1 ส.ค. 2024 เวลา 03:00 • ข่าว

ส่องตลาดแรงงานยุคใหม่ ⭐✨มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพื่ออนาคต📈🚩🌎

👩🏻‍💻 ท่ามกลางกระแสของโลกในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 🚀🌐 การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 👨‍👩‍👧‍👦 ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก 📊
🔎 โดยสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากสถานการณ์ด้านอุปสงค์และอุปทานแรงงานของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ✨ ที่มีการพลิกผัน (Disrupting) และแปลงโฉม (Transforming) อนาคตของงาน จนทำให้งานอุบัติใหม่บางงานมีความต้องการมากขึ้น ในขณะที่บางงานอาจมีความต้องการลดลงจนถึงกับล้าสมัยและสูญหายไปตามกาลเวลา 📈📉
5
📝🧮 โดยในการสำรวจด้านอุปสงค์และอุปทานแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) พบว่า 👉🏻 ความต้องการแรงงาน (Demand Side) และการผลิตกำลังคน (Supply Side) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 🌟 ล้วนมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ⚡️
3
✅ ความต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษา • เพิ่มขึ้นจากจำนวน 274,250 คน ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 735,373 คน ในปี พ.ศ. 2567 📈 ✨ โดยอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษาจำนวนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 👩‍⚕️💊 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 🤖 ตามลำดับ
✅ ความต้องการแรงงานในระดับอุดมศึกษา • เพิ่มขึ้นจากจำนวน 359,040 คน ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 959,744 คน ในปี พ.ศ. 2567 💥 โดยอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานในระดับอุดมศึกษามากที่สุด คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมดิจิทัล 📲💻 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 🩺💉 และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ตามลำดับ
3
โดยความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา 👷🏼‍♀️👩🏼‍🎓 ตลอดจนความก้าวหน้าขั้นสูงของระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์ (Generative Artificial Intelligence) 🌟 ประเทศไทยได้มีการหันมาให้ความสำคัญกับการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-Curve) ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 👇🏻
📍 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive) 🚗 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ⚙️ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 🩺🌊 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 🌱 และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) 🥫
1
📍 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม(Robotics) 🤖 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) ✈️ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 🔥 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) 💻 และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) 👩‍⚕️💉
อีกทั้งยังได้มีการให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับกับมิติของประเภทงาน (Jobs) และการเติบโตของงานในทุกด้าน 👩🏻‍💻📊 ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการช่วยปรับปรุง 📝เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ (Digitalization) และความยั่งยืน (Sustainability) ✨ ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของกำลังคนยุคใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 🙌🏻 และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป 🚀🌏
1
📚 Download หนังสือฉบับเต็ม
>> รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาแนวทางการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
📝 สอบถามความรู้เพิ่มเติม
0 2668 7110 ต่อ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
#สภาการศึกษา #การศึกษา #ebook #อาชีพ #การพัฒนาตนเอง
📝โซเชียลมีเดีย "สภาการศึกษา"
• LINE: @oecnews | http://line.me/ti/p/@OECNews

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา