17 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ

“เพกา” สมุนไพรพื้นบ้าน วิตามินซีและเอสูงมาก! สรรพคุณ-ข้อควรระวัง

เพกา หลายคนคงรู้จักดีอยู่แล้วแต่รู้หรือไม่? เพกานับสมุนไพร “เพกาทั้ง 5” มีวิตามินซีและวิตามินเอสูง อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อม เผยสรรพคุณอื่นๆ และข้อควรระวังที่คนท้องไม่ควรกิน!
เพกา หรือ ลิ้นฟ้า หมากลิ้นฟ้า นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้าน มีการใช้มานาน เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด และบำรุงร่างกายของคนสมัยก่อน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้น โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) นิยมกินแนมน้ำพริก หรือทำเมนูต่างๆ อาทิ ผัดเพกา ผัดเพกาหมูสับ เป็นต้น
ฝักเพกา
สารเคมีในเพกา
● ราก มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols
● แก่น มี Prunetin, B- sitosterols
● ใบ มี Aloe emodin
● เปลือก มี Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein
● ประโยชน์ผักเพกา
ฝักอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินซีถึง 484 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ และยังประกอบไปด้วยมีวิตามินเอสูงถึง 8,300 มิลลิกรัม (ซึ่งพอ ๆ กับตำลึงเลยทีเดียว)
● ยอดอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.7 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.4 มิลลิกรัม, โปรตีน 6.4 กรัม, ไขมัน 2.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม และให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี
● เพกา มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5” สมุนไพรเพกายังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
● ประโยชน์อื่นๆ ของเพกา
เมล็ดของเพกามีรสเย็น เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ผสมอยู่ในน้ำจับเลี้ยงของจีน เป็นยาเย็น มีฤทธิ์แก้ไอขับเสมหะ
● ในฝักเพกา มีวิตามินซีสูงมากถึง 484 มิลลิกรัม/100กรัม สูงพอๆกับมะขามป้อมที่ได้ชื่อว่ามีวิตามินซีสูงที่สุด ฝักเพกามีชื่อเสียงในด้านการป้องกันโรค ทำให้ไม่เจ็บป่วย สู้กับหวัดได้ทุกสายพันธุ์
● ใบ เป็นยาเย็น เป็นส่วนประกอบสำคัญในยาเขียว สรรพคุณฝาด ขม แก้ปวดข้อ แก้ปวดท้อง เจริญอาหาร
● ราก รสฝาดขมร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร ขับเสมหะ ขับน้ำออกจากร่างกายเป็นยาแก้ท้องร่วง ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้อักเสบฟกบวม
● เปลือกต้น รสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย ดับพิษโลหิต แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้เสมหะ ขัยเสมหะ บำรุงโลหิต ขับเลือดเน่า ทาแก้ปวดฝี บม
● เมล็ด ต้มกินเป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
● ยอดอ่อน กินเป็นผักสด ลวกกิน เผากินได้
● ข้อควรระวังควรรู้ก่อนกินเพกา
หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะมีฤทธิ์ร้อน โดยอาจทำให้แท้งบุตรได้
● ควรระวังในการใช้เพการ่วมกับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน (aspirin) ,วาฟาริน (warfarin) , สารสกัดแปะก๊วย (Ginko biloba)
● เพกาเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
● เมล็ดแก่ มีพิษ ห้ามกินดิบ
ทั้งนี้หากอยากลองกินเพกา ควรทำให้สุกก่อน กินคู่กับผักชนิดอื่นและโปรตีนคุณภาพ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ถึงแม้เพกาจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่หากมีอาการผิดปกติไม่ควรฝืนกินและควรพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก : Medthai และrspg
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/food/5865
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา