11 ก.ย. 2024 เวลา 01:00 • การศึกษา

สรุปสารคดี Take Your Pills 💊 เราไม่เคยหยุดหาตัวช่วยเพื่อเอาชนะ แม้ต้องความเสี่ยงแค่ไหนก็ตาม

“Work Hard, Play Hard”
วาทะกรรมที่ทำให้คนอยากประสบความสำเร็จ
แม้จะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1929
“ดร. กอร์ดอน อัลเลส” พยายามคิดยารักษาภูมิแพ้
แต่บังเอิญทำ “แอมเฟตามีน (Amphetamine)” ขึ้นมา
ผลที่ได้จากการทดลองฉีดให้กับตัวเองคือ
“รู้สึกดี สบายตัว หัวใจเต้นรัว สมองแล่นตลอดเวลา”
จนกลายเป็นยาที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย
และสามารถขอจากหมอได้ แม้เราไม่ได้ป่วยก็ตาม
ฮิตขนาดที่ “The Beatles”
เอาไปทำเพลง “Dr. Robert”
ที่พูดถึงหมอคนหนึ่งในนิวยอร์ค
ที่จ่ายยาแอมเฟตามีนโดยอิสระให้กับคนไข้
 
ผู้คนติดแอมเฟตามีนกันอย่างหนัก ในปี 1969
จึงมีกฎหมายระบุให้เป็นสารควบคุมประเภทสอง
ทำให้ลดจำนวนการผลิตจาก 8 พันล้านเม็ด
เหลือเพียง 400 ล้านเม็ดเท่านั้น
ปี 1996 มีแอมเฟตามีนตัวใหม่เปิดตัวในสหรัฐอย่าง
“แอดเดอรอล (Adderall)” ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น
แต่การจะแยกอาการป่วยจากโรคสมาธิ
กับอาการที่เกิดจากพฤติกรรม ทำได้ค่อนข้างยาก
หมอจึงมักจ่ายยาให้ก่อน ถ้าดีขึ้นแปลว่าเกิดจากโรค
ซึ่งจริงๆ แล้ว “สารกระตุ้น” เหล่านี้
ใครได้ใช้ก็ทำให้การความรู้สึกดี มีโฟกัสได้นานขึ้น
ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า หรือเจ็บปวดใดๆ ด้วยกันทั้งนั้น
ด้วยสภาพสังคมที่การแข่งขันสูงมากๆ
ทำให้คนมองหาตัวช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ
ให้ตัวเองทำสิ่งต่างๆ ได้ดีอยู่ตลอดเวลา
ทำให้ยาระบาดในนักศึกษา เพราะอยากมีสมาธิเรียน
อยากทำเกรดให้ได้ดีๆ เพื่อให้ได้งานดีๆ ทำ
รวมถึงในคนวัยทำงานหลากหลายสาขาอาชีพ
ที่ต้องการให้ตัวเองทำผลงานออกมาได้ดีกว่าคนอื่น
โดยที่ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
จนเกิดเป็น “ธุรกิจโรคสมาธิสั้น”
อุตสาหกรรมขนาด 13,000 ล้านดอลลาร์
ที่มีคำพูดสวยหรูอย่างคำว่า “ผลข้างเคียง”
เพื่อให้เรามองข้ามความน่ากังวลใจที่จะเกิดขึ้น
อย่างโรคความดัน หัวใจ และหลอดเลือดสมอง
โดยอยากให้เรามองแค่ที่ผลลัพธ์อีกด้าน
อย่างการเพิ่มพลังโฟกัส มีสมาธิ จดจ่อกับงานได้
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อจนกลายเป็นชื่อเล่นของยา
ที่เรียกว่า “Smart Pills” เพราะเชื่อว่า
ยาเพิ่มความสามารถในการคิดหรือความฉลาดได้
แต่ยาไม่ได้ให้ผลลัพธ์แบบนั้น
การที่คนที่ใช้ยาแล้วทำเกรด หรือผลงานได้ดี
เป็นเพราะการหมกหมุ่นกับงานด้วยสารกระตุ้นของยา
ทำให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่อาจจะน่าเบื่อได้นานขึ้นเท่านั้น
รับชมได้ทาง: Netfilx
โฆษณา