3 ส.ค. 2024 เวลา 01:38 • สุขภาพ

ถิ่นกำเนิดกระชายดำ

กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากได้แก่จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่านเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ
ประโยชน์และสรรพคุณกระชายดำ
ใช้บำรุงกำลัง
แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ช่วยขับลมพิษ
เป็นยาอายุวัฒนะ
แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
โขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน
ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
ต้มดื่มแก้โรคตา
ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย
บำรุงผิวพรรณของสตรีให้สดใส เปล่งปลั่ง ฟื้นฟูผิวให้สวยนุ่ม
บำรุงประสาท
แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน
บำรุงโลหิตของสตรี
รักษาโรคภูมิแพ้
ช่วยขับลม
แก้ท้องอืด
ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
แก้อาการตกขาวของสตรี
แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
ช่วยรักษากลากเกลื้อนและติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
รักษาโรคเกาต์
แก้อาการเหน็บชา
ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด
รูปแบบและขนาดวิธีการใช้
สำหรับวิธีการใช้ประโยชน์กระชายดำเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด และลมป่วงทุกชนิด
• หากเป็นแบบชงหรือแบบผง ให้ใช้ผงแห้ง 1 ซอง ชงกับน้ำร้าน 1 แก้ว (ขนาน 120 cc.) และแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำตาลตามความต้องการ แล้วนำมาดื่ม
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระชายดำ
1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สาร 5,7 – ได้เมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน , ไฮไดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ
พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนน และเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4'-trimethoxyflavone และ 5,7,3' ,4' –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4'-tetramethoxyflavone และ 5,7,4'-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน (Wattanapitayakui S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003)
3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด ของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน.(Yenchai C, Prasaphen K, Doodee S, et al,2004)
โฆษณา