5 ต.ค. เวลา 17:00 • ธุรกิจ

ทำไมเราต้องใช้เช็ค?

เช็คมันก็เหมือนกับการใช้เงินสด แต่มันจะมีจุดที่เหมือนกันอยุ่คือเงินสดคือการที่ผู้อ่านหยิบเงินสดออกมาจากกระเป๋าตังค์ของผู้อ่านเองและต้องสามารถสัมผัสได้ได้เป็นชิ้นเป็นอันจึงจะสามารถเรียกเป็นเงินสดได้ เช็คนับว่าเป็นกระดาษในหนึ่งที่สามารถนำไปขึ้นเงินกับทางธนาคารได้ แต่มันก็จะมีจุดที่แตกต่างกันคือเช็คให้บริษัทหรือนิติบุคคลสามารถจ่ายได้เหมือนเป็นคนจริงๆ
เช็คคืออะไร
เช็ค คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้ในจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน
บุคคล/สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเช็ค
1. ผู้สั่งจ่าย
เป็นผู้ที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และลงนามสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระเงินให้แก่ผู้รับเงิน
2. ผู้รับเงิน
เป็นผู้ที่รับเช็คจากผู้สั่งจ่ายและนำเช็คที่ได้มาขึ้นเงินสดกับธนาคาร หรือนำเช็คเข้าบัญชี
3. ธนาคารผู้สั่งเรียกเก็บ (Sending Bank)
คือ ธนาคารที่ผู้รับเงินเปิดบัญชี เมื่อผู้รับเงินนำเช็คเข้าบัญชี ถ้าเป็นเช็คของธนาคารอื่น ธนาคารผู้สั่งเรียกเก็บจะส่งข้อมูลเช็คไปเรียกเก็บกับธนาคารผู้จ่าย และเมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้ว ธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงิน
4. ธนาคารผู้สั่งจ่าย (Paying Bank)
คือ ธนาคารที่ผู้สั่งจ่ายเปิดบัญชี มีหน้าที่ตรวจสอบลายเซ็นของผู้สั่งจ่ายว่าเป็นไปตามเงื่อนไขการสั่งจ่ายที่ผู้สั่งจ่ายได้ทำตามข้อตกลงไว้กับธนาคาร จากนั้นธนาคารผู้สั่งจ่ายจะทำการหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่าย เพื่อทำการจ่ายเงินให้กับธนาคารของผู้รับเงิน
ข้อดีของการใช้เช็ค
1. มีความปลอดภัยมากกว่าการถือเงินสด
การซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น บ้าน,,รถยนต์ เป็นต้น การนำเงินสดไปซื้อมีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม การใช้เช็คจึงมีความปลอดภัยมากกว่าการถือเงินสดไปซื้อ
2. ช่วยป้องกันการทุจริต
การใช้เช็คสามารถช่วยป้องกันการทุจริต เนื่องจากธนาคารสามารถตรวจสอบที่มาของรายการย้อนหลังได้ ทำให้ผู้รับเงินเกิดความมั่นใจมากกว่าการรับเป็นเงินสด
3. ช่วยให้ธุรกิจเกิดสภาพคล่องในการหมุนเวียนการใช้เงิน สามารถบริหารจัดการนำเงินสดไปใช้ในส่วนที่จำเป็น
เช็คส่วนใหญ่มี 2 แบบ ตือ
1.เช็ค​บุคคลธรรมดา คือ เช็คที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค
2.เช็คนิติบุคคล คือ เช็คที่องค์กร/บริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค...
ประเภทของเช็คในทางกฎหมายเช็คมีด้วยกัน 2 ประเภท
1. เช็คผู้ถือ
เป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเช็คจะระบุชื่อผู้รับเงินหรือไม่ระบุชื่อผู้รับเงินก็ได้ การที่ผู้สั่งจ่ายกรอกตัวเลขและตัวหนังสือและลงนามในเช็ค ไม่ว่าจะระบุชื่อผู้รับเงินหรือไม่ก็ตาม แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ก็ถือว่าเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้รับเงินที่ถูกระบุชื่อไว้หรือผู้ถือก็ได้
2. เช็คระบุชื่อ
เป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า ”หรือผู้ถือ” ออก เช็คดังกล่าวธนาคารจะจ่ายเงินให้กับผู้ที่ถูกระบุชื่อเป็นผู้รับเงินแต่เพียงผู้เดียว ในการสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า ”หรือผู้ถือ” ถือว่าเป็นเช็คระบุชื่อ แต่เป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีชื่อผู้รับเงิน เช็คจะถูกปฏิเสธจากธนาคาร กรณีที่ผู้สั่งจ่ายกรอกคำว่า ”เงินสด” ในช่อง ‘จ่ายหรือผู้ถือ” ถือว่าเป็นเช็คระบุชื่อ แต่เป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะคำว่า” เงินสด” ไม่ใช่ชื่อผู้รับเงิน
นอกจากนี้เช็คยังแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้งานตามธุรกรรมทางการเงิน
1. แคชเชียร์เช็ค
เป็นเช็คที่ลูกค้าที่ชำระเงินสดให้ธนาคารก่อน แล้วธนาคารจะออกเช็คของธนาคารให้กับลูกค้า เรียกว่า แคชเชียร์เช็ค แล้วลูกค้านำไปมอบให้ผู้รับเงินเอง ซึ่งไม่มีความเสี่ยงในการเกิดเช็ตเด้ง
2. เช็คเดินทาง
เป็นเช็คที่ผู้เดินทางนำหลักฐานการเดินทางได้แก่ ตั๋วเครื่องบินหรือพาสปอร์ต มาขอซื้อเช็คกับธนาคารเพื่อนำไปเบิกเงินสดในต่างประเทศ
3. ดราฟท์ธนาคาร
เป็นตั๋วแลกเงินที่ธนาคารหนึ่งมีคำสั่งให้อีกธนาคารหนึ่งจ่ายเงินที่กำหนดให้แก่บุคคลที่ถูกระบุชื่อไว้บน ดราฟท์
4. เช็คขีดคร่อม
เป็นเช็คที่เขียนเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้หน้าเช็ค โดยผู้รับเงินต้องนำเช็คฝากเข้าบัญชีก่อนที่จะเบิกเป็นเงินสด
โดยเช็คขีดคร่อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ก. เช็คขีดคร่อมทั่วไป
เป็นเช็คขีดคร่อมที่สามารถนำฝากเข้าบัญชีของธนาคารใดก็ได้
– เช็คขีดคร่อม&Co มี 2 กรณี
ถ้าเป็นเช็คที่ระบุ ”หรือผู้ถือ” ผู้รับเงินสามารถนำฝากเช็คเข้าบัญชีที่ธนาคารใดก็ได้
ถ้าเป็นเช็คที่ระบุ ”หรือตามคำสั่ง” ต้องนำเช็คเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ระบุในเช็ค หรือถ้าเข้าบัญชีผู้อื่นต้องมีการโอนสลักหลังเช็คนั้นด้วย
– เช็คขีดคร่อมA/C Payee Only เป็นเช็คที่ต้องนำฝากเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อที่ระบุไว้หน้าเช็คเท่านั้น ไม่สามารถโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลัง
ข. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ
คือ เช็คที่ระบุชื่อธนาคารไว้ในเส้นขนานและผู้รับเงินต้องนำเช็คฝากเข้าบัญชีธนาคารตามที่ระบุไว้
การโอนเช็คและการสลักหลัง
การโอนเช็ค
– เช็คจ่ายผู้ถือ สามารถโอนเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบเช็คให้แก่ผู้รับ โดยผู้ใดก็ตามที่เป็นผู้ถือเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคาร ธนาคารจะจ่ายเงินสดให้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีการสลักหลังเหมือนอย่างเช็คระบุชื่อแต่อย่างใด
– เช็คระบุชื่อ สามารถโอนเปลี่ยนมือได้โดยการสลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้รับโอน
การสลักหลัง
การสลักหลัง เป็นการเขียนข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อ หรือลงลายมือชื่ออย่างเดียวที่ด้านหลังของเช็คเพื่อแสดงการโอนเช็ค การสลักหลังมีด้วยกัน 2 แบบ
1 .การสลักหลังเฉพาะ
เป็นการสลักหลังเช็คที่ระบุชื่อผู้รับโอน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง การสลักหลังถ้าจะโอนเช็คให้เฉพาะตัว สามารถระบุการห้ามสลักหลังต่อไว้ได้
2. การสลักหลังลอย
เป็นการสลักหลังเช็คที่ลงลายมือชื่อผู้สลักหลังเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับโอน
ข้อควรระวังในการใช้เช็ค คือ
  • 1.
    เช็คมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค
  • 2.
    ต้องมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค
  • 3.
    จำนวนเงินตัวหนังสือและตัวเลขถูก​ต้องตรงกัน
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเช็ค
สำหรับผู้สั่งจ่าย
-การเขียนเช็คควรใช้ปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม และไม่ควรใช้ปากกาหมึกสีสะท้อนแสง ปากกาหมึกซึม หรือดินสอ
-การกรอกจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขนั้น ควรเขียนให้ชิดกับสัญลักษณ์ “฿” หรือเขียนครื่องหมาย “=” ข้างหน้าตัวเลข เพื่อป้องกันการเติมตัวเลขด้านหน้า
-การแก้ไขข้อความบนตัวเช็ค ควรหลีกเลี่ยงการแก้ไขข้อมูลบนหน้าเช็คเพื่อป้องกันการทุจริต ในกรณีที่จำเป็น ผู้สั่งจ่ายควรใช้วิธีขีดฆ่าข้อความที่ต้องการแก้ไขทั้งหมด พร้อมลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข โดยไม่ควรใช้น้ำยาลบคำผิด
-ผู้สั่งจ่ายควรติดต่อธนาคารเพื่อขอยกเลิกเงื่อนไขการสั่งจ่ายที่ใช้ตราประทับ/ตรานูน/ตราสี เนื่องจากต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำให้การจ่ายเงินตามเช็คล่าช้ากว่าทั่วไป
-ผู้สั่งจ่ายต้องเตรียมเงินในบัญชีให้เพียงพอสำหรับการชำระเงินตามวันที่ระบุในหน้าเช็ค เนื่องจากการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั่วประเทศทำได้ภายใน 1 วันทำการ (ระบบ ICAS)​
สำหรับผู้รับเช็ค
-เมื่อทำเช็คหาย ควรรีบแจ้งให้ผู้สั่งจ่ายเช็คทราบโดยเร็ว พร้อมทั้งขอให้ผู้สั่งจ่ายสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คฉบับนั้นทันที หลังจากนั้นให้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และนำสำเนาดังกล่าวมอบให้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อธนาคารประกอบการระงับการจ่ายเงินตามเช็คฉบับนั้น และออกเช็คฉบับใหม่ให้แทน
-เมื่อได้รับเช็คที่มีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย (หรือที่เรียกว่า เช็คเด้ง) ควรรีบติดต่อผู้สั่งจ่ายเพื่อตรวจสอบเงินในบัญชีก่อนนำเช็คฝากเรียกเก็บใหม่  ทั้งนี้ ผู้สั่งจ่ายต้องเสียค่าปรับเช็คคืนให้กับธนาคารผู้จ่ายด้วย
-การดูแลรักษาเช็ค ควรหลีกเลี่ยงการพิมพ์ เขียน ขูด ลบ หรือประทับตราบริเวณแถบว่างส่วนล่างสุดของเช็ค รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเจาะหรือทำให้เช็คเป็นรู การพับเช็ค หรือการทำให้เช็คเปียกชื้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
เงินในเช็คอาจจะหมดไป แต่ความรู้ในการจัดการเงินจะอยู่กับเราเสมอ
Easy Finance

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา