24 ต.ค. เวลา 04:52 • สุขภาพ

มองอนาคต: ความเสี่ยงสุขภาพจิตคนไทยในอีกสิบปีข้างหน้า

[#สุขภาพจิต] FutureTales Lab by MQDC เผยบทวิเคราะห์ความเสี่ยงสุขภาพจิตจากเมกะเทรนด์ที่ประเทศไทยต้องเผชิญในทศวรรษหน้า เป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัย อนาคตสุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2576 (Future of Mental Health in Thailand 2023) พร้อมข้อเสนอแนะสู่การปฏิบัติระดับเมือง เพื่อยกระดับสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคต
⚠️ หมายเหตุ: บทความมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิต
อย่ารอช้า! เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตในอนาคตตั้งแต่วันนี้
🔊 ดาวน์โหลดฟรี: งานวิจัย อนาคตสุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2576 (Future of Mental Health in Thailand 2033) https://www.futuretaleslab.com/.../futuresofmentalinthail...
ติดต่อเพื่อจัดอบรมหรือบริการที่ปรึกษาเพื่อสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการรองรับต่ออนาคต: contact@futuretaleslab.com
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #Thailand #MentalHealth #WorldMentalHealthDay #MQDC
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การผ่านกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม การอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย การเรียกร้องสิทธิเพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น
ความท้าทายเหล่านี้เชื่อมโยงกับความท้าทายของสุขภาพจิต เช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า วิกฤตตัวตน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่มีแนวโน้มต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลมากกว่าโดยเฉลี่ยถึง 15%
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตให้ผู้คนทุกช่วงวัยในสังคม เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพจิตตนเองและคนรอบข้าง
- รณรงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องความแตกต่างหลากหลาย เพื่อลดอคติ และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในเมืองและองค์กร
- สนับสนุนนโยบายเพื่อส่งเสริมความหลากหลายและความเสมอภาคในระดับเมืองและระดับองค์กรเพื่อนับร่วมคนทุกกลุ่ม เช่น วันลาเลี้ยงบุตรสำหรับผู้ปกครองทุกเพศ การออกแบบพื้นที่ด้วยอารยสถาปัตย์ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ เป็นต้น
- สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในระดับชุมชน โดยเน้นการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพจิต เพื่อให้คนในชุมชนสามารถสังเกตอาการและประเมินความเสี่ยงสุขภาพจิตเบื้องต้นได้
อ่านเพิ่มเติม: DEI&B และการดึงดูด Talent https://www.facebook.com/share/p/kPV3TvjWDn1n6tg9
อ่านเพิ่มเติม: สนามเด็กเล่นสำหรับทุกคน https://www.facebook.com/share/p/1FAGvQ31tLb1NQWg/
อ่านเพิ่มเติม: บทบาทของเจเนอเรชัน Z กับการเคลื่อนไหวทางเพศ https://www.facebook.com/share/p/poVP36HwhdJwcPxS/
อ่านเพิ่มเติม: เมืองที่ดีต่อสุขภาพจิตสำหรับเจเนอเรชัน Z https://www.facebook.com/share/p/SnPpS3dNLhXybHtB/
อ่านเพิ่มเติม: เมืองที่ดีต่อสุขภาพจิตสำหรับเจเนอเรชัน Alpha https://www.facebook.com/share/p/fhsHvBBLQH1nrGfp/
การปรับตัวและพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้คนไทยและหลายประเทศทั่วโลกเริ่มเข้าสู่ยุค “AI-first generations” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีการประเมินว่า จะถูกดำเนินการด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ถึง 30% ภายในปี ค.ศ. 2030
การพึ่งพาเทคโนโลยีและขาดปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น 20%
นอกจากนี้ ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความเหงา ภาวะวิตกกังวล และความขัดแย้งทางความคิด (Cognitive dissonance) กำลังกลายเป็นความเสี่ยงสุขภาพจิตสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนเมือง
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- พัฒนากฎระเบียบและมาตรฐานจริยธรรมในการกำกับดูแลและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับบริบทองค์กรและแต่ละอุตสาหกรรม
- พัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีแก่ผู้ใช้งาน
- ผสมผสานประสบการณ์การทำงานร่วมกันโดยมนุษย์และเทคโนโลยีให้เหมาะสม
ยกตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: การทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนในอนาคต https://www.facebook.com/share/p/yfL2s2D7gPbjdnge/
อ่านเพิ่มเติม: จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ https://www.facebook.com/share/p/YCZY63iUnNLnYEfW/
อ่านเพิ่มเติม: ราคาที่ต้องจ่ายหากไม่ใส่ใจจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ https://www.facebook.com/share/p/SAjYD8kiQhx6g69U/
การเสพติดดิจิทัลและอาการเหนื่อยล้าจากการได้รับข้อมูลมากเกินไป กำลังกลายเป็นความเสี่ยงสุขภาพจิตสำคัญของคนไทย และสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของปัญหาความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood disorders)
ปัจจุบัน คนไทย 80% ใช้งานสมาร์ทโฟนเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน และภายในปี ค.ศ. 2030 มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 10 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้ คนไทยวัยแรงงาน 56% กำลังประสบปัญหาเหนื่อยล้าจากโลกดิจิทัล (Digital fatigue) ซึ่งทำให้สูญเสียผลิตภาพการทำงานถึง 40% ต่อคนต่อวัน
นอกจากนี้ ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความโดดเดี่ยวทางสังคม ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญในกลุ่มเยาวชน จากปัญหาการกลั่นแกล้ง ออนไลน์ (Cyber bullying) การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น และแรงกดดันทางสังคม
การขาดความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์ม ความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว การถูกชักจูงโดยอคติการนำเสนอข้อมูลของระบบอัลกอริธึม (Algorithmic bias) จะยิ่งทำให้ผู้คนรู้สึกไม่เชื่อมโยงกับสังคม และมีแนวโน้มสอดคล้องกับภาวะวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากโซเชียลมีเดีย (Social media-induced anxiety)
มีการประเมินว่าภายในปี ค.ศ. 2023 การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลจะเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 20%
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- กำหนดสัดส่วนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดดิจิทัลในพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นเรื่องปกติ สำหรับการฝึกสติและผ่อนคลายจิตใจ ช่วยลดความเครียดในเมือง และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโลกจริง
- ให้ความรู้ด้านการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสถาบันการศึกษา ชุมชน และองค์กร เช่น การกลั่นแกล้ง การถูกแฮกข้อมูล เป็นต้น
- ผลักดัน “สุขภาวะดิจิทัล” เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับข้อเสนอแนะ มาตรฐานการปฏิบัติ นโยบาย ไปจนถึงการผลักดันกฎหมาย
อ่านเพิ่มเติม: อคติที่เกดจากอัลกอริธึม https://www.facebook.com/share/p/H8DeXMrYeVRR9C89/
อ่านเพิ่มเติม: การเอาตัวรอดจาก Echo chamber https://www.facebook.com/share/p/VE7XKZUUUwjqTEpE/
อ่านเพิ่มเติม: เมื่อปัญญาประดิษฐ์ประดิษฐ์สังคม https://www.facebook.com/share/p/aKuKrYwLbvncaAXC/
แรงกดดันและภาวะความไม่มั่นคงด้านเศรษฐกิจ สอดคล้องกันความไม่มั่นคงของตำแหน่งงาน ระบบอัตโนมัติ การถูกแทนที่งานด้วยเทคโนโลยี ความเครียดเกี่ยวกับการเงิน กำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยทำงาน
45% ของแรงงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป รู้สึกวิตกกังวล และกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกแทนที่งานโดยเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ หรือคนที่เรียนรู้เทคโนโลยีได้ดีกว่า
ความไม่แน่นอนเหล่านี้ ส่งผลให้สถานการณ์ภาวะหมดไฟ ภาวะวิตกกังวล วิกฤตตัวตน มีความรุนแรงมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 จะมีคนวัยทำงานมากถึง 20% ต้องเผชิญกับภาวะวิตกกังวล โดยอาการเหล่านี้อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- พิจารณายกระดับสวัสดิการภายในองค์กร เช่น การดูแลสุขภาพจิต การบำบัดสารเสพติด การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมความสุข เป็นต้น
- สนับสนุนการพัฒนาทักษะการทำงาน เพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง และการจัดการสภาวะอารมณ์ภายในองค์กรและระดับเมือง
- พัฒนาระบบให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือแบบทันท่วงที
อ่านเพิ่มเติม: อนาคตตลาดแรงงาน ค.ศ. 2035 https://www.facebook.com/share/p/EKLb6k6yoruADKpd/
อ่านเพิ่มเติม: อนาคตเศรษฐกิจโลกปี ค.ศ. 2023 - 2025 https://www.facebook.com/share/p/zYdH5tEMxAmy7M1g/
ปัญหาซับซ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศกำลังกลายเป็นภัยต่อสุขภาพจิต มีการประเมินว่า 20% ของประชากรโลกจะต้องเผชิญกับความวิตกกังวลจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ และคนไทย 3.5 ล้านคนจะต้องอพยพเพราะปัญหาน้ำท่วมและคลื่นความร้อนภายในปี ค.ศ. 2033
การอพยพจากที่อยู่เดิมโดยไม่จำยอม เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate migration) และปัญหาความวิตกกังวลเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate anxiety) เป็นแนวโน้มที่เด่นชัดมากขึ้นทั่วโลก
นอกจากนี้ การเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ความรุนแรงในสังคม ภัยธรรมชาติ สงคราม เป็นต้น ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder: PTSD) โรคการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorders) และการยอมจำนนและภาวะสิ้นหวัง (Learned helplessness) ซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสเกิดโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้นถึง 15%
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- สร้างความตระหนักรู้และฝึกอบรมการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนถึงหลังจบเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการสภาวะอารมณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว
- ยกระดับและส่งเสริมการเข้าถึงทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental health crisis assessment and treatment team: MCATT) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
- ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจิตจากการเผชิญภัยพิบัติ
อ่านเพิ่มเติม: Eco-anxiety https://www.facebook.com/share/p/QZ9LvAwyViMicgEG/
อ่านเพิ่มเติม: ผู้ลี้ภัยสิ่งแวดล้อม https://www.facebook.com/share/p/t7RJZYzsMAatq4GP/
อ่านเพิ่มเติม: เมืองครึ่งบกครึ่งน้ำ https://www.facebook.com/share/p/PaxtLYRJkSioocgr/
อ่านเพิ่มเติม: อนาคตสิ่งแวดล้อมโลกปี ค.ศ. 2023 - 2025 https://www.facebook.com/share/p/vxjS7rAEQJfnU6Xm/
อ่านเพิ่มเติม: ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการจัดการภัยธรรมชาติ https://www.facebook.com/share/p/3cafVE68qgEcqEvw/
การขยายตัวของความเป็นเมืองมีความสอดคล้องกับภาวะโดดเดี่ยวของคนเมือง ปัจจุบัน ผู้ใหญ่ในประเทศไทย 33% รู้สึกเหงา และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 15% ภายในปี ค.ศ. 2033
การออกแบบเมืองโดยไม่คำนึงถึงคนทุกกลุ่มและหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) หรือปัจจัยมนุษย์วิศวกรรม (Human factors engineering) ส่งผลให้ผู้คนในเมืองมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นจากปัจจัยกดดันด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดความเครียดสะสม ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ประชากรในเมือง 30% จะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตจากความกดดันจากสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ งานวิจัยพบว่าคนเมืองมีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าคนที่อาศัยในชนบท 15%
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- ยกระดับสุขภาวะและการมีปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชน ด้วยโครงการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิต
- ทบทวนและยกระดับการพัฒนาออกแบบเมือง โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะมากขึ้น
- จัดตั้งเขตปลอดภัยทางสุขภาพจิตในเมือง เป็นพื้นที่ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิตและจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน
- จัดกิจกรรมสุขภาพจิตทั่วเมือง เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้นและเข้าถึงบริการที่จำเป็น
อ่านเพิ่มเติม: บทบาทของงานศิลปะเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน https://www.facebook.com/share/p/QXrx7o3UooNc9sWR/
อ่านเพิ่มเติม: Single Fabulous จะใช้ชีวิตอย่างไรในฐานะคนโสด https://www.facebook.com/share/p/hxrq4j1s9G6KKb17/
อ่านเพิ่มเติม: Social Jetlag https://www.facebook.com/photo/?fbid=1144770412994498&set=a.660947871376757
แม้ว่าการให้ความสำคัญกับสุขภาวะมากขึ้นกำลังขับเคลื่อนสังคมไทยไปในทิศทางที่ดี แต่การให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาวะมากเกินไป รวมถึงการบังคับฝืนใจเพื่อมองโลกในแง่ดีจนเป็นพิษ (Toxic positivity)
บ่อยครั้ง การให้คุณค่ากับสุขภาวะมักถูกเชื่อมโยงกับการครอบครองวัตถุและการประสบความสำเร็จในชีวิต ทำให้ผู้คนต้องพยายามซ่อนหรือกดทับอารมณ์ด้านลบ เพื่อฝืนแสดงอารมณ์ด้านบวก นำไปสู่ภาวะหมดไฟ วิกฤตตัวตน การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ และความคิดจบชีวิตตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน
มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ประชากรโลก 15% จะต้องเผชิญกับความคิดเป็นบวกจนเป็นพิษ และความเหนื่อยล้าจากการมุ่งเน้นเรื่องสุขภาวะมากเกินไป (Well-being fatigue) นำไปสู่ความเสี่ยงปัญหาทางอารมณ์เพิ่มขึ้นถึง 10% ภายในปี ค.ศ. 2030 และปัญหาสุขภาพจิตอื่นที่ร้ายแรงกว่าเดิม
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ:
- สำรวจชมรมหรือกลุ่มเพื่อนคู่คิด (Peer support system) ที่มีอยู่แล้วในสถาบันการศึกษาหรือชุมชน และให้การสนับสนุนความรอบรู้ด้านสุขภาวะ รวมถึงการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตในชุมชน
- กำหนดให้อาชีพและตำแหน่งงานกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้นำในองค์กร เป็นต้น พัฒนาทักษะการคัดกรองและสนับสนุนสุขภาพจิตคนรอบข้าง
🎯 ตัวอย่างข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพจิตในสังคมไทย:
1. จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านการคาดการณ์อนาคต (Foresight unit) เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยง และพัฒนานโยบายและมาตรการเชิงรุกที่เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตในอนาคต
2. ส่งเสริมการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในเมืองและชุมชน พร้อมกับการให้บริการด้านสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนทุกกลุ่ม
3. กำหนดให้ การดูแลสุขภาพจิต เป็นสวัสดิการพื้นฐานในสถานประกอบการ เช่น การให้คำปรึกษา การฝึกอบรมด้านสุขภาวะจิต และการบำบัดสารเสพติด เป็นต้น
4. พัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อดูแลสุขภาพจิต ที่สามารถให้คำปรึกษา คัดกรองอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้พนักงานที่มีปัญหาสามารถได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญได้ทันที
5. สร้างเครือข่ายเพื่อนคู่คิด (peer support groups) ในชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้คนสามารถรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้ง่ายขึ้น
อ่านเพิ่มเติม: พลิกอนาคตองค์กรด้วยการคาดการณ์อนาคต https://www.facebook.com/share/p/BZ6pbwDXCQ5NnFeb/
อ่านเพิ่มเติม: แนวคิดการติดตามสุขภาพจิตแบบเรียลไทม์ https://www.facebook.com/share/p/xaATPgVZPJHihRYM/
อ่านเพิ่มเติม: นโยบายตอบโจทย์คนเมืองในอนาคต ด้วย 8 มิติสุขภาวะที่ดี https://www.facebook.com/share/p/9esX5oWFDsgBqzSU/
อย่ารอช้า! เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตในอนาคตตั้งแต่วันนี้
🔊 ดาวน์โหลดฟรี: งานวิจัย อนาคตสุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2576 (Future of Mental Health in Thailand 2033) https://www.futuretaleslab.com/research/futuresofmentalinthailand2033
ติดต่อเพื่อจัดอบรมหรือบริการที่ปรึกษาเพื่อสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการรองรับต่ออนาคต: contact@futuretaleslab.com
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #Thailand #MentalHealth #WorldMentalHealthDay #MQDC
โฆษณา