Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JOBBKK.COM
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2024 เวลา 08:03 • ธุรกิจ
เงินประกันการทำงาน เมื่อเรียกเก็บไม่ถูกต้องตามมาตรา 10
มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ‼️
👉 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 ห้ามนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง ยกเว้นลักษณะงานที่ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง
7 ลักษณะงานที่สามารถเรียกเก็บเงินประกันการทำงาน
✅ 1 งานสมุห์บัญชี
✅ 2 งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน
✅ 3 งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาว และไข่มุก
✅ 4 งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง
✅ 5 งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
✅ 6 งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ
✅ 7 งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร
📌 หมายเหตุ : ลูกจ้างต้องเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเหล่านี้ด้วยนะคะ
นอกจาก 7 งานดังกล่าว กรณีที่งานนั้นต้องดูแลทรัพย์สินนายจ้าง นายจ้างอาจเก็บเงินประกันหรือไม่เก็บก็ได้ แต่ผลทางกฎหมายคือ มีสิทธิเรียกเก็บนะคะ เช่น
ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมัน ที่ต้องดูแลทรัพย์สินในร้านสะดวกซื้อ หรือผู้จัดการอาคารชุด ที่ต้องรับเงินจากลูกค้า ออกใบเสร็จรับเงินในนามของลูกจ้างเอง ควบคุม กำกับ ดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย ซึ่งเท่ากับว่ามีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้าง จึงสามารถเรียกเก็บเงินประกันการทำงานได้ค่ะ
แต่ถ้าไม่ใช่ลักษณะงานหรือตำแหน่งตามที่ว่านี้ แล้วนายจ้างเรียกเก็บ หรือบางบริษัทหักจากค่าจ้าง 5% นายจ้างทำผิดกฎหมายนะคะ เมื่อลูกจ้างลาออก ก็ต้องจ่ายคืนทั้งหมด พร้อมกับดอกเบี้ยด้วยค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล :
hrbuddybyjobbkk@gmail.com
#เงินประกันการทำงาน #คนทำงาน #พนักงาน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน #hr #hr2024 #HRBuddy
มนุษย์เงินเดือน
hr
กฎหมาย
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย