30 ก.ย. เวลา 01:00 • การศึกษา

สรุปสารคดี Explained ตอน The World’s Water Crisis 💦

เป็นสารคดีที่ดูแล้วรู้สึกคอแห้งมากๆ
เพราะอะไร? เรามาดูไปพร้อมๆ กันค่ะ
ขอบคุณภาพ: Britannica Kids
ปี 2018 ได้มีการคาดการณ์ว่า Cape Town
เมืองหลวงของแอฟริกาใต้อาจจะเป็นเมืองแรก
ที่เข้าสู่ภาวะ “Day Zero” หรือสถานการณ์ที่ไม่มีน้ำ
พอแจกจ่ายสู่บ้านเรือนของประชาชน
97% ของน้ำบนโลกทั้งหมดเป็นน้ำเค็ม
2% เป็นน้ำแข็งอยู่ที่ขั้วโลก
1% เป็นน้ำที่เราสามารถใช้ในการมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรามีคนบนโลกมากขึ้น
แต่อยู่ที่วิธีการใช้น้ำของเรามากกว่า
เราดื่มน้ำ ใช้แปรงฟัน ล้างหน้า กดชักโครก
ในแต่ละปีแค่ 8% ของน้ำจืดเท่านั้น
แต่ที่เหลือเราใช้ไปกับการเกษตรและอุตสาหกรรม
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพมากขึ้น
ทุกอย่างที่เราใช้มักจะมี “น้ำแฝง” อยู่ในนั้นด้วย
เช่น การปลูกอัลฟาฟ่า 1 กก. ต้องใช้น้ำ 510 ลิตร
เสื้อผ้าฝ้าย 1 ตัว ต้องใช้น้ำถึง 2,500 ลิตร
แฮมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น 🍔 ใช้น้ำถึง 1,650 ลิตร
เพราะเราต้องใช้เลี้ยงวัว และอื่นๆ กว่าจะผลิตได้
ดังนั้น น้ำที่ใช้ในการผลิตไวน์ 🍷 ของแอฟริกาใต้
จึงสามารถหยุดวิกฤตน้ำที่เมือง Cape Town ได้เลย
นอกจากนี้ ที่อินเดียและจีนยังมีการปลูกพืช
ที่ใช้น้ำมากที่สุด ในพื้นที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศ
และพื้นที่เพาะปลูกเขตชลประทาน 95% ของโลก
ใช้น้ำได้อย่างไร้ประสิทธิภาพมากที่สุด
อย่างการปล่อยน้ำให้ท่วมทุ่ง
ในขณะที่ภาวะขาดแคลนน้ำ
ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่ตึงเครียด และความขัดแย้ง
รวมถึงทำให้ผู้คนล้มตายไปแล้วหลายแสน
แม้จะมีความพยายามในการนำน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย
มาเปลี่ยนเป็นน้ำจืดที่ใช้ดื่มได้ตามมาตรฐาน
แต่ก็ยังต้องใช้เงินทุน และพลังงานที่สูงมาก
ถึงขนาดที่อาจทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างพัง
บางประเทศเริ่มมีการปรับขึ้นราคาค่าน้ำ
ซึ่งคนที่ได้รับผลกระทบหนักสุดก็ไม่พ้นคนจน
ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากเข้าไปอีก
รับชมได้ทาง: Netflix
โฆษณา