8 ก.ย. เวลา 01:00 • การศึกษา

สรุปสารคดี Sex Explained ตอน Birth Control การคุมกำเนิด 🙅🏻‍♀️🙅🏻‍♂️

มีทฤษฎีบอกว่าสัญลักษณ์รูปหัวใจมาจากฝักซิลเฟียม
ที่มีค่ามากในเมดิเตอร์เรเนียนยุคโบราณ
โดยสูตินรีแพทย์คนดังแห่งยุคอย่าง “Soranus”
แนะนำให้ดื่มน้ำซิลเฟียมคั้นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
แต่ปัจจุบันก็ไม่สามารถพิสูจน์ว่ามันได้ผลจริงมั้ย
เพราะพืชชนิดนี้สูญพันธุ์ไปก่อน
แต่จากการวิจัย🔬พืชตระกูลเดียวกันบอกว่า
มันอาจเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนที่ใช้ตั้งครรภ์ได้
ปี 1950 รัฐบาลสหรัฐปิดบังประชาชน
โดยทำการทดลองให้ยาคุมยี่ห้อ Enovid
ในเปอร์โตริโก เพราะความยากจน 💸
และกังวลเรื่องประชากรล้นประเทศ
ทำให้ผู้หญิงหลายร้อยได้รับผลข้างเคียงร้ายแรง
มีอย่างน้อย 3 คนที่เสียชีวิต โดยไม่มีการสืบสวน
ปี 1970 วุฒิสมาชิกคนหนึ่งได้อ่านหนังสือ
“The Doctor’s Case Against The Pill”
เขียนโดยนักข่าวสืบสวน “Barbara Seaman”
ที่บอกว่ามีผู้หญิงหัวใจวาย เส้นเลือดสมองอุดตัน
เลือดคั่ง และเป็นมะเร็ง จนนำไปสู่การไต่สวน
ที่มีคณะกรรมธิการเป็นผู้ชายเชิญผู้ชายมาให้การ
ทำให้ผู้หญิงต้องออกมาเรียกร้อง
ปีต่อๆ มามีการลดปริมาณฮอร์โมนเพื่อลดผลข้างเคียง
และปี 2000 มีโปสเจสเตอร์โรนสังเคราะห์ รูปแบบใหม่
คือ DRSP เป็นองค์ประกอบหลักในยาคุมยี่ห้อ Yaz
ที่บอกว่าช่วยรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน หน้าใส ไร้สิว
แต่ 2 ปีต่อมา มีรายงานพบทั้งข้างเคียงอย่างลิ่มเลือด
อวัยวะภายในล้มเหลว และเส้นเลือดในสมองแตก 😱
ปี 2015 บริษัท Bayer ผู้ผลิต Yaz
ยอมความคดีเกิดลิ่มเลือดประมาณ 10,000 เคส
เป็นเงินกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์
“ห่วงคุมกำเนิด” เป็นที่นิยมมากขึ้น
มีชนิดที่มีฮอร์โมน และชนิดที่ทำจากทองแดง
สามารถใช้ได้ 3-10 ปี แล้วแต่ยี่ห้อ
แต่มีอยู่ยี่ห้อหนึ่งที่สร้างความหวาดกลัว
ให้กับการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้คือ “Dalkon Shield”
ข้อผิดพลาดจากการมีสายเชือกที่หนาเกินไป
ทำให้แบคทีเรีย 👾 เข้าสู่มดลูกได้ง่าย
หลังจากวางขายได้ 4 ปี ก็ถูกห้ามขายในที่สุด
แต่ตอนนั้นก็มีผู้หญิงประมาณ 3.3 ล้านคนทั่วโลกใช้
ทำให้มีการฟ้องผู้ผลิตจนทำให้บริษัทล้มละลาย
แต่ก็ยังมียาคุมชนิดที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน
อย่าง Saheli ที่วางขายมากว่า 30 ปี
โดยกินเพียงอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น
เป็นวิธีที่เร็วกว่า ถูกกว่า และเสี่ยงน้อยกว่า
 
ในปี 1970 นักวิทยาศาสตร์ 👨‍🔬 ได้ค้นพบ
ยาคุมสำหรับผู้ชายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่การทดลองมักถูกยกเลิกไปเพราะผลข้างเคียง
ซึ่งจริงๆ ก็คืออาการเดียวกับยาคุมของผู้หญิง
แต่ อย. มองว่าต้องรอให้มาตรฐานสูงกว่านี้ก่อน
ผู้หญิงจึงเป็นฝ่ายเดียวที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง
เพื่อการคุมกำเนิดจากการตั้งครรภ์
และเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเพียงลำพังต่อไป
รับชมได้ทาง: Netfilx
โฆษณา