24 ก.ค. เวลา 15:42 • ประวัติศาสตร์

สิ่งเล็กๆที่เปลี่ยนแปลงโลก

สวัสดี วันก่อนโน่นนนนั่งเกม มันเป็นเกมที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิสๆ มีเรื่องเกี่ยวกับการค้าขาย ”เครื่องเทศ” จากเอเชียไปยังยุโรป ซึ่งมีหลากหลายชนชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง และยาวนานมาก ถ้าว่ากันเรื่องการค้าเครื่องเทศ
.
เครื่องเทศเคยเป็นสิ่งน่าพิศวงมาก่อนตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ “เฮโรโดตุส”(Herodotus) ซึ่งเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เมื่อ 500ปีก่อนคริสตกาล แกได้บอกเกี่ยวกับกระบวนการเก็บอบเชยว่า “ในที่ที่อบเชยขึ้น ที่ไม่รู้ว่าที่ไหน แท่งอบเชยแห่งที่พวกเราเรียกว่า คินาโมมอน (kinnamomon) ชาวอาหรับบอกว่าเป็นสิ่งที่นกคาบมาไว้ในรังที่สูงจนมนุษย์ปีนขึ้นไปไม่ถึง วิธีจะได้มาชาวบ้านจะเอาเนื้อมาวางไว้ที่พื้นให้นกคาบไปบนรัง เมื่อนกคาบเนื้อไปที่รัง รังจึงขยับแท่งอบเชยจึงตกลงมาให้ชาวบ้านเก็บไปขาย” ~โหหหหห สร้างสตอรี่อัพราคา~
.
วิธีเก็บอบเชยในตำนาน ถูกวาดไว้ในหนังสือยุคกลาง
ซึ่งจริงๆแล้ว เพราะว่าสินค้ามาจากที่ไกลมากกกก ไกลมากจริงๆในสมัยนั้น ราคามันจึงแพงมาก
.
แล้วในช่วงแรกๆมันเดินทางมายังไง 
ช่วงแรกของการค้าส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยพ่อค้าอาหรับเป็นคนกลางระหว่างชาวเมดิเตอร์เรเนียนกับอินเดียตะวันตก ซึ่งเครื่องเทศบางชนิดชาวอินเดียก็นำมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกที
.
จนกระทั่งเมื่อ120ปีก่อนศริสตกาล เกิดมีเรือลำหนึ่งอัปปางบริเวณทะเลแดงโดยมีผู้รอดชีวิต1คน คนผู้นั้นพูดภาษาที่ชาวอียิปไม่เข้าใจ “ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 8 ฟิสคอน”(Ptolemy VIII Physcon) จึงให้ชายคนนั้นไปเรียนภาษากรีก เฮ้ยยย เอาจริงดิ หลังจากเรียนพอรู้เรื่องเข้าใจแล้วก็รู้ว่าชายคนนั้นมาจากอินเดียยยยยย (คิดๆว่าคงราวราชวงค์โมริยะ) 
.
“ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 8 ฟิสคอน”(Ptolemy VIII Physcon)
พร้อมบอกความลับอันยิ่งใหญ่ที่ชาวอาหรับเก็บงำไว้ตลอดคือวิธีเดินทางไปอินเดียโดยไม่ต้องอ้อมแหลมอาระเบีย โดยฟาโรห์ได้ทรงที่ปรึกษาคนสนิทชื่อ”ยูโดซุส”(Eudoxus of Cyzicus)ให้เดินทางไปอินเดียกับกะลาสีชาวอินเดียด้วย
Dhow ดาวห์ เรือสำเภาของชาวอาหรับเดินทางในมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่โบราณ
ขาไปใช้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดไปทางตะวันออกช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนสิงหาคม 
ขากลับลมจะพัดกลับช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม 
จากนั้นการค้าระหว่างกรีก,อียิป,โรมันกับอินเดียโดยตรงจึงเพิ่มมากขึ้น เมืองการค้าต่างในคาบสมุทรอาระเบียจึงค่อยซบเซาตามกาลเวลา
.
เส้นทางการเดินเรือค้าขายสินค้าจากอินเดียไปยังอาณาจักรอียิปต์จนถึงโรมัน
สินค้าที่ค้าขายกันก็มีตั้งแต่เครื่องเทศจากอินโดนีเซีย,ผ้าไหมจีน,หินสีอัญมณีต่างๆตลอดจนสัตว์ป่าส่งไปต่อสู้ในอาณาจักรโรมัน (เทียบกับบ้านเราคงประมาณอาณาจักรศรีวิชัย)
.
.
การค้าขายเครื่องเทศโดยชนชาติตะวันตกหายไปเมื่อยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง การค้าก็ตกในมือพวกอาหรับเช่นเดิม จนกระทั่งสเปนและโปรตุเกสเริ่มหาหนทางอย่างจริงจังแต่ก่อนอื่นสเปนและโปรตุเกสสัญญาทอร์เดซิยาส (Treaty of Tordesillas) ในปี1494 ซึ่งกล่าวง่ายๆคือแบ่งโลกเป็นสองซีก สเปนจะสำรวจไปทางตะวันตกทุกดินแดนใหม่จะเป็นของสเปน โปรตุเกสจะสำรวจไปทางตะวันออกทุกดินแดนใหม่จะเป็นของโปรตุเกส เพื่อป้องกันความขัดแย้ง นั้นเอง
.
สัญญาทอร์เดซิยาส (Treaty of Tordesillas)
ทางสเปนโดยสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา(Isabel I de Castilla)และพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน(Fernando II de Aragón)ทรงส่ง”โคลัมบัส”(Christopher Columbus) ไปทางตะวันตกแต่ไม่พบอินเดียหรือจีนตามที่คาดไว้พบโลกใหม่แทน
อิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา,พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและโคลัมบัส
โปรตุเกสโดยจากพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสส่ง”ดา กาม่า”(Vasco da Gama) มาทางตะวันออกเพื่อหาทางมาอินเดียเช่นกัน  โชคดีขึ้นฝั่งได้ที่ชายฝั่งมะละบาร์ (Malabar Coast)
มานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสส่ง”ดา กาม่า”
** ชายฝั่งมะละบาร์มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นจุดทำการค้าหลักกับเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีซ โรม เยรูซาเลม และอาหรับ และยังมีเมืองท่าหลายเมืองในมหาสมุทรอินเดีย กองเรือหมิงก็เคยมานะ**
.
แต่เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อปี1519 สเปนส่ง “เฟอร์ดินานท์ แมคเจลแลนทฺ์” (Ferdinand Magellan)ไปทางตะวันตก แกดันไปไกลลลลลลลลลล จนมาโผล่ที่ฟิลิปปินส์ เป็นกองเรือแรกที่ข้ามแปซิฟิคมาได้ แต่แกก็มาโดนฆ่าที่ฟิลิปปินส์เพราะไปยุ่งกับสงครามระหว่างเผ่า ในปี1521
แต่กองเรือก็ไปต่อจนถึงเกาะโมลุกกะ เมื่อถึงกองเรือของแมคเจลแลนท์ ชื่อวิกตอเรีย (Victoria) ลำเดียว ซึ่งเหลือคนแค่17คน จาก 256 คน จากการเดินทางกองเรือ 5 ลำ ก็ขนกานพูล 26 ตันกลับไปเมืองเซบีย่า  กัปตันชื่อ”ฮวน เซบาวเตียน เอลคาโน”(Juan Sebastian del Cano) ได้รางวัลมากมายพร้อมพิสูจน์ว่าโลกกลมอีกด้วยยยยยยย ซึ่งต่อมาราชสำนักสเปนกับโปรตุเกสก็รวมกันในปี 1580 สัญญาแบ่งโลกเป็นอันยกเลิกไป
.
เรือวิกตอเรีย (Victoria)
เรื่องยังไม่จบๆ มาถึงช่วงที่ต่อสู้กันดุเดือดที่สุดของการค้าเครื่องเทศแล้ว
.
การเข้ามาของชาวดัตช์ สร้างสีสันให้กับภูมิภาคเอเชียมาเลยที่เดียว หมู่เกาะโมลุกกะเป็นที่หมายปองของหลายชนชาติมานาน จนกระทั่งชาวดัตช์ซึ่งเป็นชาติที่ค้าขายเครื่องเทศในยุโรปเหนือให้กับโปรตุเกสมาช้านาน จนโปรตุเกสรวมเข้ากับสเปน สิทธิด้านนี้จึงหายไป ทำให้พวกเข้าต้องออกหาสินค้ามาขายเอง 
.
ผึ้งหลวง พริกไทยเม็ดดำ ขวดฝาบด 50 กรัม
“ยาน ฮัวเกน ฟาน ลินโชเทน” (Jan Huyghen van Linschoten) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหมู่เกาะเครื่องเทศของโปรตุเกสประจำอินเดีย เมืองกัว (Goa)
ก็นึกได้ว่าพริกไทยดีๆเนี่ยต้องมาจากเกาะชวาเท่านั้น (โปรตุเกสนำเข้าพริกไทยจากอินเดีย) ถ้าเราเอามาขายโปรตุเกสคงไม่ว่าอะไรหรอกมั้ง  
.
ยาน ฮัวเกน ฟาน ลินโชเทน (Jan Huyghen van Linschoten)
เมื่อเห็นดังนั้นในปี1602 พ่อค้าชาวดัชต์จึงรวมตัวกันตั้งบริษัทดัชต์อีสต์อินเดีย [Vereenigde Oost-Indische Compagnie (VOC)]
.
ตราสัญลักษณ์ของVOC และ เมืองบัตตาเวีย
พวกดัตช์เห็นว่าพวกสเปนและโปรตุเกสกำลังอ่อนแอลงจึงตัดสินใจยึดทุกอย่างมาเป็นของตัว นำกองเรือขับไล่สเปน,โปรตุเกส,อังกฤษออกจากหมู่เกาะโมลุกกะ(Maluku Islands) โดยมีสำนักงานใหญ่ที่จาร์กาต้าก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นบัตตาเวีย(Batavia) จากนั้นVOC ก็กระทำการผูกขายการค้าใบกระวาน(Bay Leaf) อย่างเข้มข้น จำกัดการปลูกกระวานเพียงไม่กี่เกาะ เกาะที่อยู่นอกเหนือจากนั้นโค่นต้นกระวานทิ้ง สังหารคนเก็บใบกระวาน เผาหมู่บ้าน การปลูกการเก็บใบกระวานหากไม่ได้รับอนุญาตมีโทษถึงตาย
~เฮ้ยยยย เค้าเอาไปทำอะไรกินใบกระวานเนี่ยโหดจริง~
.
เมืองบัตตาเวียและเรือของVOC
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเกาะบันดา(Kepulauan Banda) ที่ปลูกจันเทศ (Nutmeg)โดยในระยะแรกพวกดัตช์บังคับให้ชาวบ้านเซ็นสัญญาจะไม่ขายสินค้าให้ใคร แต่ชาวบ้านก็ยังแอบขายให้ชาวอังกฤษที่อยู่เกาะใกล้ๆ จนทำให้พวกดัชต์ต้องการจะสร้างป้อมบนเกาะเพื่อป้องกันการค้า ในปี1609 แต่ชาวเกาะไม่พอใจถึงกับฆ่านายพลเรือที่ไปเจรจาด้วย ความโชคร้ายจึงบังเกิด
.
พวกดัตช์เอากองเรือมาถล่มยึดหมู่เกาะบันดาไว้ทั้งหมด สร้างป้อมขึ้นสองแห่ง อ้างสิทธิการค้าไว้ทั้งหมด เผาหมู่บ้าน,ฆ่าชาวบ้าน,ถ้าไม่ตายก็ถูกจับเป็นทาส,หัวหน้าหมู่บ้านถูกตัวหัวโดยซามูไรรับจ้างของVOC(ดัตช์เป็นชาติเดียวที่ค้าขายกับญี่ปุ่นได้ทางท่าเรือนางาซากิ) หมู่เกาะถูกแบ่งเป็น 68 เขต ส่งทาสไปทำงานปลูกจันทร์เทศ เท่านี้พวกดัตช์ก็กุมตลาดเครื่องเทศที่มูลค่าสูงสุดไว้ในมือแล้ว
.
ป้อมบนเกาะบันดา
อังกฤษจึงเบนความสนใจไปอินเดียและจีนแทน โดยยังมีเกาะเล็กๆในแถบนี้1เกาะ ก่อนที่จะทำสนธิสัญญาแลกดินแดนเกาะนี้กับดัชต์ โดยอังกฤษได้เกาะแมนฮัตตันในอเมริกาไป ในปี1667 (Treaty of Breda)
.
กำไรจากการค้าทำให้ เกิดยุคทองของชาวดัตช์ ในช่วงศตวรรษที่17 เป็นผู้นำโลกในด้านการค้า มีการขายหุ้นบริษัทให้ประชาชนทั่วไปVOCขายมีมูลค่าบริษัทมากที่สุดในโลก,วิทยาศาสตร์,นวัตกรรมการเงิน,การประกันภัย,ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า,โรคคลั่งทิวลิป,สิ่งทอจากอินเดีย,ผ้าไหมเครื่องปั้นดินเผาจากจีน,เครื่องถมจากญี่ปุ่น พ่อค้าที่ร่ำรวยสามารถอุดหนุนศิลปินอย่างแรมบรันต์(Rembrandt Harmenszoon van Rijn)และเวอร์เมียร์(Johannes Vermeer) ได้
งานของจิตรกรแรมบรันต์และเวอร์เมียร์
จากเรือ 40 ลำ ลูกเรือรวมเจ้าหน้าที่ 5,000กว่าคน เป็นเรือ150ลำ ลูกเรือรวมเจ้าหน้าที่ 15,000กว่าคน ใน 50 ปี
.
ใบหุ้นของบริษัทVOC
แต่ในระยะยาวแล้วการผูกขาดนี้ก็ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่คิดไว้ ทั้งต้องส่งทหารไปสู้รบเพื่อปกป้องการผูกขาด ค่าใช้จ่ายการขนส่งแพงขึ้น สินค้าที่มีมากจนต้องเผาเครื่องเทศที่อัมสเตอร์ดัมทิ้งและจำกัดการนำเข้าเพื่อดันราคา ผลตอบแทนค่อยๆลดลง หลังปฎิวัติอุตสาหกรรมทุกๆอย่างเริ่มแย่ลง
.
.
.
เรื่องราวของเครื่องเทศที่กำลังจะจบลง อาจเป็นเพราะมนต์ขลังเรื่องที่มาของมันเสื่อมลง การเข้ามาของรสชาติใหม่ๆ การทำอาหารแบบใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างกาแฟ ชา ยาสูบ น้ำตาล ความนิยมที่เปลี่ยนไปทำให้คุณค่าของสิ่งของเปลี่ยนตามไปด้วย จากของที่ต่างรอเป็นปีๆเพื่อให้ได้ชิมได้กลิ่น กลับกลายเป็นของที่วางขายเกลื่อนเต็มไปหมด ทุกวันนี้คนเดินผ่านเครื่องเทศต่างๆโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่า
.
.
“ของในกระปุกเล็กๆนี้เคยมีส่วนเปลี่ยนแปลงโลกมาก่อน”
ลองดู 🍔HAND BRAND GROUND CINNAMON 45 G 🍟ตรามือ อบเชยป่น 45 กรัม [เครื่องปรุงรสและเครื่องเทศ] ในราคา ฿109 ที่ Shopee https://s.shopee.co.th/LT6uCS1o5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา