3 ต.ค. เวลา 17:01 • ธุรกิจ

ต้นทุนกับต้นทุนแฝงแตกต่างอย่างไร

ต้นทุนกับต้นทุนแฝงทั้งคู่คือต้นทุนทั้งหมด แต่สิ่งที่แต่งต่างกันคือการที่ต้นทุนคือการเขียนลงไปในกระดาษหรือสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าได้เสียเงินก้อนนั้นไปจริง ต้นทุนแฝงคือการที่เขียนกระดาษแต่เงินของผู้อ่านไม่ได้เสียจริงมันเป็นแค่ตัวเลขในกระดาษเท่านั้น
ต้นทุน คือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สำหรับการผลิตสินค้าหรือ การบริการ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เงินที่ต้องจ่ายไปเพื่อซื้อสินค้า วัตถุดิบ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาผลิตสินค้าให้เกิดยอดขาย โดยต้นทุนจะเริ่มตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การตรวจสอบ ทดสอบ จัดเก็บ การขนส่ง แต่ละอย่างที่กล่าวมา จะมีต้นทุนในตัวเองทั้งนั้น ซึ่ง ผู้ประกอบการ จะต้องวาง แผนธุรกิจ สร้างต้นทุนที่คุ้มค่า และทำให้เกิดยอดขาย ให้ได้ผลกำไรที่คุ้มกับต้นทุนมากที่สุด
การจำแนกต้นทุน มีการแบ่งออกแบบ 3 แบบใหญ่ๆ และมีการแยกย่อยออกไปในแต่ละหัวข้อ
1.การจำแนกต้นทุนตามการตัดสินใจเป็นการตัดสินใจลงทุน ที่มีหลักการ 4อย่าง
ต้นทุนการเสียโอกาส
เป็นต้นทุนในการเลือกตัดสินใจ ดำเนินการทางใดทางหนึ่ง แล้วเลือกทิ้งโอกาสที่ควรจะได้ในอีกเส้นทาง ซึ่งมันอาจจะทำได้ดีกว่า แต่การตัดสินใจที่ลังเล อาจทำให้เสียต้นทุนเสียโอกาสไปได้
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้
เป็นต้นทุนที่เราเลือกได้ว่าจะจ่ายอะไร และจะประหยัดอะไร เพื่อให้ต้นทุนใช้น้อยที่สุด แต่ก็ต้องเกิดผลให้ได้คุ้มทุนเช่นกัน
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เป็นต้นทุนที่ธุรกิจยังคงต้องจ่ายอยู่ แม้จะยกเลิกการดำเนินการส่วนนั้น ก็ยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ต้นทุนจม
เป็นต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต แต่ไม่มีผลกับปัจจุบัน แต่ต้นทุนที่เกิดขึ้นในอดีต ยังคงเป็นค่าใช้จ่าย ที่ยังต้องจ่ายเพื่อลงทุนต่อไป
2.การจำแนกต้นทุนตามการปฏิบัติงาน
โดยปกติ ก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ต้นทุนการผลิต และ ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งต้นทุนการผลิต จะเป็นต้นทุนเริ่มแรก ที่มีกระบวนการผลิตสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการผลิต
3.การจำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุนมีพฤติกรรมอยู่ 2 ต้นทุน
ต้นทุนผันแปร อันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระดับงานที่เกิดขึ้น เช่น หากงานผลิตลดลง ต้นทุนก็ลดลง หากมีการผลิตสินค้ามากขึ้น ต้นทุนการผลิตก็สูงมากขึ้น
ต้นทุนผสม มีการผสมผสานระหว่างต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร ซึ่งบางทีก็มีการลด บางทีก็มีการเพิ่ม และในบางครั้งก็ยังคงที่ไม่มีการจ่ายต้นทุนเพิ่มใดๆ
ต้นทุนแฝง (Implicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน เครื่องมือเครื่องจักร เป็นต้น แต่จากการใช้ไปของปัจจัยการผลิตนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับมาแก่กิจการ หรือผลตอบแทนที่กลับมาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ต้นทุนแฝงจึงเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือมองไม่เห็น (Hidden Cost) และในการบันทึกรายการทางบัญชีไม่ได้นำมารวมเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
ประเภทของต้นทุนแฝง
1. ต้นทุนแฝงในรูปของค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าคลิปหนีบกระดาษ ค่าลวดเย็บเอกสาร เป็นต้น
2. ต้นทุนแฝงจากการติดต่อสื่อสาร
ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการเดินทาง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเดินทางไปพบลูกค้า ค่าเดินทางในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตสินค้า ค่าเดินทางเพื่อซื้อสินค้าเข้าร้านเป็นต้น
3. ต้นทุนแฝงในรูปของเวลา
ได้แก่ การสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นของกิจการจากเวลาที่สูญเสียไป ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การรอวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต ทำให้พนักงานแผนกผลิตว่างงาน เนื่องจากต้องใช้เวลารอวัตถุดิบมาถึงก่อนจึงจะทำการผลิตสินค้าต่อได้ การรอการอนุมัติจากผู้บริหารในการลงนามในเอกสาร การรอการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น การรอเหล่านี้จะทำให้เกิดการเสียโอกาสในการใช้เวลาเพื่อดำเนินการในส่วนที่จะช่วยสร้างมูลค่าหรือรายได้ของกิจการ
4. ต้นทุนแฝงในรูปของสินค้าคงคลัง
-การเกิดสินค้าล้าสมัย ได้แก่ การที่กิจการมีสินค้าคงคลังในปริมาณมากและสินค้ามีการตกรุ่นทำให้สินค้าขายไม่ออก หรือต้องลดราคาขายลง
– การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เพราะต้องการส่วนลดในการสั่งซื้อ หรือกิจการไม่มีการวางแผนการผลิตทำให้วัตถุดิบล้นสต็อก จนเกิดของเสียหรือเสื่อมสภาพ
– ปริมาณสินค้าคงเหลือที่ไม่พอเหมาะ ทำให้สินค้าขาด/เกิน เช่น กิจการร้านอาหารสั่งวัตถุดิบมาสต็อกไว้ในปริมาณที่มากเกินไป จนวัตถุดิบเหลือและเกิดการเน่าเสีย หรือการสั่งซื้อวัตถุดิบมาในปริมาณน้อยเกินไปทำให้เสียโอกาสในการขาย
– การจัดซื้อวัตถุดิบคุณภาพดีเกินความจำเป็น ในบางกิจการ ผู้ประกอบการให้ความใส่ใจคัดสรรเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดีสำหรับลูกค้า ซึ่งทำให้ต้นทุนสินค้าสูงและราคาขายสูงตามไปด้วย ซึ่งลูกค้าไม่ได้ต้องการสินค้าคุณภาพสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการลงทุนไปกับวัตถุดิบที่ดีเกินความจำเป็น
5. ต้นทุนแฝงจากการเปลี่ยนพนักงานบ่อยๆ
การเปลี่ยนพนักงานบ่อยทำให้ต้องมีการสอนงานและฝึกอบรมพนักงานใหม่ เกิดค่าเสียโอกาสในการใช้เวลาสอนงานแทนที่จะใช้เวลาไปทำงานที่สร้างมูลค่าให้แก่องค์กร และพนักงานใหม่ยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับกิจการจนกว่าจะทำงานเป็น
ต้นทุนแฝง สิ่งที่กิจการควรระวัง
ตันทุนแฝงเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ถูกมองข้าม ซึ่งต้นทุนแฝงจะส่งผลเสียต่อกิจการ
1. ต้นทุนแฝงจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา เช่น ต้นทุนแฝงจากสินค้าล้าสมัย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและค่าจ้างพนักงานดูแลสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2. ต้นทุนแฝงทำให้ผลกำไรของกิจการลดลง หรืออาจมีผลขาดทุนได้
3. ต้นทุนแฝงทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่กิจการ
4. ต้นทุนแฝงทำให้การจัดการทรัพยากรขององค์กรไม่มีประสิทธิภาพ
5. ต้นทุนแฝงถือเป็นรูรั่วของธุรกิจ เป็นโอกาสที่อาจทำให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้
การลดต้นทุนแฝงทำอย่างไร
1. การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย
1.1 การนำระบบ e-Procurement ซึ่งเป็นกระบวนการจัดซื้อทางออนไลน์ที่ประสานการทำงานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีความปลอดภัยสูงมาใช้ในการจัดซื้อ ซึ่งจะช่วยให้กิจการลดค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการสามารถวางแผน วิเคราะห์คัดเลือก Supplier การเปรียบเทียบราคา ลดการเกิด Human Error และช่วยลดการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อ ช่วยลดการใช้กระดาษ มีความถูกต้อง สามารถติดตามตรวจสอบการสั่งซื้อภายหลังได้
1.2 การนำระบบ MRP (Material Requisition Planning) มาใช้ในกิจการผลิต MRP เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อการจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบของกิจการ ซึ่งจะช่วยควบคุมแผนการสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า การจัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
2. การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
2.1 การบริหารจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบ คลังสินค้าสำเร็จรูป คลังอะไหล่ โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุม สามารถตรวจสอบกับปริมาณสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริงได้ รวมทั้งการจัดทำเอกสารในระบบคลังสินค้าให้เป็นระบบเดียวกัน ไปจนถีงความสามารถในการตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือได้ในระบบเรียลไทม์
2.2 การบริหารจัดการ Dead Stock (สินค้าคงเหลือที่ค้างในสต็อกเป็นเวลานาน ไม่มีการเคลื่อนไหว) เพื่อลดปริมาณสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม เพิ่มพื้นที่ในการเก็บสินค้า
2.3 การลดของเสีย โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้
2.3.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) เป็นการควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด
2.3.2 การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ(Quality Assurance หรือ QA) เป็นการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า โดยเน้นการวางแผนในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าชำรุดหรือไม่ได้คุณภาพ
2.3.3 แนวคิด Zero Defect เป็นแนวคิดในการจัดการผลิตให้ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นแนวคิดในการสร้างระบบโรงงานที่ดี ได้แก่ การใช้ระบบ Automation Design & System Integration ซึ่งเป็นการออกแบบและสร้างระบบการผลิตแบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นในการวางแผนการผลิตและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพการผลิต
3. การวางแผนการจัดการงบประมาณ
เป็นการควบคุมการเกิดต้นทุนแฝงโดยใช้งบประมาณ โดยการวิเคราะห์ผลต่างของต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณที่ตั้งไว้ เช่น การวิเคราะห์ผลต่างของราคาวัตถุดิบที่จ่ายซื้อกับที่ตั้งประมาณการไว้ เมื่อพบว่าราคาจ่ายซื้อวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
4. การจัดทำรายงานทางบัญชี
การจัดทำรายงานทางบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบการเงิน หรือรายงานเพื่อเสนอผู้บริหาร (Financial Management Report) จะช่วยเจ้าของกิจการในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและต้นทุน ทำให้ทราบข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายครบถ้วนและถูกต้อง สามารถควบคุมต้นทุนแฝงไม่ให้เกิดขึ้นได้
ต้นทุน สามารถจำแนกได้หลายแบบ และการลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนให้มาก เพื่อไม่ให้กลายเป็นต้นทุนที่เสียไปสูญเปล่า ก็ต้องวางแผนเงินต้นทุน คิดวิเคราะห์ให้เยอะ ก่อนตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ และเสียต้นทุนจนไม่ได้กำไร ถ้าเราไม่อยากเป็นหนึ่งในกิจการที่ “ขายดี” แต่ “เจ๊ง
ข้อมูลอ้างอิง
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
ต้นทุนคือเงินที่เสีย
ต้นทุนแฝงคือเงินที่จะเสีย
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา