20 ก.ค. 2024 เวลา 06:54 • ประวัติศาสตร์

คนและปรัชญา EP.4 จอร์น ล็อก (John Locke)

จอร์น ล็อก เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1632 ที่หมู่บ้านริงตัน (Wrington) เมืองซัมเมอร์เซต(Somerset) ประเทศอังกฤษ เมื่อสังเกตจากปีเกิดแล้วเทียบเหตุการณ์ในช่วงนั้นจะพบว่า จอร์น ล็อก เกิดในช่วง ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงที่ความรู้กำลังเบ่งบานในหมู่ประชาชน หรือที่เรียกว่า การตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment)
เป็นช่วยเวลาที่แนวคิด 3 แนวคิดกำลังเฟื่องฟู นั่นคือ แนวคิดปรัชญาทางการเมือง แนวคิดมนุษย์นิยมและแนวคิดญาณวิทยา เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มตั้งคำถามโดยใช้หลักเหตุและผลมาตอบคำถามทุกสิ่ง ด้วยช่วงเวลาที่จอร์น ล็อกเกิดนี้เองได้สร้างอิทธิพลในแนวคิดของเขา
ในช่วงวัยเด็กล็อกเติบโตในเมืองเพนส์ฟอร์ด (Pensford) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษโดยเขามีพ่อคือ จอร์น ล็อก ซีเนียร์ มีอาชีพเป็นทนายความและนักกฎหมาย ส่วนแม่ของเขาคือ แอกเนส คีน ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าแม่ของล็อกทำอาชีพอะไร แต่ถ้าดูจากสังคมในยุคนั้น สันนิษฐานว่า แม่ของเขาน่าจะเป็นแม่บ้าน
ในด้านการศึกษา ล็อก ได้เขาศึกษาที่โรงเรียนเวสมินสเตอร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านภาษาโบราณ โดยเฉพาะภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ เมื่อจบจากโรงเรียนเวสมินสเตอร์ ล็อกก็ได้เข้าศึกษาในวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยเขาได้ศึกษาด้านปรัชญาและวิทยาศาสตร์คลาสสิค โดยเน้นปรัชญาคลาสสิคของอริสโตเติล
หลังจบระดับปริญญาตรี เนื่องด้วยเขาฉลาดและชอบการเรียนเขาจึงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในระดับปริญญาโท หลังจากได้รับปริญญาโท ล็อกยังคงอยู่ที่ออกซ์ฟอร์ดและศึกษาเพิ่มเติมในสาขาการแพทย์ แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับปริญญาแพทย์อย่างเป็นทางการ แต่ล็อกได้ศึกษาและทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคน โดยเฉพาะ โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดของเขาในด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาธรรมชาติ
หลังจากจบการศึกษา ล็อกได้ได้เริ่มงานแรกในชีวิตโดยการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยเขาได้สอนอยู่ในวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด นอกจากนี้เขาก็ยังทำงานเป็นนักวิจัยควบคู่กับงานสอนด้วย โดยเขาได้ทำงานวิจัยในหลากหลายสาขาวิชา โดยเฉพาะปรัชญา วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ก่อนที่เขาจะรับงานเป็นแพทย์ส่วนตัวให้กับ แอนโทนี แอชลีย์ คูเปอร์ (Anthony Ashley
Cooper) เอิร์ลที่ 1 แห่งแชฟต์สบรี ล็อกทำงานให้กับแชฟต์สบรีในฐานะผู้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และการเมือง
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเครือข่ายทางการเมืองของเขา ด้วยการเขามาเป็นแพทย์ส่วนตัวให้กับคูเปอร์ ทำให้เขาเริ่มมีความสนใจทางการเมืองและทำให้ล็อก ก้าวเข้ามาสู่งานด้านการเมือง โดยงานด้านการเมืองครั้งแรกของล็อก คือ การเป็นที่ปรึกษาด้านการเมือง โดยที่เขาทำงานให้กับคูเปอร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้นคูเปอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเมืองอังกฤษ
โดยเขามีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆเช่น การปฏิรูปกฎหมายและการสนับสนุนเรื่องเสรีภาพทางศาสนา ก่อนที่ต่อมาล็อกได้เขามารับราชการในตำแหน่งคณะกรรมาธิการการค้าและการท่าเรือซึ่งมีบทบาทในการจัดการการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนานโยบายอาณานิคม
ด้านแนวคิดและงานเขียน ด้วยอย่างที่กล่าวไปในช่วงต้น ในช่วงที่ล็อกใช้ชีวิตอยู่นั้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงการตื่นรู้ทางปัญญา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสรีภาพในแสดงความคิดเห็นและการนำเหตุและผลกับหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการตอบคำถามต่างๆในธรรมชาติ
ในปี 1689 ล็อกได้ตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อว่า An Essay Concerning Human Understanding หรือ เรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งเป็นการน าหลักปรัชญามาใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ และในปีเดียวกันเขาก็ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นเอกของเขาและเป็นผลงานที่ท าให้เขาได้รับการยกย่องว่า “บิดาแห่ง
ประชาธิปไตย” นั่นคือ ศาสตร์นิพนธ์สองบรรพว่าด้วยการปกครอง หรือ Two Treaties of Government
ซึ่งเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีเทวสิทธิ์ของเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ ซึ่งกล่าวว่าอำนาจของกษัตริย์มาจากพระเจ้าและประชาชนต้องยอมรับโดยไม่มีสิทธิในการตั้งคำถามหรือต่อต้าน โดยเขายังเสนอว่าการปกครองที่ชอบธรรมต้องมาจากความยินยอมของประชาชน ไม่ใช่จากสิทธิที่ได้รับจากพระเจ้า และล็อกได ้เสนอแนวคิดทฤษฎีธรรมชาติและทฤษฎีสัญญาประชาคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนา
รัฐธรรมนูญสมัยใหม่
โดยเขาเสนอแนวคิด 2 แนวคิดคือ แนวคิดแรก คือ สิทธ ิและเสรีภาพนั้นเป็นสถานะโดยกำเนิดของประชาชนทุกคน แต่จะต้องไม่มีใครควรท าร้ายผู้อื่นในชีวิต เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน แนวคิดต่อมาคือ การก่อก าเนิดรัฐ โดยล็อกกล่าวว่า การจัดตั้งรัฐนั้นเกิดขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งรัฐผ่านสัญญาประชาคม โดยยินยอมท ี่จะมอบบางส่วนของสิทธิตนให้กับรัฐบาลเพื่อแลกกับการคุ้มครอง
โดยถ้าหากรัฐบาลละเมิดสัญญาประชาคมและไม่ปกป้องสิทธิตามธรรมชาติของประชาชน ประชาชนมีสิทธิในการต่อต้านและจัดตั้งรัฐบาลใหม่แนวคิดนี้ทรงอิทธิพลมากทางสังคมโดยแนวคิดของเขาได้เป็นรากฐานทางความคิดทางปรัชญาทางการเมืองของนักปรัชญาทางการเมืองคนสำคัญหลายคน เช่น เดวิด ฮูม นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวสกอต อิมมานูเอล คานต์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน จอร์จ เบิร์กลีย์ นักปรัชญาชาวไอริช
ฟร็องซัว-มารี อารูเอ หรือที่เรารู้จักในนาม วอลแตร์ นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส และนักปรัชญาชื่อก้องโลก นั่นคือ ฌ็อง-ฌัก รุสโซ นอกจากนี้แนวคิดของล็อกถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบส์
แนวคิดของล็อกยังส่งผลกับแนวความคิดของคนในสังคมยุคถัดมา นั่นคือแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิตามธรรมชาติและสัญญาประชาคมของล็อกมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกาและการจัดทำรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข นอกจากนี้แนวคิดเขายังมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการพัฒนารัฐธรรมนูญ ซึ่งแนวคิดของเขาในเรื่อง สิทธิและเสรีภาพ ถือเป็นบรรทัดฐานของการทำรัฐธรรมนูญทั่วโลก
ในปี 1693 เขาได้ตีพิมพ์เรื่อง ความคิดทางการศึกษา (Some Thoughts Concerning Education) โดยมีเนื้อหาใจความแนวทางเกี่ยวกับระเบียบการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็ก โดยล็อกได้กล่าวว่า
องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ องค์ประกอบแรก มโนภาพ หรือไอเดีย องค์ประกอบต่อมาคือ ความสอดคล้องและความขัดแย้งกันทางความสัมพันธ์ของมโนภาพ และองค์ประกอบสุดท้ายคือ การรู้จักและรับรู้ความสัมพันธ์นั้น องค์ประกอบนี้ไม่สามารถแยกจากกันหรือขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากกล่าวให้เข้าใจคือ หากเราขาดมโนภาพ ก็จะไม่เกิดการรับรู้หรือเรียนรู้อะไร ทุกอย่างก็จะไม่เกิดอะไรและอยู่ในภาวะว่างเปล่า
แต่ถึงแม้เราจะมีมโนภาพ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องและขัดแย้งกัน เราก็ไม่เกิดความเข้าใจในมโนภาพนั้น ซึ่งเมื่อไม่เกิดความเข้าใจในมโนภาพก็ย่อมไม่เกิดการรับรู้และเรียนรู้ ดังนั้นในการเรียนรู้และการศึกษาตามแนวคิดของล็อก องค์ประกอบทั้ง 3 จึงไม่สามารถขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้เลย
นอกจากแนวคิดทางการศึกษาของล็อกในเรื่อง องค์ประกอบทั้ง 3 ประการแล้ว ล็อกยังกล่าวถึงแนวคิดทางจิตมนุษย์ด้วย โดยล็อกกล่าวว่า จิตมนุษย์เหมือนดั่งผ้าขาว อันปราศจากซึ่งคุณสมบัติใดๆกล่าวคือ จิตใจไม่มีความสามารถใดๆ แม้ว่าจะมีกิจกรรมทางจิตใจ แต่เมื่อแรกเกิดนั้นจิตมนุษย์ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น มีเพียงความว่างเปล่าอันปราศจากซึ่งมโนภาพใดๆทั้งสิ้น ซึ่งมโนภาพเกิดขึ้นจากการสะสมข้อมูลต่างๆผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเจอ
ประสบการณ์เปรียบเสมือนสีที่ถูกแต้มลงไปบนผ้าขาว ซึ่งล็อกได้กล่าวว่า ไม่มีมโนภาพใดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มาจากประสบการณ์ของมนุษย์ ประสบการณ์ตามแนวคิดของล็อกจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประสบการณ์ภายนอก คือ ประสบการณ์ที่พบเจอจากการรับรู้ทางร่างกายโดยอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ลิ้น ประสบการณ์ภายใน คือ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ทางจิตใจ การสังเกต การวิเคราะห์ ซึ่งล็อกเรียกประสบการณ์ภายในว่า การสังเกตตัวเองทางจิตหรือการคิดสะท้อน
จุดมุ่งหมายในแนวคิดทางการศึกษาของล็อกคือ การยึดมั่นในศีลธรรมและบุคลิกภาพที่ดี ความมีสติ รู้จักการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและเข้าใจสภาวการณ์ของสังคม การเข้าใจในการปฏิบัติตัวเองในสังคม และการเสาะแสวงหาความรู้จากการร่ าเรียนในแขนงวิชาต่างๆ
ในด้านการดูแลเลี้ยงดูเด็กตามความคิดของล็อก ล็อกมองว่า เด็กควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและฝึกฝนวินัยในตัวเองเพื่อเอาชนะความต้องการทางจิตใจและร่างกายของตัวเอง การฝึกฝนในการเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ความเจ็บปวดและความผิดหวัง การฝึกฝนเหล่านี้จะทำให้เด็กมีบุคลิกภาพและประพฤติตนที่ดี เนื่องจากเด็กเกิดการเรียนรู้จากการนำมโนภาพที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสและผ่านประสบการณ์โดยตรง
ซึ่งแนวคิดทางการศึกษาไทยมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อแนวคิดทางการศึกษาไทย โดยในปี 1953 หรือ ปี พ.ศ. 2496 ไทยได้นำรูปแบบการศึกษาแบบอังกฤษเข้ามาใช้ โดยครูเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและเน้นความจำเป็นสำคัญ เนื้อหาสาระและรายวิชาเกิดจากการเลือกสรรจากครูผู้สอน โดยวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นรายวิชาสำคัญ
ต่อมาในปี 1695 ล็อกได้ตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อ ความสมเหตุสมผลทางศาสนา (The Reasonableness of Christianity) ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่ชี้ถึงความสมเหตุสมผลของหลักคำสอนทางศาสนา ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของล็อก
ในช่วงบั้นปลายชีวิตจอร์น ล็อกอุทิศตนให้กับการเขียนและการศึกษามากยิ่งขึ้น ในปี 1700 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการค้าและย้ายไปอาศัยอยู่ที่บ้านของเพื่อนสนิทและผู้สนับสนุนของเขา คือ เซอร์ ฟรานซิส และ เลดี้ มาชาม ที่หมู่บ้าน ไฮลาเวอร์ (High Laver) เมืองเอสเซกซ์ เขาใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของชีวิตในการแต่งหนังสือและการอภิปรายในเรื่องต่างๆกับหมู่เพื่อนของเขา การที่ล็อกเลือกมาอาศัยอยู่เอสเซกซ์แทนที่จะกลับบ้านเกิดที่เมืองซัมเมอร์เซต
เนื่องจากเอกเซกซ์เป็นเมืองชนบทที่สงบและสภาพอากาศที่ดี ประกอบกับปัญหาสุขภาพของเขาในช่วงบั้นปลายโดยเฉพาะปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ เขาอาศัยอยู่กับเพื่อนของเขาจนกระทั่งวันที่ 28 ตุลาคม 1704 จอร์น ล็อกถึงแก่กรรมอย่างสงบด้วยวัย 72 ปี ศพของเขาถูกจัดอย่างเรียบง่ายและถูกฝังที่สุสานของโบสถ์ High Laver
แม้ล็อกจะจากไป แต่แนวคิดของเขาซึ่งเป็นมรดกที่ทรงอิทธิพลเป็นอย่างมากตกทอดมาจนเป็นหนึ่งในแนวความคิดที่จุดประกายในเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสและปฏิวัติอเมริกา และยังเป็นต้นแบบแนวคิดของรัฐธรรมนูญทั่วโลก โดยเฉพาะความคิดเรื่อง สิทธิและเสรีภาพ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา