12 ต.ค. 2024 เวลา 04:00 • ธุรกิจ

ให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้า ไม่มีผลเป็นการลาออก แต่เป็นการเลิกจ้าง

วันนี้ได้รับสายจากฝ่ายบุคคลของบริษัทหนึ่ง โทรมาปรึกษาด้วยความไม่สบายใจ เนื่องมาจากว่า นายจ้างบอก HR ว่า
"ในวันเซ็นสัญญาจ้าง ก็ให้เค้าเซนใบลาออกไว้ล่วงหน้าเลย ไม่ต้องกรอกวันที่ มีปัญหา หรือทำงานไม่ลงตัว เราก็กรอกวันที่ เรียกเค้ามารับทราบ เป็นการลาออกด้วยลายมือลูกจ้างเอง ลูกจ้างไม่สามารถเรียกค่าชดเชยได้”
ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเกิดในการนำสืบลูกจ้างมีหลักฐานมานำสืบได้ว่าลูกจ้างได้เซ็นใบลาออกนั้นไว้ล่วงหน้า ใบลาออกนั้นไม่มีผลเป็นการลาออกแต่เป็นการเลิกจ้าง
หากอ้างอิงจากหนังสือการเลิกจ้าง ของอาจารย์พงศ์รัตน์ เครือกลิ่น ได้มีประเด็นใกล้เคียงกันในเรื่องดังกล่าวกล่าวคือ ลูกจ้างมาฟ้องว่านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด จึงฟ้องร้องขอเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่นายจ้างก็บอกว่าลูกจ้างเป็นผู้ลาออกเอง โดยในคดีดังกล่าวศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า
ในระหว่างทำงานลูกจ้างมีการเปลี่ยนชื่อโดยมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อมาแสดง ปรากฏว่าชื่อที่ลงไว้ในใบลาออกเป็นชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนชื่อใหม่ จึงน่าเชื่อได้ว่านายจ้างให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อไว้ในใบลาออกในขณะเข้าทำงานจริง เพราะปกติบุคคลมีชื่อใดก็ย่อมลงชื่อของตนในขณะนั้นจะไม่นำชื่อในอดีตหรืออนาคตมาลงไว้
แนะนำจากใจเลยนะ กรณีที่ทำงานร่วมกันไม่ได้ แนะนำให้ตกลงคุยกันดีดีถ้าไม่สามารถจ่ายตามสิทธิ์สิทธิ์ที่ลูกจ้างพึ่งได้รับตามกฏหมายก็ขอผ่อนจ่ายหรือตกลงร่วมกันไม่ใช่ไปบังคับขู่เข็ญหาช่องว่างทางกฎหมายหรือวิธีการอื่นใดที่จะไม่ต้องจ่าย …ใจเขาใจเรานะ ..
ติดต่องาน
#เลิกจ้าง #ไล่ออก #สัญญาจ้าง #ที่ปรึกษาpdpa #ไล่ออก #กฎหมายแรงงาน #PDPA #ลูกจ้าง #เจ้านาย #ที่ปรึกษากฎหมาย #วิทยากรอารมณ์ดี #อบรมpdpa #ค่าชดเชย #บริษัท #หนังสือPDPA #Professional #วิทยากรPDPA
โฆษณา