9 ส.ค. เวลา 09:46 • ความคิดเห็น
คำว่า จิตที่มีสมาธิ เป็นจิตที่ไม่มีอารมณ์นึกคิด ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ปราศจากนิวรณ์ทั้งหลาย จิตก็อยู่เฉยๆ กายก็อยู่เฉย อยู่นิ่งๆเฉยไม่มีอารมณ์ปรุงแต่งเกิดขึ้นที่ เรือนกาย กายก็เป็นสุข จิตที่อาศัยอยู่ในเรือนกายก็เป็นสุข
คราวนี้ เพราะจิตเรานั้น ตัวเรานั้นเป็นจิตที่อาศัยอยู่ในเรือนกาย การรับรู้อะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่กาย ที่มีวิญญาณทั้งหก สื่อสาร เรื่องราวต่างๆไปให้จิต จิตก็ส่งต่อไปให้ธาตุทั้งสี่ ไปเอาเรื่องราวต่างๆ ที่เราเคยรับรู้เป็นสัญญาจดจำ ให้ไหลออกมา ส่งขึ้นที่สมองที่วิญญาณทั้งหก มันสลับกับไปมา จะเรียกว่าทั้งรับทั้งส่ง เรื่องราวที่เราไปฟังมา บางครั้งมันก็เกิดอารมณ์ไม่ชอบ
.. หรือว่า เห็นว่าไม่ตรงกับที่เราเคยรู้มา มันก็เกิดอารมณ์ทิฐิโต้แย้ง ขัดแย้งขึ้นมาภายในกาย มันเกิดที่กายที่เราอาศัยทั้งนั่น ..ตรงนี้ เค้าเรียกว่า สตืของเราไม่เท่าทันอารมณ์ แล้วจิตเราก็เป็นจิตดวงน้อยๆ ไม่สมารถ ที่ละอารมณ์นั้นไปได้ อารมณ์นึกคิดมันเหนือจิต มันก็เป็นอย่างนี้ ถ้าหากว่า จิตเรามีสติเข้มแข็ง เราก็จะสลัดละอารมณ์นั้นไป ทิฐิความคิดเห็นอะไรๆ มันก็ไม่ค่อยมี เหมือนวัตถุสิ่งของข้างทาง ที่เรานั่งรถผ่าน เราก็ผ่านมันไปเฉย ไม่เอามานึกคิดอะไร
เรื่องสมาธิ ที่นั่น ก็มีคนพูดกันเยอะ .สมาธิขจัด อารมณ์กรรมที่ผ่านกาย ..เกิดที่กาย นั่นเราทำไปเพื่อสลัดละอารมณ์กรรม อารมณ์ที่จิตนั้นหลงไหลไปยึดถือ ..เราจะแยกแยะอารมณ์นึกคิดได้ได้ เค้าจึงให้เราฝึกหัด ให้จิตเป็นสมาธิเอกัคตา ที่ว่าจิตเป็นหนึ่ง .พอเรารู้จักได้ เราก็จะค่อยๆแยกแยะอารมณ์ออกไปจากจิตได้ง่ายขึ้น
โฆษณา