1 ก.ย. เวลา 04:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

พลังงานไฟฟ้าสีเขียว (สะอาด) ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเรา (จะ) อย่างไร ?

เพื่อนบ้านของประเทศไทยเราทางทิศใต้
จะมีทิศทางการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศนี้ เป็นอย่างไร?
มีแผนงานรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
(ไฟฟ้าสีเขียว พลังงานสะอาด) ณ ตอนนี้ …
และอนาคตข้างหน้าอย่างไรบ้าง ?
▪️ ▪️ ▪️
บทความนี้จะ .. สรุปและเรียบเรียงให้ได้อ่านกัน ...
▪️ ▪️ ▪️
1️⃣ ไฟฟ้าของประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันผลิตจากเชื้อเพลิงอะไร ?
กำลังการผลิตติดตั้งราว 40,000 เมกะวัตต์
ร้อยละ 76 ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ)
ร้อยละ 24 ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (รวม Hydro Power)
มาเลเซียสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังความร้อนใต้พิภพ
ขนาด 30 เมกะวัตต์ ได้ด้วยนะครับ
(ผลิตที่เมือง Tawau เกาะบอร์เนียว)
แต่ที่แอบแปลกใจ คือ มาเลเซียไม่มี Wind farm ครับ
(นั่นเป็นเพราะความเร็วลมเฉลี่ยของมาเลเซียน้อยกว่า 5.8 m/s )
ซึ่งหากจะติดตั้งจะเป็นกังหันลมแบบ off shore
🚩เกร็ดเสริม
รัฐบนคาบสมุทรมลายู ใช้ไฟฟ้าเกือบร้อยละ 80
มาเลเซียมีแผนที่จะเข้าสู่ Carbon - Neutral ในปี 2050
โดยมีแผนการยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินด้วยในอนาคต
ด้วยการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ซึ่งจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 50
ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด
ในอดีตการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าของมาเลเซีย
อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
และสำหรับการพยากรณ์การเติบโตของไฟฟ้า
ในช่วงเวลา 2020 - 2030
พยากรณ์ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี
2️⃣ ระบบไฟฟ้าของมาเลเซีย ?
ระบบสายส่ง : ใช้ระดับแรงดัน 132 , 275 และ 500 กิโลโวลต์
(ความยาวรวม 34,000 กิโลเมตร)
สถานีไฟฟ้าเปลียนแรงดัน : 550 สถานี
ระบบจำหน่าย : 33 และ 11 กิโลโวลต์
ระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับครัวเรือน : เหมือนประเทศไทย 220 โวลต์
มาเลเซียมีเป้าหมายในอนาคตที่จะสร้างมาเลเซียให้เป็นศูนย์กลางของการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สำหรับการการขายไฟฟ้าในระดับพหุภาคี
มีแผนที่จะสร้างเครือข่ายระบบไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียตะวันออก และตะวันตก (มีระบบ submarine cable ในการเชื่อมโยง)
สำหรับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
ก็เช่นเดียวกัน จะมีการเชื่อมโยงในลักษณะ Asean Grid
🚩เกร็ดเสริม
หน่วยงานกิจการด้านไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าแห่งชาติมาเลเซีย
Tenaga Nasional Berhad (TNB)
หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยของเราคือ
เป็นหน่วยงานที่ EGAT PEA MEA รวมกัน
3️⃣ ระบบไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
เชื่อมโยงกับไทย ด้วย 300 เมกะวัตต์ แบบ HVDC (ที่ อ.สะเดา)
เชื่อมโยงกับสิงคโปร์ ด้วย submarine cable 230 กิโลโวลต์ 2 วงจร
(ยังมีที่ระดับแรงดัน 132 กิโลโวลต์ 80 เมกะวัตต์)
ด้วยระบบที่มีอยู่จากไทย มาที่มาเลเซีย และสิงคโปร์
ทำให้สามารถมีการส่งพลังงานจากลาว (โรงไฟฟ้าพลังน้ำ) ได้
เชื่อมโยงกับอินโดนีเซีย ที่เกาะกาลิมันตัน 275 กิโลโวลต์
230 เมกะวัตต์
▪️ ▪️ ▪️
ในอนาคตมีแผนอย่างไร ต่อจากนี้ ?
มีการลงนาม MOU จำนวน 2 ฉบับในเวทีการประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานของอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่เกาะบาหลี ในเดือนสิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา
ในการที่จะศึกษาผลด้านเทคนิค .. ที่จะ
เชื่อมโยงระหว่างเกาะสุมาตรา กับ มาเลเซีย
เชื่อมโยงระหว่างสิงคโปร์ กับมาเลเซีย เพิ่มเติมอีก
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงกับฟิลิปปินส์
ผ่านไปทางเกาะมินดาเนา อีกด้วย
4️⃣ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของมาเลเซีย
มีเหมือนประเทศไทยมั้ย ?
แผนดังกล่าวเป็นแผน 20 ปี กำหนดไว้ในปี 2020 -2040 ในขณะที่ประเทศไทยเรามีแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันว่าแผน PDP 2024 เป็นแผน 13 ปี สิ้นสุดแผนในปี 2037
มาเลเซีย มีกรอบเป้าหมาย .. พลังงานหมุนเวียน ดังนี้ครับ
🔸เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เป็นร้อยละ 31 ในปี 2025
ในจำนวนขนาดติดตั้ง 13,000 เมกะวัตต์
🔸ในปี 2035 เพิ่มเป็นร้อยละ 40 (ขนาดติดตั้ง 18,000 เมกะวัตต์)
และเป็นร้อยละ 70 ในปี 2050
🔸กรอบเงินลงทุนที่จะดำเนินการมากถึง 637 พันล้านริงกิต
(มูลค่า 5 ล้านล้านบาท) ตลอดช่วงเวลา 20 ปี (ปี 2030 - 2050)
🔸โดยก่อนหน้านี้มาเลเซียได้มีโครงการในระดับ large scale
ของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในขนาด 1,250 เมกะวัตต์
ในช่วงปี 2017 ถึง 2020 มาแล้ว
🚩เกร็ดเสริม
มาเลเซียมีแผนที่จะติดตั้ง ระบบ battery Storage
โดยจะมีการติดตั้งกำลังผลิตรวม 500 เมกะวัตต์หลังปี 2030
เพื่อจัดเก็บไฟฟ้าส่วนเกินจากการผลิตจากแสงอาทิตย์
5️⃣ ประเด็นที่จะต้องคำนึงในแผนพลังงานหมุนเวียนของมาเลเซีย
ค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมคือสิ่งที่ต้องคำนึง
ระบบสายส่ง จากโรงไฟฟ้า มายังเครือข่ายที่มีระยะไกล
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
▪️บทสรุปก่อนจบโพสต์ ▪️
แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของมาเลเซีย มีแนวทางคล้ายกับประเทศไทยเราคือมีกรอบการรองรับ Carbon - Neutral โดยคำนึงถึงค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของมาเลเซียที่จะเป็นจุดศูนย์กลางของการค้าพาหุภาคีด้านพลังงานหมุนเวียน (Energy Hub) ในกลุ่มประเทศ Asean ด้วยการเตรียมระบบสายส่งเพื่อเชื่อมโยง
ชื่นชมวิสัยทัศน์ ของมาเลเซีย …
ในเรื่องเตรียมความพร้อมเรื่องพลังงานหมุนเวียน ...
เรียบเรียงโดย
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
1 กันยายน 2567
อ้างอิง
เครดิตภาพ
pixabay และ freepik

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา