Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ต.ค. เวลา 05:45 • สุขภาพ
วิธีอยู่ร่วมกับผู้ป่วยซึมเศร้า การรับฟังอย่างเข้าใจ ช่วยให้ดีขึ้นได้
ปัจจุบันเราพบผู้ป่วยซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยซึมเศร้าคือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและหายเร็วขึ้น
โรคซึมเศร้า ไม่ใช่แค่อาการอ่อนแอทางจิตใจ แต่คืออาการป่วยทางร่างกายสารเคมีในสมองอย่างหนึ่ง ดังนั้น คนที่ไม่ได้ป่วยย่อมไม่สามารถรู้สึกถึงสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งถ้าคนใกล้ตัวเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราจะดูแลพวกเขายังไงให้เข้าใจเขาได้มากที่สุด
อยู่ร่วมกับผู้ป่วยซึมเศร้า
สิ่งที่ควรทำกับผู้ป่วยซึมเศร้า
● พูดคุยชี้ให้ผู้ป่วยให้เห็นมองเห็นข้อดีของตัวเองเสมอ เพราะหัวใจของการรักษาโรคซึมเศร้า นอกเหนือจากการใช้ยาแล้วคือการที่ผู้ป่วยต้องมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ที่จะทำให้อยากใช้ชีวิตอยู่และมีกำลังใจสู้ต่อ
● ชวนผู้ป่วยให้ลุกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นเล่นกีฬาเบาๆ เล่นเกม ทำงานคราฟท์ นอกจากจะลดโอกาสที่จะคิดฟุ้งซ่านและคิดหดหู่แล้ว การเคลื่อนไหวร่างกายยังช่วยหลั่งสารความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมา ให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยาเลย
● รับฟังด้วยความตั้งใจ และท่าทีที่สบายๆ ไม่คะยั้นคะยอ และไม่ตัดสินใจแทน นั่นเพราะผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีความคิดว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ หรือเป็นภาระให้คนอื่นอยู่แล้ว ดังนั้น การจะให้ผู้ป่วยพูดคุยระบายความรู้สึก ต้องให้พวกเขารู้สึกก่อนว่ามีคนอยากรับฟัง และไม่กดดันหรือตัดสินเขา สร้างความไว้วางใจ และบรรยากาศสบายๆ ให้ผู้ป่วยได้เล่าสิ่งที่อยากพูดออกมาเต็มที่ เพราะในบางครั้งเขาอาจมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรืออยากตาย หากว่าคนรอบข้างได้มีโอกาสรับฟัง จะได้สามารถป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
สิ่งที่ไม่ควรทำกับผู้ป่วยซึมเศร้า
● อย่าบอกปัด ผู้ป่วยให้ไปเข้าวัดฟังธรรมหรือทำจิตใจให้สงบ โดยไม่อยู่เคียงข้างพวกเขา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกทันทีว่าไม่มีที่พึ่งพา หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ และยิ่งตีตัวออกห่าง ส่งผลให้เกิดความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ได้
● อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน หรือไม่อยากพูดถึงเมื่อผู้ป่วยพูดถึงการอยากตาย หลายๆ คนคิดว่าการเอ่ยหรือพูดคุยถึงเรื่องการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเป็นแนวโน้มให้ผู้ป่วยอยากทำ หรือชี้โพรงให้กระรอก แต่ในความเป็นจริงแล้วหากผู้ป่วยเอ่ยถึงการอยากตาย แล้วคนใกล้ตัวกลับมีท่าทีต่อต้าน หรือทำเป็นไม่สนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกคิด หรือมีคำพูดทำนองว่า “อย่าคิดมาก” “อย่าคิดอะไรบ้าๆ” ยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงอย่างมากว่าเราไม่รับฟังสิ่งที่เขารู้สึก คับข้องใจ ไม่มีวันจะเข้าใจเขาจริงๆ
● อย่ากดดันและเร่งรัด ถ้าผู้ป่วยยังอาการไม่ดีขึ้น ห้ามพูดหรือทำให้พวกเขารู้สึกว่า “เมื่อไหร่จะหาย” หรือ ”หายได้แล้ว” เพราะผู้ป่วยจะยิ่งรู้สึกกดดันและผิดหวังว่าตนเองเป็นที่น่ารำคาญหรือเป็นภาระ และหากอาการเพิ่งเริ่มดีขึ้น ความเครียดเหล่านี้จะยิ่งส่งผลให้จิตใจแย่ลงและอาจเป็นหนักกว่าเดิม
ทั้งนี้ควรเข้าหาและบอกว่า ยินดีช่วยเหลือ พร้อมรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ พร้อมพาไปพบจิตแพทย์ และไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อถึงวันตรวจตามนัด หากผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบอกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/how-to/5977
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
สุขภาพจิต
ซึมเศร้า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย