27 มิ.ย. เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์

จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง ตอนที่ 5 กำเนิดแนวคิดรัฐสวัสดิการ

สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งทำให้อังกฤษถังแตก หลายคนก็คงจะรู้ว่า.. เมื่อสงครามจบ “วินสตัน เชอร์ชิล” กลายเป็นวีรบุรุษสงคราม จากนั้นก็ข้ามไปเลย ไปรู้เรื่องราวของ “มาร์กาเรต แทตเชอร์”ซึ่งเป็นคนนำอังกฤษสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ประเด็นก็คือว่า.. แล้วช่วงเวลา 34 ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ.1945 จนถึงปีที่ “มาร์กาเรต แทตเชอร์ ”ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี ค.ศ. 1979 เวลา 34 ปีเนี่ย กลายเป็นหลุมดำ
คนจำนวนมากก็ไม่รู้ ตัวผมก็เพิ่งจะรู้ ต้องบอกว่า 34 ปีนั้นจะใช้คำว่า เหมือนสหราชอาณาจักรยืนอยู่ที่ทางแยก จะไปทางไหน เอายังไงต่อดี แน่นอนว่าไม่มีความเป็นมหาอำนาจ เพราะรัฐก็ไม่มีเงินเพียงพอในการรักษาบริติชเอ็มไพร์ ซึ่งก็เป็นจักรวรรดิที่มีขนาด 1 ใน 4 ของโลกเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลกอีกต่อไปแล้ว
1
วินสตัน เชอร์ชิล
แล้วเราจะเดินทางไปทางไหนดี 34 ปีแรกจะต้องใช้คำว่าเป็นช่วงที่อังกฤษ ได้ทดลองอุดมการณ์ทางการเมืองหลายๆอย่าง คนส่วนใหญ่หลายคนจะไปโฟกัสในเรื่องของ เช่น กรณีของพระราชวงศ์เขา ซึ่งมันก็เป็นมิติหนึ่ง แต่ทีนี้เรามาดูมิติการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 34 ปี ตั้งแต่จบสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งจนไปถึง “มาร์กาเรต แทตเชอร์” 11 ปีหลังจากนั้นอีกเล็กน้อย
ซึ่งเชื่อว่า ทุกอันเป็นโซ่ที่ต่อโยงกันและกัน เราจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้ ขอไปมิติการเมืองก่อน ในปี ค.ศ.1945 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษเลือกตั้งในปี ค.ศ.1935 ได้นายกรัฐมนตรีที่มีชื่อว่า “เนวิล เชมเบอร์ลิน”(Neville Chamberlain) จากนั้น ในปี ค.ศ. 1940 ภายในพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ได้เปลี่ยนตัวผู้นำจาก “เนวิล“ มาเป็น” วินสตัน เชอร์ชิล” ในช่วงเวลาสงคราม คงไม่มีใครเลือกตั้งกัน
ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1939 อังกฤษก็มีรัฐบาลที่เรียกว่ารัฐบาลผสมใหญ่(grand coalition) มีการดึงพรรคเลเบอร์เข้ามาด้วยหรือก็คือ พรรคแรงงาน (Labour Party) แล้วมีรองนายกรัฐมนตรีก็คือผู้นำฝ่ายค้านเดิมมีชื่อว่า “เคลเมนต์ ริชาร์ด แอตต์ลี่”(Clement Richard Attlee) ก็จะเป็นรองนายกรัฐมนตรีภายใต้ “เชอร์ชิล”ด้วย
เคลเมนต์ ริชาร์ด แอตต์ลี่(Clement Richard Attlee)
จบสงครามโลกครั้งที่ 2 บนพื้นแผ่นดินยุโรปก็คือวันที่ 8 เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1945 ที่นี่“เชอร์ชิล”ก็บอกกับทางด้านของ“แอตต์ลี้”ว่า อย่าเพิ่งเลือกตั้งเลย ขอให้ชนะญี่ปุ่นก่อน เพราะถ้าเกิดเราชนะ แต่ยุโรปและญี่ปุ่นยังรบไม่ชนะกัน โลกก็จะยังไม่สงบ
“เคลเมนต์ แอตต์ลี” บอกว่า “ไม่ได้ เราไม่ได้มีการเลือกตั้งมาเป็นเวลา 10 ปีละ ตั้งแต่ค.ศ.1935 จนถึง ค.ศ.1945 เลือกตั้งเถอะ“ ทั้ง 2 คนบรรลุข้อตกลงกัน และก็ไปเข้าเฝ้า”พระเจ้าจอร์จที่ 6“ พระมหากษัตริย์ในเวลานั้น ”พระเจ้าจอร์จที่ 6“ ทรงยอมตามความประสงค์ของฝ่ายการเมือง ก็คือจำเป็นต้องมีการยุบสภา จากนั้นต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 5 กรกฎาคม
ถ้าลองดูภาพทั่วไปเลยคนส่วนใหญ่ก็จะบอกว่า ”เชอร์ชิลเป็นวีรบุรุษสงคราม“ ได้รับการยกย่องสูงมาก ไม่ใช่แค่ในอังกฤแต่ในระดับโลกด้วย แต่ทำไมเลือกตั้งจึงแพ้ และถ้าไปดูผลการเลือกตั้งจะน่าช็อคมาก เพราะ “พรรคเลเบอร์” ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ 190 กว่าเสียงจากสภา 640 เสียง ปรากฏว่าเขาได้เพิ่มขึ้นมาเกือบ 200 คะแนน ชัยชนะอย่างถล่มทลาย(Landslide Victory) คะแนนเสียงไม่ถึง 200 ขึ้นมาเป็น 393 คะแนนไม่น่าเชื่อว่าความนิยมจะเพิ่มขึ้นขนาดนั้น
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ประมุขเเห่งเครือจักรภพ
ในขณะที่วีรบุรุษสงครามจากประมาณ 360 กว่าคะแนน ลงไปเหลือไม่ถึง 200 คะแนน ตัวเชอร์ชิลเองงง.. มันเกิดอะไรขึ้น?? จุดนี้มีความสำคัญแล้วถ้าใครไม่เคยใส่ใจกับ 34 ปีนี้ อยากขอบอกว่า ”34 ปีนี่โคตรสำคัญเลย“ คนอังกฤษเรียกจุดนั้นว่า ” National Consensus “ ฉันทามติของชาติ ถามว่าทำไม?? คนอังกฤษเขาบอกแบบนี้ว่า.. “สงครามจบลงไปแล้ว แน่นอนเรายังคงบูชา วินสตัน เชอร์ชิล ท่านก็อยู่บนหิ้งไป” อังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองย่อมต้องไม่เหมือนเดิม
เพราะจักรวรรดิบริติชไม่อยู่เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องการอังกฤษใหม่ และอังกฤษที่เราต้องการควรจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจแนวใหม่ ถ้าสรุปสั้นๆก็คือ การปกครองในช่วงเวลาสงคราม กับช่วงสงบสุขต้องไม่เหมือนกัน ทีนี้ไปดูก่อนว่าคำว่าเศรษฐกิจแนวใหม่ คืออะไร
ช่วงเวลานั้นมีนักเศรษฐศาสตร์สายเคมบริดจ์มีชื่อว่า “จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์”(John Maynard Keynes) กล่าวว่า “เศรษฐกิจใหม่ รัฐต้องเข้าไปดูแลหลายส่วน กระตุ้นโดยภาครัฐ” แต่ก่อนรัฐบทบาทค่อนข้างน้อย สมัยนั้นอังกฤษ “ธนาคารกลางอังกฤษ”(Bank of England)ยังเป็นของเอกชน เกือบทุกอย่างเป็นของเอกชนทั้งหมดเลย “จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์”บอกว่า.. เราต้องคิดถึงสวัสดิการ และมิติต่างๆมากขึ้น “ คนอังกฤษก็มีสิ่งนี้อยู่ในใจ
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes)
ปัญหาคือ ทำไม่ได้เพราะมันเป็นช่วงสงคราม พอหลังจากที่ “เคลเมนต์ ริชาร์ด แอตต์ลี่ ”ชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้น ได้นำแนวความคิดของ ”จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ “เข้ามามีบทบาทที่อังกฤษ ซึ่งในประเทศไทยก็มีอิทธิพลสูงมากเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เฉพาะอังกฤษเท่านั้น แต่ทั่วโลก ได้รับแนวความคิดของ“จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์” บทบาทภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สวัสดิการ แล้วยุคของแอตต์ลี่ี่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคเชอร์ชิลก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายมิติ
ณ เวลานั้นคนอังกฤษมีแนวคิดในการเลือกผู้นำที่ไม่ได้ยึดติดที่อุดมการณ์ แต่กลับเลือกผู้นำจากความคิดว่า.. เหมาะสมกับสถานการณ์ ”วินสตัน เชอร์ชิล“ เก่งในช่วงเวลาของสงคราม แต่ตอนนี้ เป็นช่วงเวลาสงบสุขแล้ว เศรษฐกิจแนวใหม่ก็เลือก ”เคลเมนต์ ริชาร์ด แอตต์ลี่“ สรุปความได้ว่า “ยุคสมัยจะเป็นตัวเลือกผู้นำเองว่า.. คนไหนเหมาะสมกับยุคสมัยนั้นๆ”
ซึ่งแม้ว่าประเทศอังกฤษจะเคยเป็นมหาอำนาจโลก แต่ก็ไม่เคยมีรัฐสวัสดิการ จนกระทั้งในช่วงของ “เคลเมนต์ แอตต์ลี่ ” ทำให้เกิด “NHS” (The National Health Service) ก็จะเป็นเหมือนกับกองทุนประกันสุขภาพของอังกฤษ ในปี ค.ศ.1946 และ แนวคิดโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Safety Net) ก็เกิดในช่วงของ “เคลเมนต์ แอตต์ลี่ ” หลายคนอาจจะถามว่า.. อะไรคือกุญแจสำคัญทำให้อังกฤษเป็นมหาอำนาจโลก
เจมส์ วัตต์ ( James Watt)
อังกฤษครองอำนาจประมาณ 300 กว่าปี ตั้งแต่ยุคที่คนยังขี่ม้ายิงธนู และถือดาบจนข้ามมาสู่การใช้ปืนกลและนิวเคลีย อย่างออตโตมันก็จะยิ่งใหญ่ในช่วงที่ขี่ม้ายิงธนู กุญแจที่สำคัญคือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็จะเริ่มจากการทอฝ้าย อังกฤษอยากทอผ้าให้ได้เยอะๆจะได้มีเครื่องนุ่งห่ม ใส่ จนกระทั่ง “เจมส์ วัตต์” (James Watt) ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแล้วมีการมาใช้ร่วมกับเครื่องทอฝ้าย ในปี ค.ศ.1769 ถึอเป็นการเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพราะมีการใช้เครื่องจักรแทนคน
ซึ่งมันส่งผลต่อ 2 อุตสาหกรรม 1 คือเครื่องนุ่มห่ม ซึ่งอาจจะไม่ได้ส่งผลเยอะเท่าไหร่ 2 คืออุตสาหกรรมเหล็ก จากที่แต่ก่อนเราอยากมีรถไฟในการเดินทาง ก็ต้องทำการดัดเหล็กที่ละอัน ก็คงไม่ไหวหรือช้ามาก แต่ตอนนี้สามารถใช้ความร้อนสูงในการดัดโลหะได้ อาวุธซึ่งแต่ก่อนเป็นแฮนด์เมดไอเทม อย่างดาบสมัยก่อนปืนสมัยก่อนเป็นแฮนด์เมดไอเทม แต่ตอนนี้สามารถผลิตได้ในระดับจำนวนมากๆ ระดับอุตสาหกรรม
เหล็กมันกลายเป็นจุดตั้งต้นวัตถุดิบของทุกอย่าง เหมือนกับพลาสติกในยุคหลัง ก็คือถ้าเทียบก็คือยุคอุตสาหกรรมมาถึงและจากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การเกิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำ ความสำคัญของถ่านหิน แล้วก็การเริ่มต้นรถไฟ รถไฟสายแรกของโลกซึ่งผู้ให้กำเนิดคือ “จอร์จ สตีเฟนสัน ” (George Stephenson) เริ่มต้นในปี ค.ศ.1825 และยังไม่ได้ขนคนในช่วงแรก แต่ขนถ่านหินก่อน ขนถ่านหินก็คือ จากระหว่างเมืองลิเวอร์พูลไปยัง เมืองแมนเชสเตอร์ ในปี ค.ศ.1835
จอร์จ สตีเฟ่นสัน (George Stephenson) และภาพรถไฟต้นแบบ
มันไม่ได้หยุดแค่นั้น มันก็กระจายไปทั่วโลก และนี่คือ สาเหตุว่าทำไมอังกฤษจึงเติบโต ตามประเด็นเป็นแบบนี้ ความเจริญมากับต้นทุนก็คือ คุณภาพประชากรที่เลวร้าย คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เดินทางเข้ามาแมนเชสเตอร์ แต่เดิมแมนเชสเตอร์มีพลเมือง 35,000 คน ในช่วงเวลาประมาณแค่ไม่กี่ปี กรอบเวลาประมาณ 5 ปี หลังที่มีเครื่องจักรแมนเชสเตอร์ เติบโตขึ้น 9 เท่า ประชากร 350,000 คน
ในแมนเชสเตอร์แล้วมีนักลงทุนคนหนึ่ง เป็นเศรษฐีชาวเยอรมันมีชื่อว่า ”ฟรีดริช เอ็งเงิลส์“ (Friedrich Engels Senior) เป็นพ่อของ ”ฟรีดริช“ ก็คือคู่หูของ ”คาร์ล มาคส์ “ (Karl Marx ) ไปลงทุนที่”เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์“ เป็นโรงทอผ้า พอเปิดได้สักพัก ในปี ค.ศ.1881 เขาได้บอก ลูกชายซึ่งอายุได้ 22 ปี ให้ ”เอ็งเงิลส์ จูเนี่ยร์“ ไปดูโรงงานที่แมนเชสเตอร์หน่อย แต่ ”เอ็งเงิลส์ จูเนี่ยร์“ ไม่ได้คิดเหมือนพ่อ พ่อเป็นนายทุน เอ็งเงิลส์ จูเนี่ยร์ ไปเห็นคนอังกฤษน่าสงสาร ก็ดูคนละมุมเลย คนเป็นพ่อคงปวดหัวแย่
ภายหลัง ”เอ็งเงิลส์ จูเนี่ยร์“ ได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งมีชื่อ ” Die Lage derarbeitenden Klasse in England “(The Condition of the Working Class in England) หมายถึง “คุณภาพชีวิตเงื่อนไขการทำงานของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ” คนนึงคือพ่อเอาเงินขวาจัด กับคนนึงคือลูกชายซ้ายจัด จากนั้น “เอ็งเงิลส์ จูเนียร์ “ เข้าไปเจอกับ”คาร์ล มาคส์“ ที่ปารีส สอง คนนี้ร่วมมือกันออกหนังสือชื่อ ”แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์“(Communist Manifesto) ในปี ค.ศ.1848 แล้วก็กลายเป็นสั่นสะเทือนไปทั่วยุโรปเลยทีเดียว
ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ คนลูก(Friedrich Engels) และ คาร์ล มาคส์ (Karl Marx) ตามลำดับ
อังกฤษเป็นไงละ อังกฤษไม่แคร์ เหมือนคนละคลื่นความถี่ ทางการเมืองของคนอังกฤษจะไม่เหมือนกับประเทศอื่น ในขณะที่ฝรั่งเศส เยอรมันต่อสู้เรื่องอุดมการณ์กลายเป็นมีพรรคคอมมิวนิสต์ของแต่ละพื้นที่ อังกฤษไม่ใช่แบบนั้น แต่สิ่งที่เขาคิดมันไม่ได้หายไปมันก็ส่งอิทธิพล ถึง”จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ แห่งพรรคเลเบอร์” ถือกำเนิดขึ้น ในปีค.ศ.1900
ตัดภาพมาที่ “เคลเมนต์ แอตต์ลี่ ”พอชนะการเลือกตั้งก็ ได้จัดตั้ง “NHS” (The National Health Service) และเริ่มแนวคิดโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Safety Net) ณ ตอนนั้น“แอตต์ลี่” มองแบบนี้ “วาระระเบียบโลกใหม่” (New World Order)ใบนี้ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เราจะเอาเงินจากไหนไปรักษากองทหารที่เราควบคุมอาณานิคมอยู่ มันเป็นไปไม่ได้
จึงกราบบังคมทูล”พระเจ้าจอร์ที่ 6” พระประมุขในเวลานั้นว่า "พระองค์บริติสเอ็มไพร์อยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว" ราเริ่มต้นสร้างสิ่งใหม่นั่นคือ ”เครือจักรภพแห่งประชาชาติ“ (Commonwealth of Nations) เราต้องค่อยๆปลดปล่อยอาณานิคมที่ละน้อย และเราก็สามารถรักษาเขาไว้หลวมๆเรียกกันว่า เครือจักรภพ แน่นอนว่ากษัตริย์อังกฤษก็รู้ถึงสิ่งนั้น พระองค์ก็ต้องคล้อยตาม
แน่นอนว่าการจะปลดปล่อยอาณานิคมต่างๆ จะต้องมีการวางแผนและมีผลต่ออำนาจของอังกฤษในเวทีโลก ซึ่งอังกฤษจะมีวิธีการยังไงในการกลับมาเป็นมหาอำนาจ แต่ไม่ใช่ในรูปแบบเดิม เศรษฐกิจแนวใหม่คืออะไร ติดตามได้ในตอนหน้าครับ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 5 กำเนิดแนวคิดรัฐสวัสดิการ
โฆษณา