5 ต.ค. เวลา 05:45 • สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ไม่ใช่แค่คิดมากกังวลไปเอง แต่ระบบประสาทบกพร่อง

ความคิดวกวนปิดน้ำหรือยัง ปิดไฟหรือยัง จนไม่เป็นอันทำงาน อาจไม่ใช่แค่ขี้ลืมแต่ป่วยโรคย้ำคิด ย้ำทำ ทำ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) เกิดจากระบบประสาทที่มีการทำงานบกพร่อง เปิดพฤติกรรมเข้าข่าย ย้ำคิด และ ย้ำทำ
มีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ย้ำแล้วย้ำอีก อาจเข้าข่าย โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) โดยมักมีพฤติกรรมทำซ้ำๆ เช่น ปิดน้ำหรือยัง ปิดไฟหรือยัง ปิดแอร์หรือยัง เป็นพฤติกรรมก่อนออกจากบ้านที่หลายคนต้องคอยตรวจเช็กความเรียบร้อย เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ถ้าหากมีอาการลักษณะนี้มากจนเกินไปจนรู้สึกไม่มีสมาธิจะทำงาน แม้ว่าจะตรวจสอบดีแล้ว
โรคย้ำคิดย้ำทำ
ควรรีบตรวจเช็กตัวเองให้ดีเลยว่ากำลังเสี่ยงจะเป็น “โรคย้ำคิดย้ำทำ” หรือ
ไม่เพื่อหาวิธีจัดการ
● โรคย้ำคิด ย้ำทำ เกิดจากอะไร ?
ความจริงแล้วโรคย้ำคิด ย้ำทำ (OCD) เกิดมาจากการทำงานผิดปกติในสมอง และระบบประสาทที่มีการทำงานบกพร่องอาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุคือ มีการทำงานของสมองบางส่วนมากเกินปกติ สมองส่วน Orbitofrontal, Cingulate Cortex, Caudate และ Thalamus หรือเกิดความผิดปกติของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมภาวะอารมณ์ความรู้สึก ส่วนสาเหตุอื่นๆ
ที่พบได้อาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอย่างประสบการณ์เลวร้ายที่พบเจอในชีวิต เช่น ผู้ป่วยอาจเจอเหตุการรุนแรงในวัยเด็ก ถูกทารุณกรรมทั้งทางกาย และทางใจ หรือปัญหาชีวิตที่รุนแรงก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
● อาการโรคย้ำคิดย้ำทำที่มักเกิดขึ้น
เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจมีแค่อาการย้ำคิด (Obsession) ซึ่งเป็นแค่ความคิดภายในสมองที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ ทำให้เกิดความกังวลใจ ไม่สบายใจ และไม่สามารถหยุดคิดได้ มีความคิดวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็เกิดจากการจินตนาการไปเองว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น หรืออาจมีอาการย้ำทำ (Compulsion)
คือมีการตอบสนองความคิดความกังวลนั้นด้วยการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้ลดความไม่สบายใจ หรือความกลัวนั้นลง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำเพื่อตอบสนองการย้ำคิด เช่น คิดว่ามือสกปรกเลยต้องล้างมือซ้ำๆ ล้างแล้วล้างอีก ส่วนใหญ่จะพบอาการย้ำคิดร่วมกับย้ำทำ โดยพบร้อยละ 80 โดยที่เหลืออีกร้อยละ 20 มีแต่อาการย้ำคิด
● อาการย้ำคิด
- กลัวความสกปรกมากกว่าปกติ กลัวติดเชื้อโรคจากการหยิบจับหรือสัมผัสสิ่งต่างๆ
- เกิดความไม่สบายใจทันทีถ้าเห็นความไม่เป็นระเบียบ สิ่งของที่จัดไม่เท่ากัน ไม่เรียบร้อย ไม่สมดุล
- วิตกกังวลถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เช่น คิดว่าลืมปิดเตาแก๊ส ลืมล็อกประตูหรือเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
- มีความคิดยึดติดหรือเชื่ออย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องศาสนา หรือเรื่องเพศ
● อาการย้ำทำ
- ล้างมือบ่อยๆ เกินความจำเป็น หรือทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ แบบซ้ำๆ ตรวจความเรียบร้อยซ้ำๆ อย่างการไปปิดแก๊ส ล็อกประตู เดินไปดูแล้วดูอีก เดินเข้าเดินออก
- จัดระเบียบหรือจัดสิ่งของต่างๆ แบบที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่นต้องหันไปทิศทางเดียวกันทั้งหมด
- มักจะต้องทำทุกสิ่งให้ครบตามจำนวนที่ตนเองกำหนดไว้
- ชอบเก็บสะสมสิ่งของมากเกินความจำเป็น
ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันนี้ก็มียาที่สามารถช่วยบรรเทา และควบคุมอาการอยู่เช่นกัน รวมถึงการรักษาโดยการบำบัดด้วย ซึ่งการใช้ยานั้นโดยปกติยาที่แพทย์มักใช้กับผู้ป่วยโรคย้ำคิด ย้ำทำนี้มักจะใช้ยาในกลุ่มแก้โรคซึมเศร้า ซึ่งก่อนรับยาจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ พูดคุยอย่างละเอียดเสียก่อน
● ป้องกันตนเองจากโรคย้ำคิดย้ำทำได้อย่างไร ?
เบื้องต้นแนะนำรีบไปพบแพทย์และหาทางรักษา หากจำเป็นต้องรักษาควรมีความอดทนกับการเข้ารับการบำบัดและฝึกตัวเอง การรักษาไม่ควรใจร้อน เพราะอาการของโรคย้ำ คิดย้ำทำ มักจะค่อยๆ ดีขึ้น อาจไม่เร็วอย่างที่คิด แต่จำเป็นต้องบำบัดดูแลเพื่อช่วยลดความรุณแรงของโรคได้
นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการลดความรุนแรงที่สามารถทำเองได้ด้วย เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้นๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ถึงแม้โรคย้ำคิดย้ำทำจะไม่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต แต่ก็กระทบถึงการใช้สามารถเข้ารับการรักษาเพื่อลดความรุนแรงของโรคลงได้ ด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือรับการบำบัดจากนักจิตบำบัดได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/how-to/5951
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา