข้า-ออก ไปใส่ฟอร์มที่เราทำไว้เอง เพราะปรับอะไรได้ยืดหยุ่นกว่า
สำหรับบุคคลทั่วไปหรือนักศึกษา มีตึวนึงที่เราอยากจะแนะนำคือ 𝗣𝗚 𝗣𝗧 𝗦𝗲𝘀𝘀𝗶𝗼𝗻 สามารถลองโหลดไปใช้กันได้นะ เป็นของฟรี ที่ดีและมีอยู่จริง!
สำหรับวันอัดเสียง ก็จะทำการอัด โดยไล่ตาม 𝗔𝗗𝗥 𝗟𝗶𝘀𝘁 ที่ได้เตรียมไว้ โดยเราทำหน้าที่เป็น 𝘼𝙨𝙨𝙞𝙨𝙩𝙖𝙣𝙩 𝘼𝘿𝙍 𝙍𝙚𝙘𝙤𝙧𝙙𝙞𝙨𝙩𝙨 ที่คอยเช็คสคริปต์, ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ระหว่างการอัดเสียง รวมถึงจดโน้ต ในส่วนของคอมเมนต์ เนื่องจากการอัดเสียงบางอย่าง จะมีการอัดไว้ 2-3 แบบ เผื่อไว้เป็นออปชั่น (𝗢𝗽𝘁𝗶𝗼𝗻𝗮𝗹) สำหรับเลือกใช้ภายหลัง
สำหรับวันนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ 𝗣𝗲𝗿𝗳𝗼𝗿𝗺𝗮𝗻𝗰𝗲 พูดได้เลยว่า "𝗣𝗲𝗿𝗳𝗼𝗿𝗺𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗶𝘀 𝗞𝗶𝗻𝗴" เหมือนที่ "𝗖𝗼𝗻𝘁𝗲𝗻𝘁 𝗶𝘀 𝗞𝗶𝗻𝗴" เป็นความยากที่ตัวนักแสดงต้องแบกรับ และเป็นความหวังของเราเองด้วย (หัวเราะ)
ที่เราบอกว่ามันเป็นความยากก็เพราะ ตัวนักแสดง เขาต้องเล่นให้เหมือนกับที่เคยแสดงไว้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอารมณ์ จังหวะการพูด หรือแม้แต่วิธีการออกเสียงเองก็ตาม ถ้าแสดงได้เหมือนเดิมเป๊ะ มันก็เท่ากับว่า งานมันเสร็จไปแล้ว 80% อีก 20% คือการอีดีทและอีคิวเสียงให้เหมือนกับ 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗗𝗶𝗮𝗹𝗼𝗴𝘂𝗲 เพราะต่อให้ยังไม่ได้ทำอะไร ฟังแล้ว มันก็กลมกลืนไปกับภาพ โดยที่ไม่รู้สึกสะดุดอะไร
ขั้นตอนการทำงาน (อีดิทเสียง)
1.สำหรับเสียงหายใจ และรีแอ็คต่างๆ สรุปแบบรวบรัด ตัดที่ไม่ใช้ออก, ขยับให้ตรง, อีคิวให้เหมือน, บาลานซ์ให้พอดี และแพนให้ตรงตามตำแหน่งภาพ จบปิ๊ง✨
2.สำหรับเสียงวีโอหรือวอยซ์โอเวอร์ สรุปแบบรวบรัด ขยับให้ตรง, คลีนเสียงที่ไม่พึงประสงค์ออก เช่น เสียงน้ำลาย (𝗠𝗼𝘂𝘁𝗵 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸), เสียงลมกระแทก (𝗣𝗹𝗼𝘀𝗶𝘃𝗲) แล้วอีคิวตกแต่งเสียงอีกเล็กน้อย, บาลานซ์ให้พอดี จบปิ๊ง✨
ส่วนบทบาทของคนประสานงาน เราทำงานในฐานะของซัพพอร์ตเตอร์ ที่เหมือนกาวเชื่อมให้กับคนในทีม ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการจัดการ และการเตรียมงานต่างๆ ให้คนที่รับงานช่วงต่อจากเรานั้น ทำงานได้ง่ายมากที่สุด
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: jins_sama
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Jin Pattarawarin
𝗦𝗮𝗿𝘂𝗻
สำหรับงาน 𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆 ในซีรีส์เรื่อง "ดร.ไคลแมกซ์" ที่เป็นการเล่าเรื่องในยุคสมัยเก่า ข้าวของใช้ต่างๆ ที่อยู่ในเรื่องก็จะเป็นของในยุคนั้น ทำให้ทางทีมต้องหาพร็อพ (𝗣𝗿𝗼𝗽𝘀) ต่างๆ ที่ตรงกับยุคสมัยนั้น มาใช้อ้างอิงในการทำเสียงประกอบกัน ซึ่งมันก็แอบเป็นเรื่องยากในการทำงาน สำหรับเราที่อยู่ในยุคนี้ เพราะแต่ละเสียงที่อยู่ในภาพ เป็นเสียงที่มีความเฉพาะตัว แล้วบางเสียงเอง เราก็ไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเกิดไม่ทันครับ (หัวเราะ)
ทางทีมช่วยกันเตรียมของ สำหรับใช้อัดเสียงต่างๆ ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำงานจริงกัน เพราะมีเสียงหลายอย่างที่เราต้อง ทดลองอัดกันก่อนว่าใช้ได้หรือไม่ได้ ลองผิด ลองถูกกันเยอะมาก จนในที่สุดก็ได้เสียงที่ต้องการ ถึงจะเสียเวลาในการทดลองต่างๆ ไปเยอะ แต่ข้อดีคือ เวลาที่เราทำงานจริง ทุกอย่างมันจะง่าย
ซีรีส์เรื่อง "ดร.ไคลแมกซ์" ถือเป็นความท้าทายใหม่ในการทำงาน ซึ่งทางทีมตั้งใจกับผลงานชิ้นนี้กันมากๆ ทำการบ้านกันอย่างหนัก ศึกษาอย่างละเอียดเลยว่า ยุคนั้นมีของใช้อะไรบ้าง และเสียงของสิ่งของแต่ละชิ้นมีลักษณะยังไง ไหนจะช่วยกันคิด พลิกแพลง นำของอีกอย่างมาใช้อัดแทนเป็นเสียงอีกอย่าง
สิ่งที่ยากที่สุดในการทำซีรีส์เรื่องนี้คือ เสียงจูบและเสียงการมีเซ็กส์ในแต่ละซีน ซึ่งทางทีมได้ทดลองกันหลากหลายวิธีมาก ที่จะทำให้เสียงพวกนี้ มันฟังออกมาแล้วธรรมชาติ สมจริงและกลมกลืนไปกับภาพมากที่สุด
สำหรับเสียงจูบมีการลองใช้ทั้งลูกอม ผลไม้ต่างๆ ดูดมือ ดูดนิ้วตัวเอง (หัวเราะ) เพื่อให้มันได้เสียงที่มีความ "จ้วบจ้าบ" เสียงการมีเซ็กส์ ได้ลองเอาถุงยางจริงๆมาอัด เพื่อให้ได้เสียงเหมือนเนื้อเบียดกัน
เสียงอื่นๆ อย่างเสียงโรลเลอร์เบลด หลังจากอัดแล้ว เราก็ต้องมานั่งอีดีทกันเพิ่มเติม ให้เสียงมันเหมือนกับโรลเลอร์เบลดยุคเก่า เสียงเครื่องพิมพ์ดีดที่สมัยนี้ไม่ค่อยมีการใช้งานแล้ว เราก็หาของจริงมาอัดกัน เพื่อให้ได้เสียงที่มาจากเครื่องพิมพ์ดีดจริงๆ หรือแม้แต่เสียงจดหมาย เสียงหนังสือพิมพ์ ในเรื่องเราก็ลองหาเนื้อกระดาษหลายๆแบบมาลองอัดกัน
เอาจริงๆ กว่าจะได้แต่ละเสียงมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทำแล้วไม่ผ่าน โดนพี่นครตีกลับมาก็เยอะ ต้องเฟ้นหาเสียงที่ใช่ เสียงที่ถูกเลือกว่า นี่แหละ ถูกต้อง ทำดี ทำถึง นั่งแก้วนกันไป จนกว่าจะได้ยินคำว่า "ผ่าน" ออกมาจากปากพี่นคร 🥲
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: SarunartritM
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Sarun Artrit
𝗣𝗶𝗮𝘄𝗽𝗵𝗮𝗻
การทำ 𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆 ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สนุกมากครับ ทั้งเนื้อเรื่องและองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความเก่าอยู่ในนั้น เนื่องจากเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในยุค 𝟭𝟵𝟳𝟬 ของใช้ต่างๆ ก็เป็นของเก่าๆ ที่หายากในปัจจุบัน เช่น โทรศัพท์ กระบอกไฟฉายโบราณ ฯลฯ ทำให้มีความท้าทายและรู้สึกสนุกมากครับ
สำหรับผม ซีรีส์นี้ถือว่าเป็นประสบการณ์การทำ 𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆 ที่ท้าทายมากครับ เนื่องจากเพิ่งได้ทำซีรีส์ใหญ่ๆ เป็นครั้งแรก จึงเป็นประสบการณ์ที่ถือว่าแปลกหูแปลกตามากครับ ด้วยเนื้อเรื่องที่ย้อนไปในช่วงปี 𝟭𝟵𝟳𝟬 ทำให้พร็อพ (𝗣𝗿𝗼𝗽𝘀) ที่ใช้อัดเสียงก็ต้องเป็นของตามยุคนั้นๆ ด้วย เช่น โทรศัพท์รุ่นปู่ที่มีวงแหวนหมุนเบอร์โทร ซึ่งผมรู้สึกชอบมากเวลาอัดเสียง พออัดเสร็จก็มีหมุนๆเล่นบ้างสนุกดีครับ
อีกหนึ่งพร็อพที่น่าสนุกคือ ไฟแช็กซิปโป้ เวลาตัวละครในเรื่องสูบบุหรี่ ซึ่งเวลาอัดเสียง ตอนเปิดฝาไฟแช็กมันก็จะ "คริ้งๆ" มีความดิบๆ เท่ๆ มาก ซึ่งหลังอัดเสร็จ ก็อดไม่ได้ที่จะนั่งเปิด-ปิดเล่น
หรือจะเป็นเสียงดิลโด้ เสียงแซ่ และอื่นๆ ก็มีความสนุกในการคิดว่า เอ๊ะ!? เราจะทำเสียงดิลโด้ยังไงดี จะพกของจริงมาออฟฟิศมันก็ดูแปลกๆ ตำรวจค้นเจอก็ซวยอีก เลยต้องหาทางครีเอทว่าจะใช้อะไรแทนดี ที่มันยังให้เท็กซ์เจอร์ และความยืดหยุ่นคล้ายๆ กัน ซึ่งถือว่าสนุก ท้าทาย และเป็นประสบการณ์ที่ดีครับ
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: @peososavage
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Peo Wannakhao
𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲: Peo young man
𝗡𝗮𝗿𝗶𝘀𝘀𝗮𝗿𝗶𝗻
เรารับผิดชอบเสียงเกิดจากมือและเท้าตัวละครปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น ดีดนิ้ว ปัดเสื้อ ตบโต๊ะ จับนู่นจับนี่ ฯลฯ ส่วนของเท้าก็คือเสียงเดิน-วิ่ง ลากเท้า ต่าง ๆ วางเสียงให้ซิงค์กับภาพตามเฟรม
แนวคิดในการทำงาน Foley จึงค่อนข้างเรียบง่ายตรงไปตรงมา คือดูให้เข้าใจว่าตัวละครทำอะไร เริ่มมาจากตรงไหนแล้วพอออกจากเฟรมไปแล้วเขาไปไหนต่อ
การทำงานร่วมกับทีมกรุงเทพจะอาศัยการสื่อสารผ่านแชตและประชุมทีมออนไลน์เป็นหลัก แต่เวลามีการบรีฟแบบละเอียดก็จะเป็นการวอยซ์คอล ไทม์โซนที่ต่างกัน 14 ชั่วโมงไม่เป็นปัญหา
เนื่องจากมีการกำหนดเวลาประชุมที่เลือกเวลาที่สะดวกตรงกัน ในทีม Foley มีการแบ่งหน้าที่เบื้องต้นของแต่ละคนเพื่อจะได้ไม่ทับซ้อนกัน แต่ก็สามารถขอให้คนในทีมช่วยได้ เช่น กรณีที่พร็อพบางอย่างไม่สามารถหาได้ อย่างรองเท้าแตะช้างแดง เพราะหารองเท้าแตะยางยี่ห้ออื่นมาอัดก็ไม่เหมือน เป็นต้น
เรื่องพร็อพอัดของมือเท่าที่จำได้คือไม่ค่อยมีปัญหา พร็อพส่วนใหญ่หาได้ใกล้มือ ส่วนเสียงมือบางเสียงที่มันประหลาดแฟนตาซีหน่อยก็ดีไซน์ใหม่ไปเลยด้วยอุปกรณ์ใกล้มือ อาศัยบรีฟพี่นครที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายตรง ๆ ว่าต้องการเท็กเจอร์แบบไหน นึกถึงอะไร
ตอนเริ่มโปรเจกต์คือช่วงเดือนสิงหาที่เพิ่งย้ายกลับมาแวนคูเวอร์ใหม่ๆ เพิ่งย้ายเข้าบ้าน เพิ่งทำความรู้จักเสียงแวดล้อมใหม่เพราะย้ายจากโซนไชน่าทาวน์มาเวสต์เอนด์ กว่าเวิร์คโฟลว์จะลงตัวคือประมาณวีคที่สองเข้าไปแล้ว
พอมาช่วงปลายกันยายรโรงเรียนเปิดเทอมและการบ้านเริ่มหนัก งานกลุ่มกระจุยกระจาย ควิซเลขทุกคลาส เลยปรึกษากับพี่นคร ขอดึงเพื่อนจาก VFS คือ Rodrigo มาช่วยทำส่วนของมือให้ตั้งแต่อีพี 4 เพราะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยแล้วชีวิตพัง พอมีคนมาช่วยก็รอดพ้นมาได้จนจบแปดอีพี
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: @narisfaiofoz (ส่วนตัว) / @cottonnarisound (งาน)
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Narissarin Janpraisri
𝗥𝗼𝗱𝗿𝗶𝗴𝗼
My entry as a Foley editor on the Dr. Climax series was rather unexpected. I was recommended by Narissarin, a friend and colleague from Vancouver Film School’s Sound Design program, to audition for an audio editor position. Even before submitting the test, I had already received a complete Dr. Climax episode to record, edit, and adjust all audio related to handling objects, touches, movements, and so on.
The first shock was the language barrier. As a Brazilian whose native language is Portuguese (though I am fluent in two other languages), I unfortunately don't speak a word of Thai. Fortunately, I received videos with English subtitles, allowing me to understand the scenes better and determine the appropriate sound types and intensities for each situation.
Despite working remotely from Brazil, the feedback and support I received from my friend and (now) coworker Nari was invaluable in ensuring all sounds were suitable for each scene. It was undeniably a challenging yet rewarding process. Before this project, my exposure to Thai audiovisual works was limited, thanks to friendships cultivated during my Sound Design studies in Canada.
Therefore, I am certainly still far from knowing the richness of cinema from this place in depth. Working extensively on a prestigious series like Dr. Climax was an invaluable learning experience. I extend my heartfelt thanks to Narissarin and Vanilla Sky Studio for this incredible opportunity!
I hope to have other opportunities to work on new projects and, who knows, after a few more hours of editing, I will no longer need subtitles to understand what is happening on the screen.
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: @rod.enq
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Rodrigo Enoque
𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲: http://rod-q.design/
𝗞𝗮𝗻𝗻𝗮𝘀𝗲𝘁
ในส่วนของเสียงเสื้อผ้า (เฉพาะอีพี 2) มีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งต้องทำให้เสียงเข้ากับจังหวะของกิจกรรมต่างๆ ของตัวละคร
การตัดต่อเสียง 𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆 ใช้เวลาในการทำให้เสียงมีความสมูทและเข้ากับกิจกรรมอย่างว่า... โดยไอเดียหลักคือ การคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของน้ำหนักและการออกแรงของกิจกรรมอย่างว่า...ให้เหมาะสม
ในพาร์ทนี้ ความชัดเจนในเรื่องของไดนามิค เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เสียงช่วยเสริมการเล่าเรื่องได้อย่างมีอรรถรสมากขึ้น (เพราะเสียงช่วยเล่าเรื่องให้เสียวได้ครับ)
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: kannaset
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: Ear Kannaset
  • เรามาฟังเรื่องราวในการทำงาน ผ่านมุมมองของน้องๆ นักศึกษาฝึกงาน ที่ได้มีส่วนร่วมในการทำเสียงประกอบซีรีส์เรื่องนี้ กันบ้างดีกว่า!
𝗖𝗵𝗮𝘆𝗮𝗸𝗼𝗻
ตอนนั้นงานหลักๆ ที่ทำจะเป็น 𝗔𝗺𝗯𝗶𝗲𝗻𝘁 กับ 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗘𝗳𝗳𝗲𝗰𝘁𝘀 ครับ ผมพยายามใส่เสียงให้กลมกลืนไปกับเรื่องราว เพื่อไม่ให้ตัดอารมณ์ของซีรีส์ เพราะซีรีส์เล่าเรื่องได้ดีมาก การทำงานนั้นสนุกมากครับ มีจุดให้ใช้เสียงเล่าเรื่องเยอะ
แต่ครึ่งหลังของซีรีส์ทำงานยากขึ้นหน่อย เพราะมีองค์ประกอบเยอะมาก ต้องหาเสียงแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ต่างจากครึ่งแรก แต่โดยรวมแล้วก็สนุกดีครับ ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: apppppppp_
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: แจ๊ป
𝗡𝘂𝘁𝗰𝗵𝗮𝗻𝗼𝗻
สำหรับผมเป็นการทำงานที่ตื่นเต้นมากครับ เพราะเป็นการร่วมงานกับ 𝗡𝗲𝘁𝗳𝗹𝗶𝘅 ครั้งแรก ซึ่งมันเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ผมเข้ามาฝึกงานในช่วงที่การทำเสียงของซีรีส์เรื่องนี้เสร็จไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
ส่วนใหญ่หน้าที่หลักของผมคือ การตรวจเช็คเสียงว่า มีตรงไหนที่เบาไป ดังไป หรือไม่ตรงซิงค์ รวมถึงเสียงที่ขาดหายไปด้วยครับ ผมดูตอนหนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 3 รอบได้ และยังได้พากย์เสียงตอนที่อัดเสียงวอลลา (𝗪𝗮𝗹𝗹𝗮) อีก ตอนนั้นมันสนุกมากครับ ที่ได้กรี๊ดและโวยวายในเรื่องจนคอแทบแตก (หัวเราะ)
ซีรีส์เรื่องนี้ดูเพลินและสนุกมาก เสียงที่ใส่เข้าไปให้บรรยากาศยุค 𝟳𝟬’𝘀 มากๆ ครับ ถ้าใครอยากรู้ว่าเสียงดีแค่ไหน ต้องไปรับฟังด้วยตัวเองนะครับ บอกเลยว่า เสียงมีครบไม่มีขาดแน่นอนครับ
𝗙𝗼𝗹𝗹𝗼𝘄 𝗺𝗲 𝗼𝗻...
𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺: @skncn_
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: SongKran Ncn
𝗚𝗹𝗼𝘀𝘀𝗮𝗿𝘆
  • 𝗔𝗔𝗙 (.𝗮𝗮𝗳)
  • 𝗔𝗗𝗥
  • 𝗔𝗗𝗥 𝗟𝗶𝘀𝘁
  • 𝗔𝗺𝗯𝗶𝗲𝗻𝗰𝗲
  • 𝗔𝘁𝗺𝗼𝘀 𝟳.𝟭.𝟰
  • 𝗕𝗿𝗲𝗮𝘁𝗵/𝗘𝗳𝗳𝗼𝗿𝘁
  • 𝗘𝗖𝗛𝗢
  • 𝗘𝗤
  • 𝗙𝗼𝗹𝗲𝘆
  • 𝗠𝗶𝘅
  • 𝗠𝗼𝘂𝘁𝗵 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸
  • 𝗡𝗼𝗶𝘀𝗲
  • 𝗢𝗠𝗙 (.𝗼𝗺𝗳)
  • 𝗢𝗽𝘁𝗶𝗼𝗻𝗮𝗹
  • 𝗣𝗮𝗻
  • 𝗣𝗵𝗮𝘀𝗲
  • 𝗣𝗹𝗼𝘀𝗶𝘃𝗲
  • 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗗𝗶𝗮𝗹𝗼𝗴𝘂𝗲
  • 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱
  • 𝗣𝗼𝘀𝘁-𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱
  • 𝗣𝗿𝗼𝗽𝘀
  • 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗗𝗲𝘀𝗶𝗴𝗻
  • 𝗦𝗼𝘂𝗻𝗱 𝗘𝗳𝗳𝗲𝗰𝘁𝘀
  • 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻
  • 𝗩𝗼𝗶𝗰𝗲 𝗢𝘃𝗲𝗿
  • 𝗪𝗮𝗹𝗹𝗮
  • 𝗪𝗵𝗼𝗼𝘀𝗵
ติดตามและติดต่อร่วมงาน
Line Official Account: @vanilla Sky Studio
Mobile: 089-131-6745 (Nakorn)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา