12 ส.ค. เวลา 12:45 • ประวัติศาสตร์

อิสราเอลกับสงครามครั้งที่ 1 และ 2 ชาติที่หล่อหลอมขึ้นด้วยเลือดและความฝัน

หลังจากโพสต์ก่อนหน้าเราได้พูดถึงประเทศอิสราเอลไปในบางส่วนแล้ว และได้มีการกล่าวถึงว่าประเทศแห่งนี้ถูกขนาบด้วยประเทศอาหรับซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ชอบใจการมีอยู่ของพวกเขา
ทำให้ต้องเผชิญกับสงครามตั้งแต่วันแรกที่ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา แต่นั้นมันไม่ใช่เพียงครั้งเดียว พวกเขาต้องพบกับการนองเลือดมาถึง4ครั้ง ในครั้งผมจะไม่ได้พูดถึงสงครามครั้งปัจจุบันนี้เพราะเหตุการณ์ยังไม่จบจึงไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน
เริ่มต้นกันด้วยสงครามครั้งแรก
สงครามปาเลสไตน์ปี 1948 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สงครามอิสราเอลประกาศอิสรภาพ"
มันเริ่มขึ้นจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 เดวิด เบนกูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลประกาศก่อตั้งรัฐอิสราเอล ชาวอาหรับไม่ยอมรับการก่อตั้งรัฐนี้และประกาศสงครามทันที
โดยสันนิบาตอาหรับได้แก่ประเทศ อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อิรัก และเลบานอน เปิดฉากรุกรานอิสราเอลจากหลายทิศทางเหมือนพายุที่พัดมาอย่างแรงจากรอบด้าน มีเป้าหมายคือการยึดเมืองสำคัญๆยิ่งกว่านั้นคือการลบประเทศที่พึ่งเกิดออกจากแผนที่โลก
ชาวยิวตอนนี้เหมือนคนที่หลังชนฝาทางเดียวที่พวกเขาจะรอดได้ก็คือสู้อย่างถึงที่สุด เพราะกว่าที่จะมีวันนี้ได้พวกผ่านความเจ็บปวดมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนครั้งนี้คงเป็นอีกครั้งที่ยากลำบากเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าประเทศเกิดใหม่แห่งนี้สามารถยันเอาไว้ได้ และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถยึดเมือง Lydda และ Ramle จากกองกำลังอาหรับได้ ส่งผลให้ชาวอาหรับจำนวนมากถูกบังคับให้อพยพออกจากเมือง
ชาวปาเลสไตน์กว่า 7 แสนคนต้องกลายเป็นผู้อพยพออกจากแผ่นดินที่ถูกอิสราเอลยึดไป ออกไปอาศัยอยู่ประเทศรอบข้าง ในสถานะคนไร้บ้านต้องอาศัยอยู่ที่พักชั่วคราวที่ไม่มีวี่แววจะได้กลับบ้านตัวเองเลย
สุดท้ายสงครามครั้งนี้จบลงด้วยกัน การเจรจาหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและประเทศอาหรับนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในปี 1949 ซึ่งได้กำหนดเส้นเขตแดนที่เรียกว่า "เส้นเขียว" (Green Line) เขตแดนนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประเทศอาหรับและยังคงเป็นประเด็นขัดแย้งจนถึงปัจจุบัน
สรุปผลของสงครามครั้งนี้
อิสราเอลเอลได้พื้นที่เพิ่มจากเดิมที่สหประชาชาติกำหนดไว้เกือบ 78%ของปาเลสไตน์ และยังถูกยอมรับการมีของรัฐชาติพร้อมทั้งแสดงออกให้สันนิบาตอาหรับเห็นว่าพวกเขาสามารถป้องกันตนเองได้
ต่อมาคือสันนิบาตอาหรับสูญเสียดินแดนไปบางส่วนให้แก่อิสราเอล และสิ่งสำคัญคือความน่าเชื่อถือ ตามด้วยชื่อเสียงใครๆก็คงคิดว่าอิสราเอลไม่รอดแน่ๆ แต่ผลกลับตรงกันข้าม
ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้อพยพกว่า 7 แสนคนจนเรียกได้ว่าผู้อพยพถาวร เพราะสันนิบาตอาหรับที่หวังพึ่งก็เจรจาหยุดยิงกันไปแล้วทีนี้พวกเขาจะทำอย่างไรได้บ้าง จนต่อมาพวกเขาจึงจัดตั้งกองกำลังของตัวเองขึ้นและจะมีบทบาทต่อไปในอนาคต
สงครามครั้งที่ 2 วิกฤตการณ์คลองสุเอซ
ยังคงเป็นอียิปต์อีกเหมือนเคย ในเวลานั้นอียิปต์ถือว่ามีแสนยานุภาพทางการทหารเหนือกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตรงนี้เองทำให้ กามาล อับดุล นัสเซอร์ ประธานาธิบดีของอียิปต์พยายามแสดงออกถึงความเป็นผู้นำกลุ่มชาติอาหรับ
โดยตัวเขามีความชาตินิยมที่สูง และมีนโยบายการยึดคลองสุเอซจากชาติยุโรป คือฝรั่งเศษ และอังกฤษ ที่บริหารคลองสุเอซในนามของบริษัทคลองสุเอซ เพื่อจะเก็บรายได้ตรงนั้นมาสร้างเขื่อนอัสวานกั้นแม่น้ำไนล์
ซึ่งแต่เดิมสหรัฐอเมริกาและอังกฤษจะให้เงินสนับสนุนในการสร้างแต่ได้ยกเลิกการสนับสนุนด้านการเงินไป
และเมื่อยึดคลองสุเอซได้แล้ว อย่าลืมว่าอียิปต์กับอิสราเอลไม่ลงรอยกันอยู่แล้วสัญญาหยุดยิงที่ทำขึ้นก็เป็นเพียงกระดาษ แปลว่าเมื่ออียิปต์จะไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลแล่นผ่านไปได้ ซึ่งกระทบโดยตรงทั้งการส่งออกและนําเข้าของอิสราเอล
อีกด้านหนึ่ง ฝรั่งเศส และอังกฤษ ก็ไม่พอใจเช่นกัน เพราะเห็นว่าไม่ใช่เพียงแค่ด้านเศรษฐกิจแต่ยังกระทบต่อความมั่นคงอีกด้วย เหมือนการหยามหน้ากันชัดๆ จึงเกิดกองกำลังผสม 3 ฝ่าย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอลขึ้น
อิสราเอลใช้เวลาเพียง 8 ในการบุกประชิดคลองสุเอซ และสูญเสียกำลังพลเพียงหลักร้อย ต่างจากอียิปต์ที่เสียหายหนักกว่า แถมยังมีการโจมตีจากฝรั่งเศสและอังกฤษด้วยการทำลายสนามบินและการโดดร่มเพื่อยึดคืนคลองสุเอซคืน
แต่เหตุการณ์นี้ไม่มีผลดีกับใคร สหรัฐอเมริกามีความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง สหภาพโซเวียตในขณะนั้นก็เช่นกัน จึงมีการดำเนินการทางการทูตเพื่อบีบให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดยิง และให้กองกำลังผสม อิสราเอล ฝรั่งเศส อังกฤษ ถอนกำลังออกมาโดยเร็ว
จนในที่สุด กองกำลังผสมจำใจต้องถอนกำลังในที่สุด แต่ผลกระทบยังตามมาอีกอย่างมหาศาล โดยคนที่เสียประโยชน์มากที่สุดคงเป็นฝรั่งเศส และอังกฤษเพราะทั้ง 2 เคยเป็นมหาอำนาจแต่มาวันนี้กลับต้องเสียหน้าในเวทีโลก อีกทั้งเสียคลองสุเอซให้อียิปต์ในที่สุด
อิสราเอลประกาศตัวว่าไม่กลัวชาติอาหรับ และอย่าทำการปิดกันต่ออิสราเอลอีกหากทำเช่นนี้อีกจะถือว่าอียิปต์แสดงตัวเป็นภัยคุกคามต่อรัฐอิสราเอล และเราจะตอบโต้ทันที
อียิปต์ได้ครองสุเอซคืน ประธานาธิบดีนัสเซอร์ได้รับการสนับสนุนทั้งภายในและจากชาติอาหรับ
ทั้งนี้แม้เหตุการณ์จะดูสงบลงแต่คลองสุเอซก็ต้องปิดต่อไปอีกสักระยะ เนื่องจากอียิปต์ทำการจมเรือขวางคลองไว้ในช่วงที่มีการต่อสู้
ในทั้ง 2 ครั้งนี้อิสราเอลแสดงออกอย่างชัดเจนว่าคิดจะทำร้ายพวกเขามันไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะร่วมใจกันมาก็ไม่อาจจะลบชาวยิวออกจากแผนที่โลกได้ หากแต่ยิ่งทำให้ปรากฏเด่นชัดต่อสายตาชาวโลกต่างหาก
ขอบคุณที่อ่านจนจบ หากมีข้อมูลผิดพลาดตรงไหนช่วยแก้ไขไว้ในคอมเม้นท์ด้านล่างด้วยนะครับ และหากชอบเนื้อหาแนวนี้ ฝากเพื่อนช่วยกดติดตามไว้ด้วยนะครับ แชร์เพื่อแบ่งปันกันได้นะครับ สวัสดีครับ
และนี่คือเรื่องเล่าจากผมเองที่เป็นคนขี่แพะ
โดยอีก 2 ครั้งผมขอนำเสนอในตอนต่อไปนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา