19 ต.ค. เวลา 04:01 • ครอบครัว & เด็ก

พูดอย่างนี้ทำไม หลานมันกินก็ดีแล้ว

วันนี้เรา ลงไปข้างล่างหลังจาก ตื่นนอน ปกติเราอยู่ร่วมกันกับพ่อแม่ การที่อยู่ร่วมกัน ทั้งที่โตมันแล้วนี่เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยปรารถนาเท่าไหร่ ถ้าพูดกันตามตรงไม่โลกสวย เพราะมีความขัดแย้งทางความคิดเยอะเกินไป คิดกันคนละอย่าง แต่สุดท้าย พ่อแม่ก็จะคิดว่าตัวเองถูกเราผิดเสมอ เค้าไปบ่นให้หลานฟังเรื่อยว่าเราหัวแข็ง ดื้อ เถียงคำไม่ตกฟาก ไม่มีเหตุผล ทั้งที่เค้านั่นแหละในสายตาเราเป็นอย่างที่เขาพูดทุกอย่างเลย ความคิดเห็นมันต่างกันจริงๆ
เราไม่สามารถอยู่กับพ่อแม่ได้ อันนี้อย่าว่ากันนะคะเราแค่เปรียบเปรย เราก็เลยต้องทนอยู่ต่อไปถ้าเราไม่แยกไปอยู่ตัวคนเดียว การอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ฟังเผินๆ ดูเหมือนอบอุ่นแต่ความจริงแล้วเต็มไปด้วยการขัดแย้งทางความคิด
เราเถียงไปให้เหตุผลไป ฝ่ายพ่อแม่โดยเฉพาะแม่เสียงดังมาก เราก็เสียงดังกลับเพราะเถียงกันไปมา ขอสารภาพเลยเราก็เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา มีอารมณ์โกรธอยู่
เราก็เลยตอบโต้เสียงดังกลับไป
แต่ตอนที่เราตอบโต้กลับไปนี่แหละหลานเล็กสองคนโดยเฉพาะหลานชายซึ่งอายุน้อยกว่ามาก แล้วเหมือนถูกเลี้ยงประคบประหงมมาโดยพ่อแม่เราที่เป็นปู่ย่าเค้า ก็เลยมีความคิดแบบไดโนเสาร์ไปหน่อย เพราะเด็กสมัยนี้ไม่ควรยอมตามอะไรง่ายๆ โดยไม่มีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว แต่ไม่ใช่หลานชายเรา เพราะอิทธิพลแบบนั้นหลานชายเราก็เลยมีความคิดเหมือนคนอายุ 70 กว่าที่เลี้ยงเค้ามาทั้งที่หลานอายุแค่หกขวบ
มันน่าเศร้านะ หลานเรามีความคิดเหมือนคนอายุ 70 ถ้าให้พูดสวยๆ คืออนุรักษ์นิยมสุดๆ ถ้าให้พูดตรงๆ คือ มีความคิดและการกระทำแบบไดโนเสาร์เต่าล้านปีมาก ไม่พัฒนาเลย
ตอนเช้าถ้าเราตื่นแล้วลงไปข้างล่างเลยเหมือนวันนี้ ปกติจะมีปากเสียงกับพ่อแม่ทุกที เราเลยไม่ค่อยอยากลง ไม่ค่อยอยากเจอหน้าพ่อแม่ เพราะอยากหลีกเลี่ยงการปะทะทางความคิด ปะทะทางคำพูด แล้วสุดท้ายก็ปะทะกันทางอารมณ์ แล้วก็จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายอารมณ์เสียไปทั้งวันเสมอ
แต่วันนี้เราลงไป คิดว่าเราหาเรื่องใส่ตัวหรือเปล่าคะ
เราก็พยายามตั้งสติตลอดเวลา คุยแต่กับหลานสาวที่นั่งกินข้าวอยู่ตอนนั้น เพราะถ้าคุยกับเขาเกินสองประโยค มันต้องมีความเห็นไม่ลงรอยกัน แล้วก็ต้องทะเลาะกัน ซึ่งเราไม่อยากทะเลาะกันแต่เช้า
ตอนที่เราลงไปเราเห็นหลานสาวยูริ กำลังกินข้าวอยู่ กับข้าวเค้าเป็นผัดผักใส่เนื้อสัตว์ ซึ่งเราเห็นแล้วแหละกับข้าวมันเหลืออยู่วางบนโต๊ะกินข้าว
ผัดผักจานนี้สำหรับจมูกเราแล้วมันเหม็นเขียว เราก็เลยพูดไปโดยไม่คิดว่า
“ ยูริ หนูกินได้ยังไง อานตี้ว่ามันเหม็นเขียวนะ เก่งนะ“
คือเราก็แค่พูดเล่นกับหลานไม่ได้จริงจังอะไร เพราะคำพูดประมาณนี้เราพูดเล่นกับหลานหลายครั้งแล้ว
แต่ไม่รู้ทำไมวันนี้พ่อเราเค้าถึงขัดหู ทั้งที่คำพูดแบบนี้เราพูดมาเป็นสิบๆครั้งแล้ว
เพราะว่าเราไม่กินผักแต่กินผลไม้ ขณะที่หลานสาวกินผักแต่ไม่กินผลไม้ มันก็เลยเหมือนเป็นมุกภายในที่เราจะแซวหลาน
แต่คราวนี้พ่อกระโดดเข้ามาร่วมด้วยเว่า
“ พูดอย่างนั้นทำไม หลานมันกินก็ดีแล้ว”
