26 ก.ค. เวลา 00:13 • ประวัติศาสตร์
อังกฤษ

จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง ตอนที่ 9 เศรษฐกิจของอังกฤษ

ในปี ค.ศ.1992 เศรษฐกิจของอังกฤษ ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะโดนอิตาลีแซงหน้าตลอด แต่ในที่สุด.. ก็ยังกลับมาดีกว่าเดิมจนได้ ซึ่ง ณ เวลานั้น ประเทศที่เป็นพี่ใหญ่ มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปก็คือ “เยอรมันตะวันตก” ตอนนั้นได้รวมประเทศกับ“เยอรมันตะวันออก”แล้ว
กลายเป็นเยอรมันเดียว มีชื่อเป็นทางการคือ “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” และในเวลานั้นทางด้าน “สหภาพยุโรป“ ( European Union) ได้คุยกันแบบนี้.. ให้สมาชิกใช้เงินสกุลเดียวกันก็ได้ แต่ให้สกุลเงินที่อ่อนแอ รวม 3 สกุล ได้แก่ เปโซของสเปน , ลีราของอิตาลี และปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ
จำเป็นต้องผ่านการทดสอบก่อน นั่นก็คือ “คุณต้องรักษาค่าเงิน และต้องนำค่าเงินของคุณ ผูกเอาไว้กับ“ดอยช์ มาร์ก”( Deutsche Mark ) เงิน 1 ปอนด์ จะต้องมีค่า = 2.95 ดอยช์ มาร์ก ถ้า 1 ปอนด์ มีมูลค่าขยับลง เช่น เหลือแค่ 2.772 ดอยช์ มาร์ก จะถือว่า “ค่าเงินของคุณไม่ผ่าน”
สกุลเงิน ดอยช์ มาร์ก (Deutsche Mark เยอรมัน)
เพราะระบบเป็นแบบนี้ และถ้านึกไม่ออกให้ไปมองช่วงต้มยำกุ้ง 1 ดอลลาร์ = 25 บาท เพราะฉะนั้น.. ถ้าเกิดอะไรขึ้นมากับค่าเงินปอนด์ล่ะก็ !!! ธนาคารของอังกฤษเองจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปเพื่อพยุงค่าเงิน ก็จะเหมือนกับบ้านเรา อังกฤษตอนนั้นเศรษฐกิจค่อนข้างดี
แต่คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต ก็พอดีว่า.. มีพ่อค้าเงินหัวใส ซึ่งมาจากกองทุนในสหรัฐอเมริกา อยู่ที่นิวยอร์ก พ่อค้าเงินคนนี้เกิดที่ฮังการี มีชื่อเดิมว่า “จอร์จี ชวาร์ตซ์ ” คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ “ จอร์จ โซรอส ” รู้ดีว่า.. “ อังกฤษต้องปกป้องค่าเงินตัวเองตลอด และถ้าเกิดเราทุบค่าเงินอังกฤษ ให้มันเละ เราก็จะได้กำไรมหาศาล” ก็เลยทำการซื้อพอร์ตคือ นักลงทุนจะได้กำไรหากมูลค่าของสินทรัพย์ลดลง เขาจึงโทรศัพท์หาเพื่อนๆ ในกองทุนควอนตัม(Quantum Fund)
ผมชื่อ “ จอร์จ โซรอส ผมขอยืมเงินหน่อย สัก 1500 ปอนด์ “ ตอนแรกเป็นดอลลาร์ แล้วไปซื้อเป็นปอนด์ ซื้อเสร็จ ขายทิ้ง ความต้องการ (demand) ของเงินมันต่ำลง ธนาคารอังกฤษจะต้องเติมเงินเข้าไป เพราะมีคนโจมตีค่าเงิน เขายังไม่หนำใจ “ เงินอังกฤษนี่อ่อนแอมาก แค่มีแรงผลักนิดเดียว เสาหินต้นนี้มันจะต้องแตกเป็นเสี่ยงๆ “
2
จอร์จ โซรอส (George Soros)ฉายาพ่อมดการเงิน บางก็ว่าเป็นนักขโมยค่าเงิน
เจอจังหวะนรกเข้าพอดี เมื่อผู้ว่าการของธนาคารกลางเยอรมัน ในเวลานั้นคือ “ด็อยท์เชอบังค์”(Deutsche Bank) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เยอรมันแล้วบอกว่า.. ณ เวลานี้มีสกุลเงินบางสกุลที่ดูแล้วค่อนข้างอ่อนแอ เราอาจจะต้องมาพิจารณากันใหม่ และด้วยประโยคนี่เอง คนเดากันแล้ว ก็มันมีแค่ 3 สกุล คือ เปโซ ของสเปน, ลีรา ของอิตาลี และปอนด์สเตอร์ลิง ของอังกฤษ คนส่วนใหญ่รู้ดีว่า อิตาลีค่อนข้างมั่นคงแล้วในเวลานั้น ส่วนเปโซ ของสเปน ก็อ่อนแอมานานแล้วล่ะ เหลือก็แค่ ปอนด์สเตอร์ลิง ของอังกฤษเท่านั้น
“จอร์จ โซรอส” โทรศัพท์ไปกู้ยืมเงินครั้งใหญ่เป็นหลักหมื่นดอลลาร์ โดยซื้อทั้งหมดเป็นดอลลาร์และแปลงเป็นเงินปอนด์ พร้อมทั้งขายมันทั้งหมดในตอนกลางคืนของวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1992 เมื่อผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ “ช็อก” เพราะเวลาของอเมริกามันช้ากว่า ตกใจเราถูกเทขายไปมหาศาล เราต้องอัดฉีดเงินเข้าไปอีก จำนวนมากมายมหาศาล โทรไปหา “จอห์น เมเจอร์” นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น ตกใจมาก เรียกประชุมด่วนที่สุด
เอาไงดี ตัดสินใจ ขึ้นดอกเบี้ยจาก 12% เป็น 15% สกัดไว้ก่อน เอาให้ปอนด์แข็งค่าขึ้นแบบโหดมาก แต่จะไม่ทันไหม?? ในที่สุดเย็นวันนั้นกลายเป็น “black wednesday“ อังกฤษต้องตัดสินใจ ”ประกาศลดค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง“ สูญเสียค่าเงินเมื่อเทียบกับดอยช์ มาร์ก 30% และหลุดข้อตกลง”สหภาพยุโรป“(EU) สถานการณ์เหมือนกับต้มยำกุ้ง (หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมาเทคนิคเดียวกันนี้ได้ เกิดขึ้นกับประเทศไทย) จึงประกาศลดค่าเงิน ทำให้หายจากดอยช์มาร์กไป 30% แล้วก็หายจาก US ดอลลาร์ไปอีกหลาย 10%
4
จอห์น เมเจอร์ (Sir John Major) นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น
ธนาคารกลางใช้เงินเก็บไป 3,200 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อหารต่อหัวประชากรแล้ว ตกคนละประมาณ 20 ปอนด์ ”จอร์จ โซรอส” ปล้นเงินจากคนอังกฤษคนละ 20 ปอนด์ ทำให้ “จอห์น เมเจอร์“ ก็เลยต้องบอกลากับทางสหภาพยุโรป(EU) “เราคงไม่ได้ไปด้วยกัน ลาก่อน” ซึ่งที่จริงแล้ว อังกฤษมีความพยายามอยากจะเข้าสู่ ”กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป“ (European Exchange Rate Mechanism) เพียงแต่พออังกฤษหลุดกรอบค่าเงินที่ตกลงกันแล้ว และไม่สามารถที่จะปกป้องค่าเงินของตัวเองได้ หลังจากการถูกโจมตีค่าเงินจาก”จอร์จ โซรอส“
ในที่สุดอังกฤษก็เลยตกขบวนไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้ค่าเงินของ EU ได้ และต่อมาในปี ค.ศ.1997 ”จอห์น เมเจอร์“ ก็แพ้การเลือกตั้ง ให้กับผู้นำพรรคแรงงาน (Labour Party) นั้นก็คือ ”เซอร์ แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน แบลร์“ (Sir Anthony Charles Lynton Blair) ซึ่งก็คือ คนที่สื่อเมืองผู้ดี มักจะแซวอยู่บ่อยๆ ว่า.. “ เวลาเข้าไปถวายรายงาน ต่อสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 จะใช้เวลาสั้นที่สุด ไม่เคยถึงครึ่งชั่วโมงเลย เหมือนไม่ทรงต้องอัธยาศัยด้วย
และต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ไปเรื่อยๆ ตามครรลองของการเลือกตั้ง จนถึงคนสุดท้ายในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 คือ “เมรี อิลิซาเบท ทรัสส์” (Mary Elizabeth Truss) ก็เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ที่ดำรงตำแหน่งเพียงแค่ 45 วันเท่านั้นจากนั้นก็เป็น ”ริชี ซูแน็ก“ (Rishi Sunak) และคนต่อมาคือ “เซอร์ เคียร์ รอดนีย์ สตาร์เมอร์” (Sir Keir Rodney Starmer) นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนปัจจุบันในรัชสมัยของ ”สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 “( Charles III)
1
เซอร์ แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน แบลร์“ (Sir Anthony Charles Lynton Blair)
ถามว่า.. ปัจจุบันอังกฤษอยู่ตรงไหน?? สำหรับเศรษฐกิจของอังกฤษในวันนี้ ก็จะอยู่อันดับที่ 6 ของโลก อันดับที่ 1 คือ “สหรัฐอเมริกา” ประมาณ 25% GDP = ประมาณ 25 ล้านทริลเลียน (trillion) คือมี ศูนย์ 12 ตัว , อันดับที่ 2 คือ “จีน” มีประมาณ 20% ซึ่งอันนี้มาแรงมาก , อันดับที่ 3 ก็คือ “ญี่ปุ่น” อันนี้ประมาณสัก 6%
จากนั้นก็คือ “เยอรมัน” เป็นอันดับที่ 4 , ส่วนอันดับ 5 ขึ้นมาจากอันดับ 6 เดิม อันนี้ไม่น่าแปลกใจเลย พลเมืองเยอะที่สุดในโลกก็คือ ”อินเดีย“ และอันดับ 6 ก็คือ ”อังกฤษ “ , ส่วน”ฝรั่งเศส“ อยู่อันดับที่ 7 , จากนั้นอันดับที่ 8 น่าสนใจมาก เพราะเป็นประเทศที่ขายความเท่เป็นหลักเลย นั่นก็คือ “อิตาลี” ค่อนข้างแข็งแกร่ง , ส่วนอันดับ 9 ก็เป็น“แคนาดา” และสุดท้ายอันดับที่ 10 ได้แก่.. น้องใหม่มาแรง “เกาหลีใต้” นั่นเอง
ภาพของ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 และ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ( Charles III)
สำหรับอังกฤษนั้น.. เป็นประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่เป็นมหาอำนาจโลก และเป็นอันดับ 1 ในหลายๆด้านมาอย่างยาวนาน ได้ก้าวผ่านความท้าทายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเหมือนกับคนเราที่มีช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ และเวลาที่ยากลำบาก
จนกระทั้งอังกฤษได้พบว่า.. ”ความยิ่งใหญ่มีได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งกองทัพ เศรษฐกิจ การเมือง การเงิน เทคโนโลยี ฯลฯ จงหาให้เจอและใช้ให้เป็น” เมื่อได้อ่านมา.. จนถึงตรงนี้แล้ว ” ผมอยากให้ท่านผู้อ่านมองประเทศผ่านตัวตนแห่งเรา ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ภายใน แค่อาจไม่ใช่ในแบบที่สังคมคาดหวัง ช่วยกันค้นหาแล้วใช้ให้เป็นเช่นกัน ” และนี่คือเรื่องราวของอังกฤษจากวันนั้นสู่วันนี้ครับ..
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 9 เศรษฐกิจของอังกฤษ
โฆษณา