18 มิ.ย. เวลา 08:40 • ประวัติศาสตร์

คนและปรัชญา EP.3 ฌ็อง-ฌัก รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)

นักปรัชญาคนที่สำคัญในยุคการตื่นรู้ทางปัญญานั้นมีมากมายหลายบุคคลด้วยกัน ในบรรดานักปรัชญาทางการเมืองคนที่สำคัญที่ก่อให้เกิดแนวคิดทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น นอกจากโทมัส ฮอบส์ผู้จุดประกายแนวคิดแล้ว ผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของฮอบส์แล้วเป็นผู้ทำให้ทฤษฎีสัญญาประชาคม บุคคลผู้เป็นเสมือนสร้างแนวทางของหลักคิดประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน ชื่อของเขาคือ ฌ็อง-ฌัก รุสโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปี 1712 ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐเจนีวา เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางที่นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ โดยพ่อของเขา คือ อิซัค รุสโซ เป็นช่างทำนาฬิกา ส่วนแม่ของเขานั้นคือ ซูซานนา แบร์นาร์ด ซึ่งมาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยที่ไม่ปรากฎหลักฐานว่าแม่ของเขาทำอาชีพอะไร
รุสโซได้เข้ารับการศึกษาในระดับพื้นฐานในโรงเรียนท้องถิ่นของเจนีวา แต่กระนั้นก็ตามด้วยปัญหาทางการเงินของครอบครัวของเขาทำให้รุสโซไม่สามารถเรียนต่อได้ หลังจากนั้นเป็นต้นมารูโซก็ศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ และจากการฟังพ่อของเขาอ่านวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ในให้เขาฟังเมื่อเขาอายุได้ 16 ปี รุสโซได้เดินทางออกจากเจนีวา และเดินทางไปยังที่ต่างๆในยุโรป
โดยในระหว่างการเดินทางของเขานั้น เขาได้ทำงานหลายอาชีพทั้งเสมียน ครูและผู้ช่วยแพทย์ โดยที่ในการเดินทางของรุสโซนั้น เขาได้พบปะกับผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากการที่เขาได้ไปพบปะผู้คนที่พื้นที่ต่างๆและได้สนทนากับผู้คนต่างๆมากมาย
ถึงแม้ว่าเขานั้นไม่ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย แต่ด้วยการศึกษาและเรียนรู้ด้วยตัวเองของเขา ทำให้เขามีความรู้และความชำนาญที่หลากหลายโดยเฉพาะความรู้ด้านปรัชญา วิทยาศาสตร์ การเมือง และวรรณกรรม ซึ่งรูโซมีความเชียวชาญเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี 1742 รุสโซได้ย้ายมาอยู่ที่ปารีส ฝรั่งเศส ในการย้ายมาอยู่ปารีสนั้น รุสโซได้เริ่มเขียนหนังสือตีพิมพ์หลายชิ้น โดยในปี 1750 เขาได้ตีพิมพ์ผลงานชื่อ Discours sur les sciences et les arts หรือ การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปะไม่ได้ก่อประโยชน์ให้สังคมเจริญยิ่งขึ้น
แต่กลับนำไปสู่การเสื่อมถอยและการเสื่อมสภาพของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังเสนอว่า ความรู้ได้เสริมสร้างอำนาจรัฐบาลให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น และทำลายสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนหรือประชาชน เขาได้กล่าวว่า วัถตุต่างๆนั้น ได้ทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างบุคคล และก่อให้เกิดความกลัวและความหวาดระแวง
ต่อมาในปี 1755 เขาก็ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นที่ 2 นั่นคือ Discours sur l'origine et les fondements de l'inégalité parmi les hommes หรือ บทวิจารณ์ว่าด้วยพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันในหมู่มนุษย์ ซึ่งเขาได้วิจารณ์ถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เขาได้กล่าวว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีความดีงามและเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่สังคมทำให้มนุษย์ไม่เท่าเทียมกันและลิดรอนซึ่งความไม่เสมอภาค ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของรุสโซ
และแนวคิดเรื่องความเสมอภาคโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่รุสโซได้กล่าวไว้นั้น ได้กลายเป็นหลักคิดที่ถูกนำมาใช้อยู่เสมอจนกระทั่งในปัจจุบัน
ผลงานเรื่อง สัญญาประชาคม อันเป็นผลงานชิ้นสำคัญของรุสโซ
แต่ในบรรดาผลงานต่างๆของรุสโซนั้น ผลงานที่ตีพิมพ์ในปี 1762 ถือเป็นผลงานชิ้นเอกและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อแนวคิดทางการเมืองที่ไม่ใช่เพียงแค่ในยุโรป แต่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ผลงานนั้นคือ Du Contrat Social, ou Principes du droit politique หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ สัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา โดยเป็นผลงานที่กล่าวถึงหลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยปฏิเสธหลักคิดของระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์
รุสโซได้เสนอหลักคิดที่มีเนื้อหาว่า อำนาจทางการเมืองและการปกครองของรัฐนั้น เกิดขึ้นได้จากสัญญาประชาคมที่ประชาชนได้เห็นพ้องต้องกัน ด้วยเจตจำนงของมหาชนที่เห็นถึงประโยชน์ส่วนรวมและความต้องการของสังคม โดยที่รัฐบาลผู้ได้รับอำนาจจากข้อตกลงของประชาชน ต้องยึดถือหลักสัญญาประชาคม ในการสร้างกฎหมายเพื่อจัดระเบียบสังคมโดยยึดหลักของความเท่าเทียมและเสมอภาค รุสโซมองว่า รัฐบาลเกิดขึ้นได้จากการที่ประชาชนใช้สิทธิ์อันเท่าเทียมกันในการเลือกผู้แทนของตนเอง
ผลงานชิ้นนี้สร้างผลกระทบให้กับหลักคิดของผู้คนในยุคการตื่นรู้ทางปัญญาเป็นอย่างมาก ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดของที่สำคัญเป็นอย่างมากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และเป็นหลักคิดที่ถูกนำไปหยิบใช้ในหลักคิดของฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย
ถึงแม้ว่าผลงานของเขาจะประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขานั้น รุสโซได้เผชิญกับความยากลำบากในชีวิตเป็นอย่างมาก หลังจากออกผลงาน สัญญาประชาคมและ Émile, ou De l'éducation ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1762 ซึ่งมีเนื้อหาที่สนับสนุนได้รับการศึกษาตามความสนใจและความถนัดของตนเอง โดยที่ไม่ถูกบังคับจากผู้ใหญ่ เขาถูกวิจารณ์เป็นอย่างมากจากทางการและคริสตจักร ซึ่งแนวคิดของรุสโซนั้นขัดแย้งกับคริสตจักรและทางการ
ความขัดแย้งและการถูกวิจารณ์อย่างหนักทำให้รุสโซย้ายออกจากฝรั่งเศส โดยที่ในปี 1766 เขาได้รับคำเชิญจากเดวิด ฮูม ให้ไปอาศัยอยู่กับเขาที่อังกฤษซึ่งมีความสัมพันธ์อันดี แต่เมื่อเขาได้ย้ายไปอยู่กับเขา ความสัมพันธ์ของทั้งสองก็เริ่มขัดแย้งและเสื่อมลง จนกระทั่งเขาทั้งสองได้แยกทางกันในที่สุด
หลังจากแยกทางกัน ในปี 1767 รุสโซได้กลับมาฝรั่งเศสโดยใช้ชื่อปลอมและใช้ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆ โดยเขาได้ไปอาศัยอยู่ในเมืองชนบท ต่อมาในปี 1778 เขาได้ไปอาศัยอยู่กับมาร์กีส์ เดอ กีราร์แดง ที่เออร์เมอนอนวิลล์ ใกล้กรุงปารีส จนกระทั่งในวันที่ 2กรกฎาคม ปี 1778 รุสโซ ได้เสียชีวิตลงในบ้านพักที่เออร์เมอนอนวิลล์ ด้วยอายุ 66 ปี โดยสาเหตุของการเสียชีวิตนั้นไม่แน่ชัด แต่จากหลักฐานที่การสันนิษฐานว่าเขาอาจจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจหรือจากการฆ่าตัวตาย
แม้ในช่วงชีวิตของเขาจะถูกวิจารณ์อย่างหนัก แต่หลังจากการเสียชีวิตของเขา รุสโซได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก โดยในปี 1794 ช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการย้ายร่างของเขาไปฝังในมหาวิหารแพนธีออน แม้ว่ารุสโซจะเผชิญกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตและถูกวิจารณ์เป็นอย่างมาก แต่หลักคิดของเขานั้นโดยเฉพาะแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการพัฒนาหลักคิดทางการเมือง สังคม และการศึกษาที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา