17 ก.ค. เวลา 13:46 • สุขภาพ

🔎 ชวนสังเกตตนเองสักนิด ก่อนกลายเป็นโรคบ้างาน (Workaholic)

สัญญาณอันตรายที่ทำร้ายเราโดยไม่รู้ตัว❗
จากการสำรวจประชากรวัยทำงานของไทย โดยกรมสุขภาพจิตพบว่า ร้อยละ 67 มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคบ้างาน (Workaholic) ซึ่งเป็นโรคที่มักใช้เรียกคนที่มีนิสัยบ้างานหรือเสพติดการทำงาน และมีพฤติกรรมการทำงานต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อร่างกายและจิตใจได้!
.
.
📌 ทำงานล่วงเวลา มักจะทำงานเกินกว่าเวลาโดยตลอด กระทบต่อเวลาหยุดพักผ่อนของตนเอง
📌 คิดถึงงานตลอดเวลา หากไม่ได้ทำงานจะรู้สึกเครียด และหากมีเวลาว่างก็มักจะอยากทำงานเพิ่ม
📌 ไม่พอใจเมื่อคนอื่นพูดถึงการทำงานของตัวเอง และไม่รับฟังคำแนะนำของคนอื่น
📌 กลัวความผิดพลาดในการทำงาน หากทำงานผิดพลาด จะรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง หรือไม่มีคุณค่า
📌 เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน คนรัก และครอบครัว
ผลกระทบจากอาการโรคบ้างาน (Workaholic) 😖 อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา ได้แก่
.
🧠 ปัญหาด้านความเครียด การทำงานที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเครียดสะสม ส่งผลให้เกิดโรคตามมาเช่น ภาวะหมดไฟ ความเครียดเรื้อรังและวิตกกังวล
.
🛏️ ปัญหาด้านการนอนหลับ การทำงานต่อเนื่องและมีความกังวล อาจทำให้มีปัญหาในการนอน
เช่น นอนไม่หลับ การตื่นกลางคืน และการนอนหลับไม่สนิท
.
💉 ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
❓แล้วจะมีวิธีการรับมือหรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Workaholic อย่างไรบ้าง
.
✅ ยอมรับในความผิดพลาด ลดความคาดหวังที่สูงเกินไปกับงานที่ทำ
✅ กำหนดเวลาเริ่ม - เลิกงานให้ชัดเจน ไม่ฝืนทำงานต่อในเวลาพักผ่อน
✅ จัดลำดับความสำคัญของงาน งานไหนทำก่อน - หลัง ให้เหมาะสม
✅ ผ่อนคลายร่างกายและสมอง พัก 5 - 10 นาที ทุก 1 ชั่วโมง ด้วยการยืดเหยียดหรือลุกเดิน
✅ ออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดจากการทำงาน
✅ นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ให้ได้อย่างน้อย 7 -9 ชั่วโมงต่อวัน
.
ที่มา : กรมสุขภาพจิต, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
#โรครว้ายๆวัยทำงาน
#กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
#กรมควบคุมโรต
โฆษณา