21 ส.ค. เวลา 07:11

จิต เป็นสิ่งที่น่าสนใจจริงๆ

ผมได้ยินหลวงพ่อฯพูดถึงคำนี้มาหลายครั้งเลย
จิตหยิบฉวยอายตนะ จิตหยิบฉวยจิต
จิตปล่อยวางจิต
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แต่ก็ไม่เคยเข้าใจว่า สิ่งนี้คืออะไร?
จิต มันจะไปหยิบฉวยยังไง?
ตอนที่มันไปหยิบฉวยอายตนะ มันเป็นแบบไหน?
จนมาวันนี้ ฟังเทศน์หลวงพ่อตอนขับรถอยู่ ได้ยินคำนี้อีกครั้ง
ผมก็นึกถึงการปฏิบัติที่ทำมาทุกวัน รู้สึกว่า เหมือนจะเข้าใจอะไรบางอย่าง
จิต มันมีหน้าที่คิด นึก ปรุงแต่ง หลวงพ่อถ่ายทอดคำสอนหลวงปู่ดูลย์ ให้พวกเราฟังด้วยประโยคนี้บ่อยๆ พอเราปฏิบัติไปซักพัก เราก็จะเห็นว่า จิตมันเป็นอนัตตา หรือเรียกว่า มันมีลักษณะเป็น อนัตตลักษณะ คือ ควบคุมไม่ได้ คาดเดาไม่ได้
แต่สิ่งที่ทำให้จิตพุ่งทะยานออกไป คือ ตัณหา
เวลาที่ผัสสะกระทบกัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์แบบไหน จิตก็จะพุ่งไปหา แล้วเราจะหลอมรวมกับอารมณ์นั้น เสมือนว่าเป็นตัวเรา
แต่ถ้าเราคอยรู้ทันการเคลื่อนของจิตอยู่บ่อยๆ คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของจิตใจบ่อยๆ ตามที่หลวงพ่อสอน วันนึง จิตจะตั้งอยู่บนฐานของจิตเอง แล้วจะเป็นกลางต่ออารมรณ์ เมื่อเวลาผัสสะกระทบกัน จิตจะไม่พุ่งทะยานไปด้วยอำนาจของตัณหา แล้วจิตก็จะไม่หยิบฉวยเอาอารมณ์นั้นขึ้นมา
เมื่อผมมองเห็นกระบวนการนี้ ผมก็เข้าใจคำสอนของหลวงพ่อได้ทันทีว่า นี่สินะ ที่หลวงพ่อบอกว่า
จิตหยิบฉวยอายตนะ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สุดท้ายผมก็ทิ้งทุกอย่างที่ปฏิบัติมา ทิ้งไปให้หมด โดยผมจะถือว่าการปฏิบัตินี้ทำเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แล้วมอบให้กับทุกสรรพสิ่งบนโลก จะไม่ขอเก็บบุญกุศลใดไว้กับตัวเลย
สุดท้ายนี้ เส้นทางนี้ก็ยังต้องเดินต่อไป ขอให้ทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านนี้ เจริญในธรรมด้วยเถิด สาธุ
โฆษณา