ตอนนั้นเราเงียบไปเพราะไม่รู้ว่าจะตอบโต้ว่ายังไงแต่ก็รู้สึกตะหงิดๆ
พอมานั่งทบทวนความรู้สึก เราก็คิดได้ว่า มันเป็นความแตกต่างทางความคิดอีกอย่างหนึ่งแหละ
จริงอยู่ที่เราพูดเหมือนจะไม่ดีนักออกไป แต่มันก็เหมือนจะเป็นมุกภายในที่เรากับหลานสาวรู้กัน เราก็จะแซวกันประมาณนี้เสมอ แต่พ่อเราไม่รู้ไง แต่เค้าตัดสินเฉยเลย
การที่พ่อพูดว่า“ พูดอย่างนี้ทำไม หลานมันกินก็ดีแล้ว” แสดงให้เห็นถึงความคิดของคนสมัยเก่าหรือเปล่า
การที่เราพูดออกไปว่าสิ่งนี้มันกลิ่นแรงนะในความคิดเรา แต่หลานสาวเค้าไม่มายด์ ไม่สนใจเค้าก็ยังกินต่อ ก็แปลว่าเค้ารับรู้ แต่เค้าก็ยังอยากที่จะทำ มันก็เป็นสิ่งดีไม่ใช่หรอ
การที่เค้ารู้ข้อเสียแต่ก็ยังทำต่อ มันหมายความว่าเค้าชอบทำสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ว่าใครจะพูดอะไรเค้าก็ยังยึดมั่นในสิ่งที่เขาชอบทานอยู่ดี ฉะนั้นมันน่าชมเชยจะตาย
แต่พ่อเราทำเหมือนกับจะปิดบังไม่ให้หลานรู้เอาไว้ว่ามันมีสิ่งที่ไม่น่าโสภาอยู่ในการกระทำนั้นด้วย พยายามหลอกให้คิดว่าการทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีสิ่งไม่ดีอยู่เลย
ทำไมถึงใช้ชีวิตกันด้วยการหลอกลวง
การที่หลานสาวรู้ว่าสิ่งนั้นมีข้อเสียแต่ก็ยังทำ ก็แปลว่าเค้ายอมรับสิ่งนั้น ทั้งข้อดีและข้อเสียของมัน ดีออก รู้แต่ก็ทำ แต่ว่าเค้ายอมรับสิ่งนั้นทั้งดีและไม่ดี
แต่เหมือนพ่อเราคิดว่า ไม่ให้รู้ความจริงแต่ให้ทำดีกว่า ซึ่งมันก็เหมือนการหลอกลวงในความคิดเรา
สำหรับคนในยุคสมัยใหม่ปัจจุบันน่าจะมีความคิดอยู่ว่า ทำทั้งที่รู้ว่ามันมีข้อเสีย
แต่สำหรับคนรุ่นพ่อเราหรือพ่อเรานี่แหละมีความคิดว่า “บังคับให้ทำทั้งที่มีข้อเสีย ”แต่อ้างว่าทำไปเพราะหวังดี มันไปต่อยากแฮะถ้าเล่นไม้นี้
คือข้อจำกัดในเรื่องอาหารนี่มี 108 พ่อแม่เราบังคับหลานทั้งหมด เค้าทำอะไรลูกๆ ที่โตแล้วไม่ได้ เค้าก็เลยไปลงที่หลาน หลานๆ อายุน้อยอยู่ไม่สามารถต้านทานเขาได้ ถึงจะพูดแสดงความเห็นออกไป มันก็ไม่หนักแน่นพอเพราะหลานสองคนอายุแค่ 6 ขวบกับ 11 ขวบมันไม่มีน้ำหนักเท่าไหร่
แล้วพ่อแม่หลานก็มักจะยอมตามปู่ย่าเพราะไม่อยากเสียงดังใส่ การทะเลาะกันทั้งที่มันเป็นความแตกต่างทางความคิด คือถ้าเป็นการเถียงกันโดยใช้เหตุผลหักล้าง เราว่ามันเป็นประชาธิปไตยทางความคิดนะ ใครๆ จะคิดอะไรก็ได้ แค่เอาเหตุผลมาหักล้างกัน
แต่สำหรับปู่ย่าจะเป็นเป็นการเถียงโดยใช้อารมณ์โดยใช้คำพูดที่ว่า “ หวังดี” “ เชื่ออากุงกับคุณย่าเถอะ” เสมอ ไม่ได้โต้เถียงกันด้วยเหตุผล คิดดูดูสิคะเด็ก 6ขวบกับ 11 ขวบจะปฏิเสธได้ยังไงในเมื่อพ่อแม่เค้ายอมศิโรราบ
เราเป็นคนที่ที่ไม่ยอมรับวิธีการแบบนี้ เราก็ต้องเถียงโดยใช้เหตุผลนั่นแหละ แต่เราอาจจะควบคุมควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีพอ เพราะพอปู่ย่าใช้เสียงดังเถียงเริ่มก่อนโดยไม่มีเหตุผลอะไรเลย เราก็เหมือนติดอยู่ในเสียงดังนั้น ก็เลยเสียงดังกลับไป เราใช้เหตุผลมากกว่า เราก็เลยพูดเยอะกว่า หลานๆ ก็เลยมองว่าเราเป็นฝ่ายเสียงดัง
มันยาก นะคะที่จะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่เ หนื่อยใจค่ะ
เราคงต้องย้ายออกแล้วแหละ มีที่ไหนแนะนำไหมคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา