17 ก.ย. 2024 เวลา 05:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ประเทศเล็กๆ แต่ทรงคุณภาพ อย่างสิงคโปร์ เตรียมการอย่างไรเรื่องไฟฟ้าสีเขียว ...

เล็กแต่ทรงพลังอย่างสิงคโปร์
พื้นที่ขนาดราว 700 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
(ใกล้เคียงเกาะภูเก็ต)
เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง
เป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับ 4
มีพื้นที่สีเขียวต่อประชากร มากกว่า กทม.ของเราราว 10 เท่า
วันนี้เรามาเรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน เรื่องไฟฟ้าสีเขียวในประเทศนี้
ประเทศที่ยืนหนึ่งในอาเซียน .. และระดับโลก
1️⃣ ปัจจุบันสิงคโปร์ ใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชนิดใด ?
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 มาจาก LNG และน้ำมัน
และมีสัดส่วนของ LNG ค่อนข้างมาก
โดยมีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพียงร้อยละ 5
2️⃣ กลไกโครงสร้างด้านพลังงานไฟฟ้าของสิงคโปร์ เป็นอย่างไร ?
สิงคโปร์มีการเสรีในตลาดพลังงานไฟฟ้า โดยการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในปัจจุบันยังมีการลงทุนค่อนข้างต่ำ
จุดเปลี่ยนเรื่องไฟฟ้าสีเขียวของสิงคโปร์ ก็คือ ภาษี carbon tax ที่มีการเพิ่มขึ้นจะทำให้แนวคิดและนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าของสิงคโปร์ มีการลงทุนมากขึ้น
โดยรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ปรับภาษี Carbon tax
ขึ้นจาก 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อตันคาร์บอน
เป็น 10 -15 ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นขั้นบันไดไปเรื่อยๆ
และเมื่อถึงปี 2030 จะเก็บในอัตรา 80 ดอลลาร์สิงคโปร์
ต่อตันคาร์บอน
▪️▪️เกร็ดเสริม ▪️▪️
ภาษี carbon tax คือ ค่าภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการผลิต
การจำหน่าย หรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา
ทั้งนี้สิงคโปร์เก็บภาษีนี้มาตั้งแต่ปี 2019
หรือเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา
1
3️⃣ อนาคตโรงไฟฟ้าของสิงคโปร์ เป็นอย่างไร ?
เน้นการผลิตจากแสงอาทิตย์ และมีเป้าหมาย
ในการผลิตพลังงานหมุนเวียน อย่างน้อย 2,000 เมกะวัตต์
ในปี 2030 (ผลิตในประเทศเอง)
แต่ด้วยศักยภาพทางภูมิประเทศ และขนาดของประเทศ ทำให้สิงคโปร์ต้องเพิ่มวิธีการอื่น .. นั่นคือ นำเข้าพลังงานสะอาดจากประเทศเพื่อนบ้าน
และที่น่าทึ่งคือมีแผนการนำเข้าจากออสเตรเลีย
(โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์)
ในสัดส่วนร้อยละ 15 ของการใช้ไฟฟ้าของสิงคโปร์ ในปี 2030
จำนวนมากถึง 30,000 เมกะวัตต์ผ่านเคเบิลใต้น้ำจาก solar farm
ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย (ระยะทางกว่า 4,200 km)
4️⃣ นอกเหนือจากการนำไฟฟ้าจากออสเตรเลีย ยังมีที่ไหนอีกบ้าง ?
จาก สปป ลาว (โรงไฟฟ้าพลังน้ำ)
จำนวน 100 เมกะวัตต์ ผ่านไทย และ มาเลเซีย
จาก มาเลเซีย จำนวน 100 เมกะวัตต์
(พลังงานหมุนเวียน) เป็นโครงการนำร่อง
จากอินโดนีเซีย (แสงอาทิตย์) อีก 3,400 เมกะวัตต์
(ผ่านเคเบิลใต้น้ำ)
ยังมีแผนซื้อจากเวียดนาม และจากกัมพูชา ... อีก ?
เวียดนาม 1,200 เมกะวัตต์ และกัมพูชา 1,000 เมกะวัตต์
(ผ่านสายส่งของ กฟผ ของไทยซึ่งต้องมีการปรับปรุง GRID)
▪️▪️สรุปก่อนจบโพสต์ ▪️▪️
Vision ของประเทศสิงคโปร์ นี้ล้ำหน้าและสุดยอดจริงๆครับ
ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด ในทุกๆมิติ
แต่มีแนวคิดที่ล้ำหน้ามากๆ ในทุกเรื่องที่จะพัฒนาประเทศ
ผลิตจากแสงอาทิตย์ไม่ได้เพราะพื้นที่จำกัด
ผลิตจากกังหันลมไม่ได้ .. เพราะความเร็วลมไม่ได้
ผลิตจากเทคโนโลยี น้ำขึ้นน้ำลง ก็ไม่ได้ .. ด้วยความเป็นท่าเรือ
1
ถ้าอย่างนั้น ก็ .. นำเข้าจากต่างประเทศเสียเลย ..
** ไฟฟ้าสีเขียวของสิงคโปร์ ผลิบาน แล้ว **
*** เพื่อเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ***
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
17 กันยายน 2567
เครดิตภาพ pixabya / freepik

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา