Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แมวพิมพ์
•
ติดตาม
16 ส.ค. เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สรุปสารคดี CORONAVIRUS explained 🦠 ตอน The Race for a Vaccine
16 มี.ค. 2020
วัคซีนเข็มแรกถูกฉีดให้อาสาสมัคร
ซึ่งทำลายสถิติการผลิตวัคซีนที่ไวที่สุด
เพราะใช้เวลาแค่ 65 วัน
ร่างกายใช้เวลา 2 สัปดาห์ กว่าจะเกิดการต่อต้าน
ทำให้โควิดมีเวลาพอจะแพร่กระจายไปทั่วตัว
แต่หลังจากร่างกายจัดการไวรัสได้แล้ว
ระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำแอนติเจนไว้
บางครั้งจะจำได้ตลอดชีวิต
หรือบางครั้งก็แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น
ร่างกายจะจำโคโรนาตัวอื่นๆ ได้ 2-3 ปี
ดังนั้น ถ้าไวรัสคล้ายตัวเก่า
โผล่เข้ามาในช่วงที่ยังจำได้
ระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานเร็วขึ้น
ด้วยความรุนแรงที่มากขึ้น
ทำให้กำจัดไวรัสได้ ก่อนที่เราจะป่วย
สำหรับวัคซีนแต่ละ Generation
จะสอนให้ร่างกายจำไวรัสด้วยวิธีที่ต่างกัน
1st Generation
การฉีดไวรัสอ่อนๆ ได้เข้าร่างกาย
แต่ไวรัสยังมีแอนติเจนอยู่
ระบบภูมิคุ้มกันจะได้รู้ว่าต้องระวังตัวนี้
เป็นวิธีที่ผ่านการทดลองและได้ผลดีสุด
แต่ก็เป็นวิธีที่ช้า ต้องเพาะเชื้อหลายเดือน
2nd Generation
ฉีดแค่แอนติเจนเข้าร่างกาย
เพื่อกระตุ้นการต่อต้านของภูมิคุ้มกัน
ซึ่งต้องเพาะไวรัสก่อนเช่นกัน เป็นที่นิยมที่สุด
3rd Generation
ไม่ใช้ส่วนใดของไวรัสจริงเลย
แต่ใช้วิธีใส่คำสั่งที่มากับไวรัสเข้าร่างกาย
ให้เซลล์สร้างแอนติเจนขึ้นมา
แล้วค่อยไปกระตุ้นการต่อต้านภูมิคุ้มกัน
วิธีนี้ผลิตวัคซีนได้เร็วมาก
เพราะไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้อไวรัส
ขั้นตอนหลังจากผลิต คือการวิจัยทางคลินิก
แบ่งเป็น 3 Phase ด้วยกัน…
Phase 1
หลังจากอาสาสมัครกลุ่มเล็กได้รับวัคซีน
ต้องรอ 2-3 เดือน เพื่อดูผลข้างเคียง
Phase 2
ฉีดให้กลุ่ม 2-3 ร้อยคน รอดูผลข้างเคียง
รวมถึงดูภูมิคุ้มกันว่าเพิ่มขึ้นมั้ย
ซึ่งปกติ Phase นี้ใช้เวลาหลายเดือน
Phase 3
ฉีดให้กลุ่มหลายพันคน
เพื่อตรวจหาผลข้างเคียงรอบที่ 3
โดยต้องรอหลายเดือน หรือ หลายปี
กระบวนการทั้ง 3 Phase
โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี
ในการทดสอบกับคนประมาณ 5,000 คน
แต่สำหรับครั้งนี้…
ผู้ผลิตต้องการทดสอบทุกขั้นตอนไปพร้อมๆ กัน
โดยใช้คนเท่าเดิม ภายในเวลา 18 เดือน
วัคซีนหลายตัวจึงมีความคืบหน้าเร็วมาก
จากความผิดพลาดในการผลิตวัคซีน
สำหรับโรคโปลิโอ และโรคไข้เหลือง
ทำให้รัฐบาลอเมริกาเพิ่มความเข้มงวดในการผลิต
ต่อให้ได้รับใบอนุญาตแล้ว ก็ต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
วัคซีนที่จ่ายให้ประชาชนทุกๆ หนึ่งล้านหน่วย
อนุโลมให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพียง 1 คนเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ที่โรคซาร์ส และโรคเมอร์ส ระบาด
ทีมนักวิทยาศาสตร์ ม.ออกซฟอร์ด ได้ผลิตวัคซีนแล้ว
ทำให้การผลิตวัคซีน Covid19 ไม่ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
จริงๆ มีหลายแห่งที่เกือบวิจัยวัคซีนสำเร็จ
แต่ทุนหมดก่อนจึงทำให้เสียโอกาสไป
ปี 2017 คนกลุ่มหนึ่งได้ทุนจากมูลนิธิเกตส์
รวมตัวกันภายใต้โครงการ CEPI เพื่อแก้ปัญหานี้
โดยให้รัฐบาลและมูลนิธิต่างๆ ลงทุนการผลิตวัคซีน
เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเกิดโรคระบาดต่างๆ
และเป็นตัวกลางแจกจ่ายเงินสำหรับการวิจัย
โครงการ CEPI ออกทุน
สนับสนุนวัคซีนโควิด19 ไป 9 ตัว มี 2 ตัวหลัก
ที่นำหน้าตัวอื่นคือของ Oxford และ Moderna
แต่การจะยุติการระบาดครั้งนี้ได้
ประชากรโลกอย่างน้อย 60% ต้องมีภูมิคุ้มกัน
นั่นคือเกือบ 8 พันล้านคน 👩🏻🧔🏼♂️👳🏾♂️👴🏽
ซึ่งเราไม่เคยผลิตวัคซีนหลักพันล้านหน่วยมาก่อน
เพราะแม้แต่ขวดแก้วที่ใส่วัคซีนได้
ก็ต้องเป็นแก้วพิเศษสำหรับใช้กับยา
เราไม่มีทรัพยากรเพียงพอ รวมถึงโรงงานจำนวนมาก
ซึ่งวัคซีนแต่ละตัวก็ใช้โรงงานไม่เหมือนกัน
กว่าจะเพิ่มจำนวนการผลิตได้ ก็ใช้เวลาหลายปี
แม้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายที่ จะสั่งเพิ่มการผลิตได้ทันที
และต่อให้ผลิตได้มาก ก็มีขั้นตอนการแจกจ่าย
ขั้นตอนนี้ การเมืองก็เข้ามาขวางได้อีก
อย่างการระบาดของ H1N1 ปี 2009
บริษัทในออสเตรเลีย 🇦🇺
เป็นบริษัทแรกๆ ที่ผลิตวัคซีนได้
รัฐบังคับให้ขายคนในประเทศก่อน
แคนาดา 🇨🇦🍁ก็เช่นกัน
และแม้ว่าอเมริกาบอกว่าจะบริจาควัคซีน
แต่กว่าจะบริจาคจริงๆ การระบาดก็จบลงแล้ว
การลืมความสำคัญของการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
หรือแม้แต่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป
อาจเป็นแค่ชัยชนะบนซากความไร้มนุษยธรรม
ที่ทิ้งไว้เป็นประวัติศาสตร์บนหน้ากระดาษของเราเอง
รับชมได้ทาง: Netfilx
โควิด
ความรู้รอบตัว
ความรู้
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รีวิวสารคดีที่จะไขข้อข้องใจเและอธิบายให้ฟังแบบง่ายๆ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย