22 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ

ภาวะ Presenteeism ฝืนทำงานทั้งที่ไม่ไหวแต่ไม่กล้าลา เผยปัจจัย-วิธีแก้

ใจดีกับตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ต้องแลกกับอะไรเลย...ชวนรู้จัก ภาวะฝืนทำงาน Presenteeism กายไม่พร้อม ใจป่วย แต่ฝืนมาทำงานเพราะไม่กล้าลา กลัวถูกมองไม่ทุ่มเท เผยปัจจัยและวิธีแก้
ภาวะฝืนทำงาน หรือ Presenteeism ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งหากขยายความและข้อมูลจาก แอปพลิเคชันอูก้า (Ooca) คือ ภาวะที่มาทำงานทั้งๆที่สภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าลา และยังมาทำงานอยู่ เพราะกลัวถูกมองไม่จริงจังกับงานเท่าที่ควร เชื่อว่าหลายคน ตกอยู่ในภาวะนี้ แต่อาจไม่รู้ตัว
ฝืนทำงาน
ปัจจัยหลักภาวะ Presenteeism
ปัจจัยทางสังคมในที่ทำงาน หรือที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์กรและนโยบายของบริษัท
มองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทันเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน
● นิสัยและสภาพจิตใจส่วนตน คนที่ตกอยู่ในสภาวะ ฝืนทำงาน อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง จึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แทนการใส่ใจตัวเอง
นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150% ขณะที่รายงานอีกฉบับของ CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า
วิธีแก้ภาวะ Presenteeism
● ปรับความคิดตัวเอง รักตัวเองให้มากขึ้น เพราะการลาหยุดไม่เพื่อพักผ่อนกายและใจเป็นสิทธิของเรา เพราะทุกคนสามารถไม่สบาย และเหนื่อยล้าได้
● หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ ควรใช้สิทธิไปตามที่มีอยู่ตามความเหมาะสม เพราะ ทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกเบิร์นเอ้าท์ไม่อยากทำงาน และไม่มีความสุขในการทำงานได้
● หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น
ใจดีกับคนอื่นอาจไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าใจดีกับตัวเอง อย่างน้อยก็ได้ฮีลจิตใจตัวเอง ดีทั้งร่างกายและสุขภาพจิต เพราะหากแบกรับความเครียดมากเกินไปจนสะสม อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล รักษายากกว่าเดิมได้ สุดท้ายหากอะไรที่มันดึงเกินไปจนเราเองรับไม่ไหว ควรมองหาโอกาสใหม่ๆให้ตัวเอง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะคะ ^^
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/how-to/5885
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา