Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
4 ก.ค. เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
อังกฤษ
จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง ตอนที่ 6 ถูกโลกทอดทิ้ง
การปลดปล่อยอาณานิคมทีละน้อยด้วยความจำเป็นในปี ค.ศ. 1947 นั้นที่แรกๆ ก็คืออินเดีย ทางด้านของ “เคลเมนต์ แอตต์ลี่” ก็ได้ส่งอดีตผู้บัญชาการกองทัพผสมสัมพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “ลอร์ดเมาท์แบตเทน“ ซึ่งเป็นพระญาติของราชวงศ์วินด์เซอร์ เดินทางไปเป็นอุปราชแห่งอินเดีย ทำหน้าที่ในการปลดปล่อยอินเดียจากจักรวรรดิอังกฤษ
แน่นอนว่า อินเดียคงไม่เล่าเยอะ แต่ว่าอินเดียจะมีปัญหาคือ พลเมืองฮินดู แล้วก็พลเมืองมุสลิมทะเลาะกันในพื้นที่ใกล้ๆกับตะวันตกเฉียงเหนือแล้วก็จะมีชาวซิกข์อยู่ที่เมืองลาฮอร์ ก็เลยต้องส่งบุคคลที่มีชื่อว่า “ไซริล แรดคลิฟฟ์” (Cyril Radcliff) เข้าไปแบ่งแผนที่ที่อินเดียกับปากีสถานเพราะฉะนั้นอินเดียตกเป็น (British Raj) เมืองขึ้นของอังกฤษ แต่เวลาที่ปลดปล่อยเอกราช ต้องแบ่งให้เป็น 2 ประเทศ
ไซริล แรดคลิฟฟ์ (Cyril Radcliff)
ปากีสถานรับเอกราช สาเหตุเพราะว่า กลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของอินเดียมีอยู่ 2 ส่วน ส่วนที่เป็นฮินดูก็คือ “มหาตมะ คานธี”ท่านหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ที่เราได้ยินคือ ”ยาวาฮาร์ลาล เนห์รูู“ ที่มีชื่อย่อว่า”บัณฑิตหรือว่าพันฑิต“ พวกนี้ก็เน้นย้ำว่าเราต้องเป็นประเทศเดียวเป็นพราหมณ์ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ “มูลฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ” (muhammad ali jinnah) ผู้นำของชาวมุสลิม พูดว่า คนมุสลิมในอินเดียต้องมีประเทศเอกราช ที่สุดก็ได้นำมาซึ่งการแบ่งประเทศ
แต่อังกฤษจำเป็นต้องมีการคายอินเดียออกมา ส่วนที่ทำให้เกิดรวยที่สุดคือ บริติชราช ไปแล้ว ไปดูส่วนอื่นสั้นๆกันบ้าง อังกฤษนี่คุ้มครองสุเอซ เพราะอะไร อียิปต์เป็น British protectorate เพราะอียิปต์ไม่ใช่เมืองขึ้น แต่เป็นรัฐภายใต้การดูแลของอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อียิปต์หลุดจากจักรวรรดิออตโตมันมา ก็ได้อังกฤษเข้ามาดูแล มีราชวงศ์ที่ชื่อว่า “มูฮัมหมัด อาลี” ปกครองภายใต้อิทธิพลของอังกฤษมา
กามาล นัสเซอร์ และ พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ ตามลำดับ
จบสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษพยายามเข้าไปมีอิทธิพล แต่ในท้ายที่สุดนักการทหารของอียิปต์คือ “กามาล นัสเซอร์” เข้ามาทำรัฐประหาร “กษัตริย์ฟารุ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย”ของอียิปต์ ทำให้อียิปต์กลายเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์แบบจากบริติชเอ็มไพร์ แอฟริกาใต้อังกฤษปลดปล่อยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเส้นทางการค้าต่างๆอังกฤษรักษาไว้ไม่ได้ จากนั้นเป็น มลายู พม่า ค่อยๆปลดปล่อยไปทีละน้อย
อังกฤษก็เลยต้องแตก เพราะฉะนั้นจะใช้โมเดลบริติชเอ็มไพร์แบบเดิมไม่ได้ ณ เวลานั้น คนอังกฤษก็ยอมรับแล้วว่า.. เราไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก และการโหวตเลือก “เคลเมนต์ แอตต์ลี่”เป็นการให้ฉันทานุมัติว่า เราจะต้องไม่รักษาบริติชเอ็มไพร์แล้ว เราหันมาโฟกัสธุรกิจภายในประเทศกันดีกว่า
ทุกกิจการซึ่งแต่เดิมเป็นของเอกชน ยกตัวอย่าง ธนาคารกลางอังกฤษ เมื่อก่อนเป็นเอกชนถูกนำมาเป็นของรัฐ อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด 2 อุตสาหกรรมเหล็ก ถ่านหิน และแก๊ส กลายเป็นของรัฐทั้งหมด รัฐเข้าไปใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อที่จะให้คนมีงานทำและมีสวัสดิการกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบ ”สหภาพแรงงาน“ เริ่มต้นที่นี่ และนี่คือสาเหตุที่ว่า..หลังจากนั้นอังกฤษก็เลยมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ
แผนที่ของอินเดียใน ค.ศ. 1909 โดยสีชมพูแสดงถึงอินเดียของบริเตนในทั้งสองระดับสี และสีเหลืองแสดงถึงรัฐของเหล่ามหาราชา
คือในบริบทเชิงเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของคนมันดีขึ้น และต้องบอกว่า.. รัฐเข้ามาช่วยอุ้ม แล้วก็ช่วยสร้างงานต่างๆให้มันเกิดขึ้นด้วย หลังจากอยู่มาได้ 4 ปีกว่าๆ ครบกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เอาเป็นว่าคนอังกฤษพลิกอีกแล้ว กลายเป็น“ วินสตัน เชอร์ชิล” ได้กลับมาในปี ค.ศ.1951 และก็ในปี ค.ศ.1952 นี่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ “เป็นปีแห่งการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ” และพระองค์ทรงเป็นพระชนกหรือว่าเป็นพระบิดาของ“พระราชินีเอลิซาเบธที่ 2“ เจ้าหญิงเอลิซาเบธก็เลยทรงครองราชย์กลายเป็นพระประมุขของสหราชอาณาจักร
พระองค์ทรงมีนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด 15 คนนั้น ได้แก่ ”วินสตัน เชอร์ชิล“ ต่อมา ”แอนโทนี อีเดน“(Anthony Eden) , ”มอริซ ฮาโรลด์ แมคมิลแลน“(Maurice Harold Macmillan) และก็ ”อเล็กซานเดอร์ เฟรเดอริก ดักลัส-ฮิวม์“(Alexander Frederick Douglas-Home) ฯลฯ.
ซึ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าใครที่ศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษหรือแม้กระทั่งประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอังกฤษ จะพบว่าช่วงนั้น”เคลเมนต์ แอตต์ลี่“ ได้ทำอะไรบ้าง?? แต่ถ้าเกิดว่าลงไปดูในยุค 13 ปี ซึ่งเลเบอร์เขาเรียกแบบกวนๆประสาทว่า.. ” 13 ปีที่หายไป “ บทบาทในเวทีการเมืองโลกกลับไปเหมือนเดิม สวัสดิการที่ให้ไว้กับพวกแรงงานยังคงเหมือนเดิม ซึ่งรัฐบาลก็ใช้เงินค่อนข้างเยอะไปกับพวกสวัสดิการเหล่านี้
วินสตัน เชอร์ชิล ต่อมา แอนโทนี อีเดน (Anthony Eden) มอริซ ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Maurice Harold Macmillan) และก็ อเล็กซานเดอร์ เฟรเดอริก ดักลัส-ฮิวม์ (Alexander Frederick Douglas-Home) ตามลำดับ
มาถึงยุค ”เชอร์ชิล“ เราก็จะเห็นความพยายามของเขา ในการที่จะดึงเอาบริษัทพลังงานของตัวเองที่อยู่ในอิหร่าน “The Anglo-Iranian Oil Company ” กลับคืนมา และในช่วงเวลานั้นทางนายกรัฐมนตรีอิหร่านชื่อ “มูฮัมหมัด มูซัดเดก” ก็มีความพยายามในการดึงบริษัทพลังงานซึ่งตัวเองต้องเสียเงินให้กับอังกฤษเป็นจำนวนมากกลับคืนมา ซึ่งทำให้“วินสตัน เชอร์ชิล”ไม่พอใจ
“วินสตัน เชอร์ชิล” ได้ติดต่อไปที่ “จอมพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์” (อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 34) ให้ช่วยทำการรัฐประหารที่อิหร่าน แล้วขอบริษัทพลังงานกลับคืนมา โดยจะใช้ CIA ปลูกปั่นรัฐประหาร “มูฮัมหมัด มูซัดเดก” ที่สุดแล้วก็สามารถผลักดันให้ ”พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี“ ขึ้นมาครองราชย์ได้ในภายหลัง เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า.. ในช่วงเวลานั้น อังกฤษ เชอร์ชิล, อีเดน, แมคมิลแลน
พูดถึงเรื่องของการเมืองต่างประเทศแทบทั้งนั้น เช่น วิกฤตการณ์คลองสุเอซ อีเดนก็จำเป็นต้องส่งทหารไป หรือแม้แต่ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง จะเป็นเรื่องที่พรรคอนุรักษ์นิยม (conservative) ให้ความสนใจมากๆ เพราะเขาต้องการที่จะมีบทบาทในเวทีโลก
จอมพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ ( Dwight David "Ike" Eisenhower )และ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ตามลำดับ
ตลอดรัฐบาลของ เชอร์ชิล, อีเดน, แมคมิลแลนี การเมืองของอังกฤษก็จะสวิงไปมา จนกระทั่งที่สุด 13 ปี ผลการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1964 มีนายกรัฐมนตรีที่มีคนบอกว่า.. ”คนนี้ซ้ายยิ่งกว่า เคลเมนต์ แอตต์ลี่์“ ท่านก็จะสูบไปตลอดเวลาเป็นชนชั้นกรรมาชีพเกิดในตระกูลคนชั้นกลาง และจบที่เคมบริดจ์คือ “เจมส์ ฮาโรลด์ วิลสัน” (James Harold Wilson) พอท่านเข้ามาก็เริ่มกลับมาสวิงจากการเมืองระหว่างประเทศ กลับมาที่อังกฤษเอง ค.ศ.1964 ด้วยการที่จะเพิ่มบทบาทของสหภาพแรงงาน
หนึ่งสิ่งที่ท่านทำ เรียกว่า” จีโรแบงก์ “(Girobank) คือการใช้สำนักงานไปรษณีย์เป็นที่ทำธุรกรรม อารมณ์ก็จะประมาณเหมือนเราไปซื้อธนาณัติที่ไปรษณีย์ (ถ้ารู้จักธนาณัติ อายุต้องไม่ธรรมดาล่ะ!!!) เป็นลักษณะแบบนั้น แต่ของเขาเนี่ยอยากจะทำให้เป็นธนาคาร เป็นสาขาธนาคาร ถามว่า.. ทำไม?? มันฟังแล้วมันตลกเพราะว่า คนอังกฤษที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพ ที่สัปดาห์หนึ่ง มีรายได้ประมาณไม่ถึง 100 ปอนด์ ธนาคารทั่วไปในอังกฤษก็บอกว่า ไม่รับเปิดบัญชี ต้องเป็นวาณิชธนกิจต้องมีเงินเป็นร้อยเป็นพันปอนด์ในเวลานั้น
เพราะฉะนั้น ธนาคารส่วนใหญ่ก็เล่นอยู่กับคนที่เป็นชนชั้นกลาง ส่วนคนกรรมาชีพจำนวนมากของอังกฤกไม่มีสิทธิ์เข้าถึง ต้องใช้เงินสด เพราะฉะนั้นในช่วงเวลานี้ ”ฮาโรลด์ วิลสัน “ ก็บอกให้ทำ ”จีโรแบงก์”ขึ้นมา จีโรแบงก์ก็เลยกลายเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกรรมรับฝาก~ถอนซื้อ~ขายธนาณัติ รับแลกเงินเรียกว่า “เป็นธนาคารเพื่อคนจน”
ราคาน้ำมันที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ
“ฮาโรลด์ วิลสัน” อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี ก็ยังไม่บอกว่า.. เศรษฐกิจอังกฤษเป็นยังไง?? คนต่อไปที่จะได้เป็นนายกก็จะมาจาก “พรรคคอนเซอร์เวทิฟ”อีกครั้งหนึ่ง อันนี้เป็น“เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ ”(Edward Richard George Heath) เป็นนายกช่วงที่ซวยที่สุดก็ว่าได้ เพราะว่าในช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์วิกฤตน้ำมัน(Oil Shock) ในปี ค.ศ.1973 กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันของโลกก็คือ “โอเปก” ประกาศลดกำลังการผลิตจากเหตุของความขัดแย้งเกิด“สงครามยมคิปปูร์”
ซึ่งเกิดขึ้นในปาเลสไตน์ อิสราเอล แล้วก็สันนิบาตอาหรับ ราคาน้ำมันก็เรียกว่า พุ่งยังกับจรวดจาก $2.54 ต่อบาร์เรล ขยับขึ้นเป็น $12 บาร์เรลคือประมาณ 4 เท่ากว่า ภายในเวลาแค่ 12 เดือน ลองคิดดูแล้วกันว่า อังกฤษเองนำเข้าพลังงานจำนวนมากมายมหาศาลเกิดอะไรขึ้น เงินเฟ้อมหาศาล เงินเฟ้อสูงสุดในสมัยของ“จอร์จ ฮีธ”ถึง 25% ต่อปี
บวกกับค่าแรงของคนที่อยู่ในรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจอังกฤษจะเป็นไง? เรียกได้ว่า.. “พังเละเทะ” วิธีการแก้ปัญหาจริงๆ ก็ง่ายๆ เลย แต่ทำคนด่าทั้งประเทศ คือ “ขึ้นภาษี” ทำให้เสียความนิยม(ประเทศไทยยังคุยกันทุกปีเลย) ส่วน“เอ็ดเวิร์ด ฮีธ” ไม่กล้าทำคิดแล้ว..แต่ไม่กล้าทำ หรือลดการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งถ้าลดการใช้จ่ายภาครัฐจริง รัฐวิสาหกิจทำไง? ก็ไม่กล้าทำ ลดสิทธิประโยชน์ของบรรดาชนชั้นแรงงาน และเพิ่มขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ไม่กล้าทำอีก
เจมส์ ฮาโรลด์ วิลสัน บารอนวิลสันแห่งรีโว (James Harold Wilson) กับ เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ (Edward Richard George Heath)
คนก็เลยบอกว่า พยายามหลายอย่าง แต่มันเอาไม่อยู่ ก็เดินหน้าไปแล้ว ก็ต้องปล่อยไป ต่อมาในปี ค.ศ.1976 มีการเลือกตั้งใหม่ ”เจมส์ ฮาโรลด์ วิลสัน“ กลับมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ด้วยปัญหาทางสุขภาพอยู่ได้ 2 ปี ส่งต่อความเป็นผู้นำให้กับ ”เจมส์ คัลลาฮาน“ (Leonard James Callaghan)
อังกฤษในเวลานั้น ต้องบอกแบบนี้ว่า.. อยากให้ไปดูตัวเลขเงินเฟ้อสูงถึง 25% ในทศวรรษที่ 70 คือ”โหดมาก“ คนตกงานกันเท่าไหร่?? (รูปที่ปกเป็นเหตุการณ์นัดหยุดงานประท้วง) หนึ่งล้านห้าแสนคน เศรษฐกิจอังกฤษโตไป ปีหนึ่ง 4% ถึง 5% ฟังแล้วเหมือนดี แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอื่นเขาโตกัน 8% 10% ที่สุดในช่วงปี 50, 60,70 อังกฤษถูกแซงหน้า
โดยเยอรมันตะวันตก ญี่ปุ่นและเพื่อนใกล้ชิด ฝรั่งเศส ยังไม่ต้องพูดถึงอเมริกา คือทุกคนแซงอังกฤษไปหมดเลย แล้วทำยังไงดี ในปี ค.ศ.1976 เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี อารมณ์แบบเราลองมีนายกผู้หญิงกันหน่อยไหม?? เธอจบเคมีมา ผู้นำคอนเซอร์เวทีฟเวลานั้น เธออยู่ในอำนาจทั้งหมด 11 ปี เป็น 11 ปีที่เต็มไปด้วยความน่าสนใจ เต็มไปด้วยความขัดแย้งในสังคมอังกฤษ เดี๋ยวค่อยมาเล่า
เราไปดูว่าสภาพบริติชเอ็มไพร์เป็นยังไง อังกฤษในเวลานั้น ค่าเเรงสูงลิ่ว จะผลิตรถยนต์สักคันหนึ่ง สมมุติผลิตในเยอรมัน ผลิตในฝรั่งเศส กับผลิตในอังกฤษ ซึ่งต้นทุนคิดแพงที่สุด ค่าแรงงานเนี่ยแพงที่สุด เพราะฉะนั้นไม่มีใครอยากลงทุนในอังกฤษแล้ว งั้นอุตสาหกรรมอะไรดีล่ะ??ที่คิดว่า.. ทำให้อังกฤษยืนอยู่ได้ แล้วเราได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับมันมาแล้วในอดีต ติดตามตอนหน้าครับ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 6 ถูกโลกทอดทิ้ง
https://shorturl.asia/KP4qi
https://shorturl.asia/TjKF9
https://shorturl.asia/jQSvt
https://shorturl.asia/S8uFB
https://shorturl.asia/8wNJv
https://shorturl.asia/z0iAn
https://shorturl.asia/kRPuz
https://shorturl.asia/PjXIv
https://shorturl.asia/nEmCp
https://shorturl.asia/RLpDV
https://shorturl.asia/ikpwq
https://shorturl.asia/4MOSy
https://shorturl.asia/YOhbB
https://shorturl.asia/CcPJb
ประวัติศาสตร์
การเมือง
เรื่องเล่า
บันทึก
8
1
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง
8
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย