19 ก.ค. เวลา 00:34 • ประวัติศาสตร์
อังกฤษ

จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง ตอนที่ 8 หญิงเหล็ก มาร์กาเรต แทตเชอร์

ในช่วงแรก.. อังกฤษได้ส่งเรือรบเล็กไปถึงที่ตั้งก็ถูกยิงเรือจม ทำให้อังกฤษรู้สึกเสียหน้า ไม่ส่งแบบเล็กๆไปล่ะ คราวนี้เอาเรือรบเต็มรูปแบบไป ในปี ค.ศ.1982 ทางฝั่งอาร์เจนตินาไม่รู้ว่า.. เจ๋งมาจากไหน?? อาร์เจนตินาซื้ออาวุธจากฝรั่งเศส และใช้เครื่องบินรบที่มีชื่อว่า “ซูเปอร์สแตนดาร์ด” ซึ่งมันมาพร้อมกับจรวด “เอ็กโซเซต์”
คือ เป็นจรวดที่เร็วมาก ถล่มเละ ไวกว่า เร็วกว่า คืออาวุธดี ยุทธภัณฑ์ของอังกฤษสู้ไม่ได้ และเพราะอังกฤษส่งกองทัพเล็กไปก่อนเลยเละ ในที่สุด.. เมื่อส่งกองทัพใหญ่ไป ใช้เวลาไม่นาน ก็ขึ้นฝั่งยึด “หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (เกาะมัลวีนัส)” สำเร็จ และครอบครองทั้งเกาะ จบได้ในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ถือว่า “รวดเร็วมากนกกระจอกไม่ทันกินน้ำเลย” อาร์เจนตินายกธงขาว บอก ”ยอมแพ้ “ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า.. อาร์เจนตินาเปรียวมาจากไหน??
จรวด “เอ็กโซเซต์”
อาร์เจนตินา คงคิดว่าเกาะเล็กๆ อังกฤษคงไม่สนใจ ถ้าเกิดสู้รบกันแล้วสมมุติว่า.. คุยกันได้ ตกลงกันได้ก็จบ แต่ปรากฏว่า.. เรื่องมันไม่เป็นแบบนั้น เพราะมันมีคนดื้อรั้นอย่าง “มาร์กาเรต แทตเชอร์” ซึ่งคนอังกฤษไม่มากแต่ก็ไม่น้อยนัก ที่คิดว่า.. “ เราเคยเป็นมหาอำนาจโลก และเราก็ไม่ได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่แบบนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว รู้สึกโคตรภูมิใจเลย ยิ่งใหญ่มากแล้วทำไมคนทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ชายแท้ๆ กลับกลัวสงครามกัน”
ผู้หญิงคนเดียว แค่ตัวคนเดียว ที่พูดจาช้าๆ แต่กลับนำพาประเทศชนะสงครามได้เป็นครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ผู้คนตื่นเต้นกันมากเหมือน “มาร์กาเรต แทตเชอร์” ได้จี้ถูกจุด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็มีคนตกงาน และแน่นอน คนที่ตกงาน คนที่โดนปิดเหมืองถ่านหิน โรงเหล็กก็ยังเกลียดเธออยู่ทุกวันนี้ แต่พอดีว่า.. “ระบอบประชาธิปไตยเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขผู้คนจำนวนมาก”
ภาพที่แบบ มองเห็นทหารอังกฤษ เดินขึ้นเรือแล้วไปนั่งบนเรือพร้อมทั้งโบกมือบอกว่า.. ”จะไปรบแล้ว“ และคนอังกฤษบอก.. ไม่ได้เห็นภาพอย่างนี้มานานกี่ปีแล้ว?? อารมณ์เหมือนแบบได้เป็นแชมป์บอลโลก หรือได้เป็น”มิสยูนิเวิร์ส“ ก็ต้องภาคภูมิใจ ถึงแม้จะเป็นการรบเพื่อ “เกาะมัลวีนัส” ซึ่งเล็กมาก แต่สำหรับพวกเขาแล้วเนี่ย.. มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีชาตินักรบ และเป็นการประกาศต่อชาวโลกว่า ”ประเทศเขาไม่กระจอกอีกต่อไปแล้ว“
ภาพของ มาร์กาเรต แทตเชอร์ กับภาพของทหารหลังชนะสงคราม“หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (เกาะมัลวีนัส)”
34 ปีที่ผ่านมา เหมือนเราหายไป แต่ตอนนี้.. เธอได้นำเกียรติภูมิกลับมาให้ชาวอังกฤษอีกครั้ง และก่อนจะมีการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1983 นั้น ผมจะขอกระโดดพาไปเที่ยวปักกิ่งกันก่อนครับ “มาร์กาเรต แทชเชอร์“ ตอนนั้นเธอเหมือนเริ่มต้นเป็น ”ฮีโร่“ เธอต้องไปประชุมกับบุคคลสำคัญของโลกคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ”เติ้งเสี่ยวผิง“ ที่ศาลาประชาชน ในบริเวณหน้าพระราชวังปักกิ่ง
เพื่อจะไปคุยถึงอนาคตของเกาะฮ่องกง เธอมีนัดต้องไปพบกับ “จ้าว จื่อหยาง” ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น แต่ปรากฏว่า คนที่มาด้วยมีชื่อว่า.. “ เติ้งเสี่ยวผิง “ และเธอเจรจาในการที่จะรั้งเอา “เกาะฮ่องกง” ไว้กับอังกฤษต่อไป รวมทั้งการเจรจาต่อสัญญา”นิวเทอร์ริทอรีส์ “(New Territories)ในส่วนที่เช่า 99 ปีด้วย แต่ “ไม่สำเร็จ” สุดท้าย.. เธอต้องเสีย “เกาะฮ่องกง” ซึ่งเป็น ”บริติช นิวเทอร์ริทอรีส์ ”100% แถมยังต้องมาเสีย “เกาะเกาลูน“ ไปอีกด้วย
1
ถ้าถามว่าเป็นความพ่ายแพ้ไหม??.. ตอบเลยว่า “ใช่” แต่คนอังกฤษรู้ดีว่า อังกฤษจะไปรบกับ“เติ้งเสี่ยวผิง” ไปรบกับจีนในเวลานั้น อังกฤษแพ้แน่ๆ และคนก็ไม่ได้ว่าอะไร ที่สุดในปี ค.ศ.1983 เธอก็ได้รับเลือกอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในช่วงเวลานั้น นโยบายของ “แทตเชอร์” จะยังไม่ได้ผลิดอกออกผลเลย ซึ่งเป็นจังหวะที่ราคาน้ำมันโลก ค่อยๆปรับตัวลดลงตั้งแต่ ปี ค.ศ.1979 เป็นต้นมา จากนั้นก็ลดลงเรื่อยๆ และการจ้างงานค่อยๆกลับมา แต่ยังไม่ตูมตาม ที่สุดเลยคือ.. “ การมีชัยชนะในสงครามเหนืออาร์เจนตินา”
ภาพการเจรจาเกี่ยวกับ “เกาะฮ่องกง” ระหว่าง เติ้งเสี่ยวผิง กับ มาร์กาเรต แทตเชอร์
เราต้องยอมรับว่า..ถ้าเธอเป็นคนหน่อมแน้ม เธอไม่แสดงออกซึ่งความกล้าหาญ เธอก็จะไม่ได้อะไรเลย คนอังกฤษตอนนั้นก็คงจะรู้สึกประมาณว่า ”เราหายไป 34 ปี วันนี้เราได้กลับมาแล้ว“ ขณะที่เศรษฐกิจค่อยๆ ดีขึ้น แต่คำว่า”ดีขึ้น“ นั้นก็ยังอยู่ท้ายๆ ของบรรดากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะฉะนั้นก็คือ.. ยังไม่ได้ดูดีขึ้นมากสักเท่าไหร่
ปี ค.ศ.1983 ผู้นำพรรคแรงงาน (Labour Party) พ่ายแพ้ต้องลาออก เศรษฐกิจของอังกฤษตอนนั้นก็เรียกว่า ”แทตเชอร์บูม“ เริ่มได้เห็นผลลัพธ์ เพราะราคาน้ำมันไต่ขึ้นไปในระดับสูงสุดประมาณ 20 กว่าๆ จากนั้นลงมาอยู่ที่ประมาณสัก 15 ด้านเอกชนที่เริ่มลงทุน ก็จะเริ่มต้นสร้างผลกำไร เพราะฉะนั้นทุกๆ อย่างได้เริ่มเห็นแล้วว่า เป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น และอัตราการว่างงานก็ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งในยุคเธอก็ลงมาเหลือต่ำกว่า 1 ล้านคน
ในขณะนั้น.. เศรษฐกิจโลกเติบโตไม่ถึง 10 % แต่เศรษฐกิจอังกฤษจะประมาณแบบ 4-5% ซึ่งถือว่าแย่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผ่านสงครามโลกมาด้วยกัน จนกระทั่งที่สุดในปี ค.ศ. 1987 ก็คืออีก 4 ปีต่อมา คนอังกฤษบอกว่า “มาร์กาเรต แทตเชอร์” พาพวกเรากลับมาแล้ว แต่ถ้าถามว่าแล้วสวัสดิการละ ก็ไม่เยอะเหมือนเดิม คือเปลี่ยนแล้วอังกฤษก็ทดสอบดูแล้วว่า ระบบสวัสดิการอย่างเดียวไม่รอด
ภาพของ มาร์กาเรต แทตเชอร์ กำลังกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมพรรค เกี่ยวกับแรงงาน
ที่สุดอังกฤษต้องการระบบที่ลูกผสม เพราะถ้าเกิดเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็ทำงานเช้าชาม เย็นชาม ได้เงินเท่าเดิม นอกเหนือไปจากนี้ ทำงานไปเรื่อยๆถึงเวลาเงินเฟ้อ รวมตัวสหภาพแรงงานประท้วง แล้วมีโปรดักติวิตี้่(productivity)อะไร คนอังกฤษเริ่มต้นคุ้นเคยกับสภาพใหม่ๆ ค่อยๆเริ่มปรับเศรษฐกิจค่อยๆดีขึ้นทีละน้อย
ตอนนั้นอังกฤษ กำลังพยายามเร่งจะแซงอิตาลีให้ได้ อิตาลีเป็นชาติที่ไม่เคยยิ่งใหญ่มาก่อน ตอนนี้ก็ไล่ตามหายใจรดต้นคอกัน ซึ่งที่สุดอิตาลีก็ชนะด้วยสาเหตุบางประการ และแน่นอนว่า “มาร์กาเรต แทตเชอร์” ได้รับความนิยมสูงมากขึ้น แต่แนวความคิดของเธอเป็นคนแบบขวาจัดมาก เธอประกาศสงครามกับแนวความคิดลัทธิมากซ์ (Marxism) ชัดเจนมากว่า.. ”ใครก็ตามที่ทำให้อังกฤษ ไม่มีผลิตภาพ เธอไม่เอา” แนวความคิดของเธอชนะการเลือกตั้งทั้ง 3 ครั้ง คือ ปีค.ศ. 1979, 1984, 1987 จนที่สุดคนในพรรคก็เหนื่อยใจกับเธอ
1
เธอเข้มจัด นโยบายการต่างประเทศนี้ขวาจัด เช่น กรณีที่เคยเกิดปัญหาการเมืองที่แอฟริกาใต้ ทั่วโลกอยากให้แอฟริกาเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมกัน ระหว่างคนผิวดำ คนผิวขาว เธอบอกว่า.. “ตราบเท่าที่แอฟริกายังค้าขายกับเรา เราก็ต้องให้การสนับสนุนรัฐบาลคนผิวขาว” ชัดไหม เธอเป็นอย่างนั้นเลย คือ ไม่เอาอุดมการณ์นำ แต่เอาเรื่องผลประโยชน์นำ
ออร์ลันโด ออกซ์ฟอร์ด (คนที่ถือดาบ)
ณ เวลานั้นสำหรับเธอคือ การนำพาอังกฤษ ให้กลับขึ้นไปใหม่ เรื่องหลักการมนุษย์ชนเอาไว้ที่หลัง อังกฤษต้องมาก่อน ซึ่งหลายคนอาจด่าว่า ประเทศนั้นเป็นแบบนั้น ประเทศนี้ไม่ดี คนชาตินี้คบไม่ได้ ก็ขอให้ย้อนกลับไปที่วลีของ “ออร์ลันโด ออกซ์ฟอร์ด” ตอนที่ 3 ในช่วงท้ายๆของซีรี่ส์นี้ว่า.. “การวัดว่าใครยิ่งใหญ่ไม่ได้วัดกันที่ศีลธรรม หรือการที่ชาติหนึ่งชาติใดจะเป็นมหาอำนาจของโลก ไม่ได้ดูจากการที่คนในประเทศนั้นทำความดีมากที่สุด แต่วัดกันที่ความเก่งและใครเหี้ยมกว่ากัน “..
ไม่ได้บอกว่านี่คือ สิ่งที่ถูกต้อง แต่เราต้องคิดใหม่ เราจะไปคิดทฤษฎีคนดี มันก็ไม่ใช่ จะเป็นมหาอำนาจได้ต้องเก่งและเหี้ยม ต้องผลประโยชน์นำเสมอ และเธอก็คือ ”หญิงเหล็ก“ (Iron lady) แต่เธอเป็นคนมีมุกตลก วันที่เธอไปเปิดตัวรูปปั้นตัวเองทเวสต์มินสเตอร์ รูปปั้นนั้นไม่ได้ทำด้วยเหล็ก เพราะไม่มีใครทำรูปปั้นด้วยเหล็ก เธอบอกว่า
I might have preferred iron, but bronze will do. It won't rust… ฉันอาจจะชอบเหล็กมากกว่า แต่ทองสัมฤทธิ์ก็ดีอยู่ มันจะไม่เป็นสนิม
มาร์กาเรต แทตเชอร์
คือเธอเป็นคนแบบมีมุก แต่ว่าเธอเป็นคนเข้มตลอดเวลาที่ครองอำนาจ 11 ปี จนคนในพรรคเธอนั้นอึดอัดมาก แต่คะแนนนิยมเธอก็สูงลิ่ว และฟางเส้นสุดท้ายก็คือ เธอคิดขึ้นมาว่า เราอยากจะให้ประเทศเราทุกคนกระตือรือร้นและแข็งแกร่ง คนที่มีรายได้น้อยอาจจะต้องถีบตัวเองขึ้นมา อารมณ์เหมือน..“ ท่านทั้งหลายสลบไสลกันมานานแล้ว คนอังกฤษต้องกระฉับกระเฉงขึ้นมา ” และวิธีกระตุ้นคืออะไร???.. “เก็บภาษี“ เยอะๆไงล่ะ (ห่ะ.. ขนาดผมหาข้อมูลมาถึงตรงนี้..ก็ยังต้องร้องแบบนี้ล่ะ !!!! )
2
ภาพในงานเปิดตัวรูปปั้นทองแดงของเธอในรัฐสภา
เพราะฉะนั้น คนอังกฤษที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็เสียกันไป แต่ว่าจะมีภาษีบำรุงท้องที่เพิ่มขึ้นมาอีกส่วนนึง ปัจจุบันใครไปอังกฤษเขาเรียกว่า “เคาน์ซิล แท็กซ์“ (Council Tax) และ ” มาร์กาเรต แทตเชอร์ “ ก็บอกว่า เราเปลี่ยนแล้ว จะเปลี่ยนภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีใหม่ที่ชื่อว่า “โพล แท็กซ์ ”(Poll Tax) มีหลักการที่ฟังดูดี แต่น่ากลัวมากคือ “ใช้หลักความเท่าเทียมกันอย่างที่สุด” นั่นคือ.. “พลเมืองอังกฤษทุกคนต้องจ่ายภาษีเรทเดียวกัน”
ไม่ว่าจะรวย หรือจน แล้วแต่เขตเมือง เช่น อยู่ลอนดอนก็เยอะหน่อยจ่าย 500 ปอนด์ ต่อคน ไม่ว่าท่านจะมีรายได้เท่าไหร่? ก็คือทุกปีต้องจ่ายแน่นอน เป็นเลขกลมๆเท่าๆกัน สมมุติว่า ผมอยู่ชานเมืองห้องเล็กๆ กับอีกคนที่อยู่แบบคฤหาสน์ที่ใหญ่โต อยู่ใจกลางลอนดอน ก็คือ 1 คนเท่ากันสำหรับคนรวยนี้ 500 ปอนด์สบายมาก ก็คือความเท่าเทียมกัน
“มาร์กาเรต แทตเชอร์” ประกาศกฎหมายออกมาตอนปี 90 คนอังกฤษด่าเธอเละ และถึงแม้ว่า 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้น เธอจะเป็น”ฮีโร่“ ที่พาอังกฤษกลับขึ้นมาในเวทีโลกอีกครั้งหนึ่งก็ตาม ในเวลานั้นเราลองดู
ถ้าเกิดว่า..ตั้งแต่ยุค ”เคลเมนต์ ริชาร์ด แอตต์ลี่ “(Clement Richard Attlee) แทบไม่เห็นเลยว่า จะไปยืนประกบคู่กับ “ทรูแมน ไอเซน ฮาว เวอร์” คือ ไม่ได้ยืนคู่อยู่กับผู้นำโลกในยุคนั้น แต่เราจะเห็นกันบ่อยมากคือ “โรนัลด์ เรแกน” ประธานาธิบดีสหรัฐ ยืนคู่อยู่กับ “มาร์กาเรต แทตเชอร์” เพื่อให้คนทั่วโลกรู้ว่าเขาคือ “ผู้นำโลก”
เซอร์จอห์น เมเจอร์ ( Sir John Major)
แต่พอคนอังกฤษไปเจอ“โพล แท็กซ์” ผู้คนนัดรวมตัวกันประท้วงเละเทะ บางคนมาจากพื้นที่ห่างไกลต้องจ่าย 394 ปอนด์ มีเมีย 1 ลูก 2 คน รวมกันแล้ว = 1,600 ปอนด์ เป็นราคาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ซึ่งเยอะมากในสมัยนั้น ในที่สุดก็เกิดการรัฐประหารในพรรคการเมืองขึ้น ทำให้เธอทนแรงกดดันภายในพรรคไม่ไหว เธอจึงขอ “ลาออก“ ทั้งๆที่เธอเป็นผู้นำของพรรคที่อยู่นานถึง 11 ปี ต้องบอกว่า.. ” เธอได้ฝากผลงานคือ..การนำพาอังกฤษกลับสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง
ที่สุดโพล แท็กซ์ (Poll Tax) สามารถบังคับใช้ได้ แต่ได้แค่ประมาณครึ่งปี ก็โดนเปลี่ยนกลับไปใช้ระบบเดิมคือ ”เคาน์ซิล แท็กซ์ ” (Council Tax) สำหรับคนใหม่ที่มาดำรงตำแหน่งแทนที่เธอนั้น มีชื่อว่า “จอห์น เมเจอร์ ”(John Major) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1991 ผมขอย้อนพากลับไปยุคสมัยของ “นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ ” หน่อยครับ สิ่งหนึ่งที่เธอคัดค้านมาโดยตลอด แต่เธอไม่กล้าปฎิเสธเยอะ คือ “การที่อังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปและใช้เงินสกุลยูโร”
เธอบอกว่า.. ”เงินปอนด์สเตอร์ลิง“ ควรเป็นสกุลเงินที่เป็นอิสระ เพราะเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ก็ตามสไตล์ขวาจัดของเธอ แต่ว่า “จอห์น เมเจอร์” ซึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อจากเธอ กลับคิดอยากจะเอาเงินเข้าไปอยู่ในสหภาพยุโรป และเข้าไปใช้เงินยูโรด้วยเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เศรษฐกิจของอังกฤษ โดนแซงหน้าไปหมด แล้วเงินอังกฤษจะสามารถไปอยู่ในสหภาพยุโรป ได้ไหม??? โปรดติดตามตอนหน้าครับ
1
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 8 หญิงเหล็ก มาร์กาเรต แทตเชอร์
โฆษณา