Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
สัญญาณฮอร์โมนผิดปกติ เกิดได้ทั้งหญิงและชาย ปล่อยไว้เสี่ยงกระดูกพรุน
หงุดหงิดง่าย มีปัญหาด้านการนอน อาจเป็นสัญญาณฮอร์โมนผิดปกติ ชวนรู้จักฮอร์โมนที่สำคัญทั้งของคุณผู้หญิงและผู้ชาย เปิดสาเหตุและวิธีรักษาภาวะพร่องฮอร์โมน
ฮอร์โมน Hormones คือสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งปริมาณและการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุก็แตกต่างกัน
ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ หลัก ๆ คือ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน
ปวดหัว
โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน ซึ่งหากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปอาจทำให้มีการสะสมไขมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนง่าย และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดและไขมันในเส้นเลือด
อาการของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- นอนหลับยาก
- ไม่มีสมาธิ
- กระดูกเปราะง่าย
- ช่องคลอดแห้งและฝ่อตัว มีผลต่อเพศสัมพันธ์ เกิดถุงน้ำ เนื้องอกที่เต้านม มดลูก และรังไข่ได้
● ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone ถูกสร้างจากรังไข่ในช่วงหลังไข่ตกและบางส่วนจากรก โดยจะมีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือนกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่ได้รับการผสมจากไข่และอสุจิแล้ว ดูแลการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย
● ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองเพื่อกระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโตและพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ รวมถึงมีผลต่อการเติบโตทางเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หากฮอร์โมน FSH ผิดปกติจะทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่และอาจมีผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์ได้
● ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) สร้างจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วตกจากรังไข่เพื่อพร้อมรับการผสมอสุจิ หากฮอร์โมน LH ต่ำเกินไปจะทำให้มีการตกไข่ ส่งผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์ แต่หากมีมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อการเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ได้
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ในช่วงวัยทอง
● วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เพศหญิงหยุดการมีประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ซึ่งช่วงอายุของวัยทองจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 48-52 ปี หรือมีเหตุที่ต้องตัดมดลูก รังไข่ เช่น การมีซีสต์ หรือสาเหตุอื่นทางนรีเวช และต้องมีการตรวจรังไข่ทั้งสองข้างเพื่อนำรังไข่ออก จะทำให้สตรีเหล่านี้ขาดฮอร์โมนเพศ ทำให้เข้าสู่วัยทองได้เช่นกัน
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอย่างสมบูรณ์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และเทสเตอโรนลดลงอย่างมาก และฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) และ Luteinzing hormone (LH) จะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศ มีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง มวลกระดูกบางลง ส่งผลให้กระดูกเปราะง่าย และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองได้
● ฮอร์โมนทดแทนวัยทองสตรี
ในผู้ที่มีอาการรุนแรง การใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างลดลง จะช่วยลดอาการต่าง ๆ รวมถึงป้องกันการเกิดกระดูกพรุนในระยะยาว โดยฮอร์โมนที่ใช้มีทั้งกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการรับประทาน แผ่นแปะ เจล หรือเจลหล่อลื่นสำหรับใช้รักษาภาวะช่องคลอดแห้งโดยเฉพาะ ซึ่งปริมาณของฮอร์โมนในแต่ละรูปแบบมีขนาดที่แตกต่างกันไป
การให้ฮอร์โมนทดแทนอาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิดและโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีข้อห้ามในการใช้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม จึงควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและพิจารณาการใช้ยา รวมถึงการปรับขนาดยาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ควรซื้อฮอร์โมนทดแทนรับประทานเอง
● ฮอร์โมนเพศชาย
ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศชายที่ร่างกายสร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่ควบคุมและสร้างลักษณะทางกายภาพของเพศชาย ทั้งยังสนับสนุนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้สมดุล เช่น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone โดยปกติจะมีระดับอยู่ที่ 300 – 1,000 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ได้ลดลง ซึ่งนอกจากสาเหตุอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว พฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการสร้างฮอร์โมนเพศชายได้ เช่น
- การรับประทานของทอด ของมัน หรือของหวานเป็นประจำ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ
ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศชายทดแทน จะมีด้วยกันหลายวิธี โดยแต่ละวิธีจะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแพทย์จะทำการให้คำแนะนำและร่วมตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยในการเลือกวิธีที่เหมาะสมตามรายบุคคล ทั้งนี้ ไม่ว่าจะหลังจากการตรวจค่าฮอร์โมนแล้วหรือเป็นผู้ที่ไม่เคยตรวจมาก่อนก็ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะการได้รับยาทั้งชนิดปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลเสียมากกว่าได้ผลดี จึงแนะนำให้ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้รู้ถึงสาเหตุปัญหาที่แท้จริง
รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายในแบบเฉพาะราย เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละบุคคลที่สุด ซึ่งฮอร์โมนทดแทน มีดังนี้
การฉีดฮอร์โมนเพศชาย เป็นวิธีแบบ One Stop Service ที่ใช้เวลาไม่นาน ฉีดแล้วสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวล
การใช้เจลเพิ่มฮอร์โมน เป็นวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทนที่ได้ผลดี โดยจะทาบริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือหน้าท้องในช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน
การป้องกันและรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล การขาดฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุนและภาวะอื่น ๆ ที่สำคัญในระยะยาว ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ หากิจกรรมผ่อนคลายทำบ้าง เพื่อความสมดุลของสุขภาพในระยะยาวนะคะ
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/5911
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
ร่างกาย
สุขภาพจิต
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย