6 ก.ย. เวลา 07:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

อาเซียน จะมีการผลิตไฟฟ้าจาก solar มากแค่ไหน ?

กลุ่มประเทศอาเซียน มีเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจาก Solar ตามแผนการผลิตไฟฟ้าของชาติตนเอง เพื่อตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึง Carbon Neutral ในปี 2050
จากภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของประเทศที่อยู่ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร จึงมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจาก Solar
1
▪️▪️▪️
วันนี้เรามา .. เรียนรู้ ไปพร้อมๆกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ...
▪️▪️▪️
เวียดนาม
อันดับ 1 ในอาเซียนของการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์
ติดตั้งไปแล้ว 18,400 เมกะวัตต์ ติดตั้งมากกว่าประเทศในอาเซียนรวมกัน ปัจจัยที่สำเร็จของเวียดนาม คือการสนับสนุนจากรัฐบาล
แผนติดตั้งในปี 2030 เพิ่มอีก 2,600 เมกกะวัตต์
ทั้งนี้ในปี 2050 มีเป้าหมายอยู่ที่ 170,000 เมกะวัตต์
เวียดนามมีแผน PDP เพื่อเป็นกรอบเป้าหมายเช่นเดียวกับหลายประเทศ(ปัจจุบันเป็นแผนระยะที่ 8)
▪️▪️สิ่งที่ท้าทายสำหรับการติดตั้ง solar ของเวียดนาม ?
ความพร้อมของระบบ GRID ทั้งระบบส่ง และ ระบบจำหน่าย
เพื่อเชื่อมโยงการผลิตไฟฟ้าจาก solar เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงและเตรียมพร้อม
🚩เกร็ดเสริม
พื้นที่ติดตั้ง solar ขนาด 1 เมกะวัตต์
ใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 6,000 ตร.เมตร
▪️▪️▪️
สปป.ลาว
ประเทศเพื่อนบ้านของไทย มีจุดที่ทุกคนนึกถึงคือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนจำนวนมากที่ก่อสร้างใน สปป.ลาว
ในส่วนของโรงไฟฟ้า solar ของ สปป.ลาวแห่งแรก
ขนาด 10 เมกะวัตต์ เริ่มใช้งานในปี 2017
ปัจจุบันผลิตไฟฟ้าจาก solar ได้เพียงร้อยละ 1
ของกำลังการผลิตทั้งหมด
โรงไฟฟ้า solar ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีขนาด 64 เมกะวัตต์ และยังมี solar ลอยน้ำขนาด 240 เมกะวัตต์ ก็อยู่ในแผนการก่อสร้าง
ประเด็นความพร้อมของระบบ GRID คือสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมเช่นเดียวกับในกรณีของประเทศเวียดนาม
▪️▪️▪️
กัมพูชา
กัมพูชามีโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าคล้ายกับ สปป.ลาว คือ การมีโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ร้อยละ 54 และจาก Solar ร้อยละ 7
โรงไฟฟ้า solar ได้ถูกติดตั้ง 8 แห่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ
อยู่ระหว่างการติดตั้ง 3 แห่ง และอีก 3 แห่งอยู่ในแแผนงานในอนาคต หนึ่งในนั้นมีโรงไฟฟ้า Solar ของกัมพูชาขนาดที่ใหญ่ทึ่สุด คือ 225 เมกะวัตต์ (กัมปงสปือ ตอนกลางของประเทศ ) และมีกำลังการผลิตรวม 432 เมกะวัตต์
ในปี 2040 มีเป้าหมายติดตั้งมากถึง 3,200 เมกะวัตต์
และในปี 2050 กัมพูชามีแผนเพื่อ carbon neutral เช่นเดียวกัน
▪️▪️ความท้าทายของกัมพูชา คือ ?
การประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงระยะสองสามปีที่ผ่านมา กัมพูชามีการนำเข้าไฟฟ้าทั้งจากเวียดนาม ลาว และไทย รวมกันมากถึงร้อยละ 23
▪️▪️▪️
เมียนมาร์
เดิมก่อนการปกครองด้วยรัฐบาลทหาร เมียนมาร์มีโครงการติดตั้ง solar มากถึง 29 แห่ง โดยใน 28 แห่งเป็นโครงการที่บริษัทจากจีน ได้รับสิทธิ์ในการติดตั้ง (รวมกันราว 1,000 เมกะวัตต์)
1
แต่ปัจจุบันคงเหลือเพียง 3 โครงการที่ดำเนินการต่อ ..
มีตัวเลขที่น่าสนใจของปริมาณการเพิ่มขึ้นของ solar ในเมียนมาร์
ไม่น้อยกว่า 10 เท่าในช่วงปี 2022 - 2023 ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในเมียนมาร์
▪️▪️▪️
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่ตั้งแถบบริเวณศูนย์สูตร
มีศักยภาพในการติดตั้ง solar มากถึง 3,000 จิกะวัตต์ !!!
1
ในข้อเท็จจริงอินโดนีเซีย ติดตั้ง solar roof ได้เพียง 140 เมกะวัตต์ จากเป้าหมาย จำนวน 3,610 เมกะวัตต์ ซึ่งกำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2025 โดยในปีนี้ภาครัฐได้ปรับลดหลักเกณฑ์ขนาดติดตั้ง solar rooftop บนอาคาร รวมถึงจัดสรรโควต้า .. เพื่อให้ยอดการติดตั้งเพิ่มขึ้น
อินโดนีเซีย มีการติดตั้ง solar ลอยน้ำใหญ่ที่สุดย่านอาเซียน คือ 192 เมกะวัตต์ในพื้นที่ชวาตะวันตก ในปีที่ผ่านมา 340,000 แผง
และเป้าในปี 2030 มีแผนที่จะมี solar ลอยน้ำ ขนาด 26,650 เมกะวัตต์ ยังไม่รวม solar ในขนาดสเกลใหญ่อีก 4,680 เมกะวัตต์
Volume ของอินโดนีเซีย .. ใหญ่มากครับ
1
▪️▪️▪️
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ มีแผนพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ (ปี 2020 -2040)
ปัจจุบันมีการติดตั้ง solar ขนาดที่ใหญ่กว่า 100 เมกะวัตต์
อยู่หลายแห่ง ได้แก่
🔸Concepcion PV ตอนกลางของลูซอน ขนาด 150 เมกะวัตต์
🔸 Cadiz Park ตะวันตกของวิสายาส ขนาด 132.50 เมกะวัตต์
🔸Alaminos Park ในเขตตาลาบาโซน ขนาด 120 เมกะวัตต์
🔸 Subic Bay Park ตอนกลางของลูซอน ขนาด 100 เมกะวัตต์
ฟิลิปปินส์ มีแนวทางการรับซื้อไฟฟ้า รวมถึงรูปแบบ net metering
และมาตรการทางภาษี ที่ดีเป็นผลให้ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ในระนาบเดียวกันกับเวียดนามในด้านพลังงานหมุนเวียน และ ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน มากกว่าภาครัฐ
1
ตรงจุดนี้แตกต่างจากอินโดนีเซีย
ที่ขับเคลื่อนด้วยภาครัฐ
▪️▪️▪️
สรุปก่อนจบโพสต์
จะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียน มีแผนมุ่งสู่ความเป็น carbon neutral และมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจาก solar แบบก้าวกระโดด
สำหรับประเทศไทยเราเอง ก็มีแผนงานติดตั้ง solar ไม่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ย่านอาเซียน ภายใต้แผน PDP 2024 ฉบับล่าสุด
เมื่อสิ้นสุดแผนจะมีสัดส่วนร้อยละ 16 ของกำลังการผลิตทั้งหมด และหากนับเป็นอันดับในเรื่อง solar ก็จะเป็นรองเพียงเวียดนาม (ค่อนข้างมากทีเดียว)
▪️▪️▪️
รถไฟขบวนนี้ ... น่าจะไม่มีใครตกขบวน
▪️▪️▪️
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
เรียบเรียง
6 กันยายน 2567
▪️▪️▪️
เครดิตภาพ
pixbay และ freepik
▪️▪️▪️
อ้างอิง แหล่งข้อมูล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา