Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2024 เวลา 01:00 • ประวัติศาสตร์
อังกฤษ
จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง ตอนที่ 7 ความยิ่งใหญ่รูปแบบใหม่
อุตสาหกรรมที่เคยสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับอังกฤษมาแล้ว นั่นก็คือ “อุตสาหกรรมการเงิน” ซึ่งด้วยตัวมันเอง ก็สามารถต่อยอดไปได้หลายทิศทาง ต้องบอกแบบนี้ ขอย้อนกลับไป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ยังไม่ยกพลขึ้นบกที่“นอร์มังดี” ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะ ฝั่งสัมพันธมิตร ใน ปี ค.ศ.1944
หลังจากนั้นไม่ถึง 1 เดือน สหรัฐอเมริกาได้จัดประชุม ผู้ว่าการธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลังของประเทศที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ มีจำนวน 44 ชาติ ณ เมืองเบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชอร์ นับแต่นี้ให้เงินของดอลลาร์สหรัฐฯใหญ่ที่สุด ประกาศกันดื้อๆเลย
เพราะมีเขาถึงชนะสงครามได้ ถ้าประเทศอื่นไม่มีเราก็แพ้สงคราม ต้องโดนนาซีเขมือบแน่ อังกฤษเองก็ต้องยอมตรึงค่าเงินกับดอลลาร์ เพราะสหรัฐฯ ประกาศว่า.. “ผมมีทองคำมากที่สุดในโลก 8,000 ตัน” และต้องใช้ค่าเงินดอลลาร์นี้เอาไหม?? แน่นอน..ทุกคนต้องเอา
ภาพเหตุการณ์ Bretton Woods System ที่ เมืองเบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชอร์
ถึงแม้ว่า.. ทุกคนที่อยู่ในการประชุมนั้น ก็ไม่เคยมีใครเห็นทองคำจำนวนนั้น ตราบจนทุกวันนี้ ทองคำ 1 ออนซ์ ประมาณเกือบ 2 บาท ต่อ 35 ดอลลาร์ จากนั้นก็จะกระจายค่าเงินสกุลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มาร์ค เยน ปอนด์ ฟรังซก์ฝรั่งเศส ก็ต้องมาตรึงกับดอลลาร์ อังกฤษเองแต่ก่อนเงินปอนด์อังกฤษใหญ่ที่สุดในโลก ตอนนี้ไม่เหลือความยิ่งใหญ่แล้ว ประเทศอื่นๆเขาก็ไปตรึงกับดอลลาร์กันหมดละ
อังกฤษก็ปรับแผนใหม่..ไม่เป็นไร เราจะเอาลอนดอนของเรานี่แหละ เป็นศูนย์กลางทางการเงินในยุโรป และมีสิ่งที่เรียกว่า “ยูโรดอลลาร์ไฟแนนเชียล” (Euro Dollar Financial) คือ“ ถ้าคุณจะเทรดเงินในยุโรป คุณมาเทรดเป็นปอนด์ หรือเป็นดอลลาร์กับเราก็ได้ กฎกติกาต่างๆ เราจะทำให้ง่ายที่สุด เพื่อคุณเอาเงินของคุณมาฝากไว้ และลงทุนกับวาณิชธนกิจของเรา”
ไม่ได้แค่นั้น ถ้าเราพูดถึงประเทศเหล่านี้ Cayman Islands, British Virgin Islands, Guernsey , Bermuda , Antigua , Isle of Man , Jersey ซึ่งคนที่รู้เรื่องการเงินจะตอบว่า “ รู้จัก” ทันที เพราะพวกนี้มีอะไรเหมือนกัน คือ “เป็นสวรรค์ของการเลี่ยงภาษี” เลยทีเดียว แม้แต่เจอร์ซีย์ (Jersey) , ไอล์ออฟแมน (Isle of Man) เกาะที่อยู่กับอังกฤษ ในขณะที่แอนทีกาและบาร์บิวดา(Antigua and Barbuda), เกาะเคย์แมน(Cayman Islands), เกาะบริติชเวอร์จิน(British Virgin Islands) เป็น อาณานิคมเก่าทั้งหมดเลย
ภาพเส้นทางการค้าขายของ British Trade Routes ค.ศ. 1750-1800
ส่วนฮ่องกง และสิงคโปร์ก็ร่วมอยู่ในเครือข่ายนี่ ทั้งหมดก็เป็นเรื่องการเงินหมด ประมาณว่า.. ท่านเอาเงินมาลงทุนกับเราแล้ว ท่านมีบริษัทอยู่ในกลุ่มประเทศพวกนี้ มันเป็นรายรับที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ เราเก็บค่าธรรมเนียมแค่ี้นิดเดียว เงินก็เข้าบัญชีแล้ว ลอนดอนจึงกลายเป็นเมืองที่มีจำนวนธนาคาร นานาชาติ จำนวนเยอะมากกว่านิวยอร์ก
เป็นเมืองที่มีแฟมิลี่ออฟฟิศ เช่น สมมติเป็นเศรษฐีร่ำรวยตระกูลใหญ่สักหนึ่งตระกูล เราอยากมีเงินแล้วแบบบริหารเงินของเราไปทั่วโลก เราก็ไปตั้งออฟฟิศอยู่ที่ลอนดอน ให้ลอนดอนเป็นฐานของแฟมิลี่ออฟฟิศที่ใหญ่ที่สุด ได้ยกเว้นภาษี ได้อะไรต่างๆ สิทธิทางการเงินเพียบเลย
เพราะฉะนั้นเงินทั่วโลกจะไปไหนล่ะ ก็ไปอยู่ที่ลอนดอน ไม่ต้องผลิตสินค้าอะไรเลย ก็ในเมื่ออังกฤษมีความแข็งแกร่งตรงนี้ ผมเทรดกับบริติชเอ็มไพร์ทั่วโลก เซี่ยงไฮ้ก็อยู่ในเส้นทางการค้าขาย(trade route)ของผม โตเกียวก็มี แอฟริกาก็อยู่ ทั่วโลกเทรดกับอังกฤษ
“จอมห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ”(John Maynard Keynes)
แล้วทำไมเราไม่ใช้จุดแข็งนี้ การที่เราเป็นเซ็นเตอร์อยู่แล้ว คุณก็โอนเงินเหมือนเดิม ไม่ว่าคุณจะโอนเป็นดอลลาร์เป็นปอนด์ เราทำได้หมด ขอเล่านิดนึง ตอนที่รัสเซียเปิดเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียตเป็นรัสเซีย และมีเศรษฐกิจเสรี คนรัสเซียที่เป็นโอลิการ์ค(คนรวย)เอาเงินไปไว้ไหน ก็ต้องลอนดอน
ที่ไหนที่มีโอกาสในการบริหารเงินลงทุน อังกฤษก็ไขว่คว้าไว้ ก็เลยกลายเป็นจุดที่ได้เปรียบมากๆเลย ขอแค่ว่าเงินเข้าไปก่อน ที่สุดทุกอย่างมันก็เติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง
ซึ่งถ้าเราไปอังกฤษตอนนี้ก็จะเห็นคนต่างชาติ ที่ไม่ใช้คนอังกฤษเป็นจำนวนมาก หลักการเอาไว้ทีหลังก่อน สาเหตุเพราะ สมมติว่าเศรษฐี อยากจะไปซื้อบ้านที่ต่างประเทศนึกถึงที่ไหน ส่วนใหญ่ก็ลอนดอน อังกฤษ ถ้าหากว่าอันนี้กฎหมายเรื่องเกี่ยวกับวีซ่า ถ้าหากว่าใครก็ตาม เอาเงินไปลงทุนในอังกฤษ 2 ล้านปอนด์เป็นเวลา 10 ปี ท่านจะได้เรสซิเดนซ์(Residence) ถ้าท่านเอาไป 3 ล้านปอนด์ถ้าลง 5 ปี ท่านจะได้เรสซิเดนซ์
”มาร์กาเรต แทตเชอร์” (Margaret Hilda Thatcher)
ไม่ใช่ประชากร แต่ท่านจะอยู่ที่อังกฤษได้ ซึ่งวิธีของอังกฤษคือ หลักการวิธีหลังตราบเท่าที่มี เงินไหลเข้ามาและมีความมั่นคงปลอดภัยกับพลเมืองเท่านั้นก่อน นี้คือบริติช เซคเคิน เอ็มไพร์ เงินยังคงไหลเวียนที่ลอนดอนมหาศาลแล้วก็กลายเป็นสิ่งที่อุ้มชูเศรษฐกิจของอังกฤษให้กลับมาเฟื้องฟูได้
นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในมุมของเซ็กเตอร์เศรษฐกิจการเงิน ขอย้อนกลับไปที่การเลือกตั้งครั้งใหม่ของอังกฤษในปี ค.ศ.1979 เมื่อ ”มาร์กาเรต แทตเชอร์” (Margaret Hilda Thatcher) ได้รับการเลือกตั้ง สำหรับนโยบายของเธอ แบบ“จอมห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ”(John Maynard Keynes) คือให้รัฐกระตุ้นเศรษฐี ยังไม่ใช่คำตอบ ก่อนอื่นเลยศัตรูหมายเลข 1 ของอังกฤษ ณ เวลานั้นคือ “เงินเฟ้อ“ ขึ้นภาษีจาก 10% เป็น 15% คนก็ตกงานทันที
มีคนตกงานประมาณ 1.7 ล้านคน คือ เศรษฐกิจก็ย่ำแย่ แต่ขึ้นภาษีเฉยเลย เหมือนเราซื้อน้ำขวดนึงจากเดิม 10 บาท ขึ้นมาเลยเป็น 15 บาท คือไม่ได้บอกว่า..”ดีหรือไม่ดี“ แต่ในเวลานั้นเธอมองว่า.. ทุกอย่างดีหมดเลย แต่เงินเฟ้อแบบนั้นข้าวของแพงขึ้น แล้วคุณจะให้สหภาพแรงงานที่ไม่ได้สร้างผลกำไร แล้วก็ยังใช้เงินสวัสดิการเยอะอย่างนั้น แบบนี้มันทำให้คนขี้เกียจ มีเงินดูแลแต่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐวิสาหกิจขาดทุนย่อยยับเลย
เธอโดนต่อต้านเยอะแน่นอน แต่เธอก็ไม่ฟัง ดูความหนักแน่นของเธอซิ กลับประกาศแผนที่ไม่มีใครคาดคิด.. “ สิ่งที่เคยเป็นของรัฐ เราจะขายเอาออกไปให้หมด” จากตอนแรกเอาเข้ามาเป็นของรัฐ ในรูปของรัฐวิสาหกิจ แต่คราวนี้แปรรูปจากรัฐวิสาหกิจ เอาออกไปให้เอกชน เพราะเอกชนหลายคนบอกว่า.. “สามารถทำได้ดีกว่ารัฐบาล พวกผมทำเก่งกว่ารัฐเยอะ”
ภาพเหตุการณ์ การประกาศสงครามกับสหภาพแรงงาน
นโยบายของ “มาร์กาเรต แทตเชอร์” คือ เราจะขึ้นภาษี จะคุยกับธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ให้ขึ้นดอกเบี้ย เราจะลดการใช้จ่ายภาครัฐ ผลที่เกิดขึ้นคือ คนประท้วง คนรวมตัวกันมาก บ่น และด่า “มาร์กาเรต แทตเชอร์” เธอก็แก้ปัญหาด้วยการ“ประกาศสงครามกับสหภาพแรงงาน” ประกาศสงครามเลย ขอใช้คำนี้
เหตุการณ์ที่เห็นทั่วไป ณ ขณะนั้นคือ ตำรวจขี่ม้าเอากระบองฟาดหัว อันนี้เรื่องปกติมากสำหรับเธอ ขนาดนั้นแล้วในที่สุด ปี ค.ศ.1981 ปีนั้นพีคจัดๆ การว่างงานของคนอังกฤษในยุค “แทตเชอร์” อยู่ที่ 2.5 ล้านคน และหลังจากฉลองคริสต์มาสเพิ่มเป็น 3 ล้านคน ปีก่อนนั้นมีคนถามเธอในที่ประชุมของ “พรรคคอนเซอร์เวทีฟ” เพื่อให้เปลี่ยนนโยบาลของรัฐบาล และคำตอบของเธอก็กลายเป็นวลีลั่นบันลือโลกที่สุด
“You turn if you want to. The lady's not for turning.” คุณจะเปลี่ยนนโยบายก็เรื่องของคุณ.. แต่สุภาพสตรีอย่างฉันไม่กลับลำแน่นอน“
มาร์กาเรต แทตเชอร์
สมกับ”ฉายาหญิงเหล็ก“ จริงๆ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน.. สิ่งที่เธอทำมันออกดอกออกผล แต่ต้องยอมรับว่า ”เธอกล้าหาญมาก คือถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ” ขอบอกว่า.. คนอังกฤษคิดถึงรูปแบบของ “พรรคแรงงาน” (Labour Party)ไปแล้ว และไม่ได้บอกว่า เลเบอร์ผิด แต่ในจังหวะเวลานั้น คนอังกฤษเองอาจจะต้องการรูปแบบเดิมๆ เพราะอยู่กันมานานแล้ว
ภาพในที่ประชุมของ “พรรคคอนเซอร์เวทีฟ” ของ มาร์กาเรต แทตเชอร์ แล้วตอบด้วยวลีลั่นบันลือโลก
แต่ว่า “มาร์กาเรต แทตเชอร์” บอกว่า.. อังกฤษจะกลับไปยิ่งใหญ่ ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะยิ่งใหญ่เท่ากับอเมริกาแล้ว เพราะพังไปเยอะมากจากสงครามโลก“ แต่อย่างน้อยที่สุด ทำไมวันหนึ่ง เยอรมันกลับข้ามหัวเราไป ฝรั่งเศสก็ข้ามหัวไปอีก หรือแม้แต่ญี่ปุ่นที่ทิ้งห่างจนกระทั่งไม่เห็นฝุ่น..ก็ยังข้ามหัวเราไปได้ แล้วอังกฤษล่ะ!! อยู่ตรงไหนกัน??? จังหวะนั้นคะแนนนิยมของเธอต่ำเตี้ยเรี่ยราด ขนาดพรรคคอนเซอร์เวทีฟก็พยายามเลื่อยขาเก้าอี้เธออย่างที่สุด
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ในปี ค.ศ.1982 ผมขอพาย้ายประเทศไปอาร์เจนตินาก่อนนะครับ “จอมพล เลโอโปลโด กัลติเอริ “ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีจอมเผด็จการของอาร์เจนติน่า และเอาประชาชนไม่อยู่ในมือแล้ว เดินเกม ”เราต้องดึงความสนใจของประชาชนจากการเมืองภายในประเทศไปสู่การเมืองระหว่างประเทศ” เลยส่งทหารอาร์เจนตินา หนึ่งกองร้อยไปยังหมู่เกาะที่มีชื่อว่า “เกาะฟอล์กแลนด์” ซึ่งเกาะนี้เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในวันที่ 2 เมษายน ในปี ค.ศ. 1982
1
แผนที่สรุปการยึดหมู่เกาะคืนของอังกฤษ
บุกขึ้นไปดื้อๆ ไล่ทหารอังกฤษ ออกจากเกาะ อังกฤษทำไงได้ มีทหารอยู่นิดเดียวแบบหนึ่งกองร้อย และทั้งเกาะก็มีตู้โทรศัพท์อังกฤษอยุ่อันเดียว แต่อยู่ๆ ก็ปรากฏทหารอาร์เจนตินาขึ้นไป แล้วประกาศ “เกาะนี้เป็นของเรา” ซึ่งเกาะนั้นก็ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
นอกจากคนอังกฤษที่อาศัยอยู่และผ่านสงครามมาประมาณกว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งทางรัฐบาลอังกฤษก็คุยไป คุยมาทั้งหมดบอกว่า.. “ไม่เอาสงคราม” แล้วคิดว่า.. ผู้หญิงอย่าง“มาร์กาเร็ต แทตเชอร์” เธอจะพูดว่าอะไร ?? “ เราจะรบ และเอาให้ชนะมันด้วย” สรุปคือ.. จะเอาสงคราม คนอังกฤษที่ตอนนั้นไม่ไหวแล้ว ไม่อยากได้สงคราม
ณ เวลานั้น “มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ” คิดว่า ต้องเอาสงคราม อาจเข้าใจว่า.. เป็นช่วงเวลาแห่งการกอบโกยคะแนนนิยมก็ไม่แน่ใจ และคนอังกฤษต้องนึกในใจว่า.. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษไม่ได้ยิ่งใหญ่อีกต่อไปแล้ว ส่วน “มาร์กาเร็ต แทตเชอร์” ด้วยความที่เธอเป็นคนนิสัยแบบนั้น เธอก็พูดว่า “เราต้องไปสงคราม” ท้ายที่สุด “หญิงเหล็กแห่งอังกฤษ” จะสามารถนำชัยชนะ และความยิ่งใหญ่กลับมาสู่อังกฤษได้หรือไม่?? ติดตามตอนต่อไปครับ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 7 ความยิ่งใหญ่รูปแบบใหม่
https://shorturl.asia/vhT3U
https://shorturl.asia/Jf0b5
https://shorturl.asia/cZw3p
https://shorturl.asia/N5ilP
https://shorturl.asia/LKgvA
https://shorturl.asia/NlvR0
https://shorturl.asia/Pc7eY
https://shorturl.asia/oHSkA
https://shorturl.asia/pabJU
เรื่องเล่า
การเมือง
ประวัติศาสตร์
บันทึก
4
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง
4
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย