9 ชั่วโมงที่แล้ว • ธุรกิจ

ทำไมบริษัทต้องเสียภาษี

ทำไมบริษัทต้องเสียภาษีบริษัท หรือภาษีห้างหุ้นส่วน เป็นภาษีที่คนที่จะทำธุรกิจในรูปแบบบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ต้องเสียให้กับรัฐบาล และมีลักษณะเหมือนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา แต่ก็จะแต่มีเปอร์เซ็นต์กับจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายไม่เท่ากัน
ขอบคุณรูปภาพจาก Accpax แอปพลิเคชันบัญชีออนไลน์
1). ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
1. บริษัท จำกัด
2. บริษัทมหาชน จำกัด
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย
2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย
3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
5. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
6. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
1. รัฐบาลต่างประเทศ
2. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
3. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
1. บริษัทกับบริษัท
2. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
4. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
5. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
6. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
7. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
(6) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
ขอบคุณรูปภาพจาก www.nasnpptk.com
2). นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวในข้างต้น และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
ขอบคุณรูปภาพจาก tanateauditor.com
3). ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) กำไรสุทธิ
(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
 
(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
 
(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
ขอบคุณรูปภาพจาก www.nasnpptk.com
4). ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ และมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมีรายได้
ฐานภาษี
(1) กรณีกิจการขนส่ง
1. กรณีรับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บใน ประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น ให้คำนวณภาษีอัตราภาษีร้อยละ 3
ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณ จากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากคนโดยสารอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมดหรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
2. การให้บริการรับขนสินค้าจากประเทศไทยจะต้องคำนวณภาษีอัตรา 3% จากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์อื่น ๆ โดยฐานภาษีจะขึ้นอยู่กับมูลค่าค่าระวางที่ได้รับ สำหรับการขนส่งทางอากาศและทางทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการด้วย
(2) กรณีมูลนิธิหรือสมาคม
มูลนิธิหรือสมาคมใดมิได้จดทะเบียนการจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีฐานะเป็นเพียงคณะบุคคลซึ่ง อาจจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจัดตั้งสโมสรสำหรับพนักงานเพื่อดำเนินกิจกรรม สันทนาการสำหรับพนักงาน หรือนักศึกษาจัดตั้งสโมสรหรือชมรมต่างๆ โดยไม่ได้ผูกพันกับนิติบุคคลใดโดย เฉพาะ ย่อมมีฐานะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้อย่าง บุคคลธรรมดาแม้ว่าจะไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือเพื่อที่จะแบ่งปันกำไรก็ตาม
รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรายได้ที่มูลนิธิหรือสมาคมจะต้อง เสียภาษีเงินได้ จะรวมถึงรายได้ทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาจากทางใดๆ เช่น รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล ฯลฯ
รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) ได้แก่
1. ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก
2. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค
3. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
นอกจากนี้ ยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะเงินได้จากกิจการโรงเรียน เอกชนซึ่งได้ ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของการรับจ้างทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่ โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน (มาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500)
(3) มูลนิธิและสมาคมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ดังนี้
1. เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือ การอื่นๆ เสียร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
2. เงินได้อื่น ๆ นอกจาก (ก) เสียร้อยละ 10 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายการคำนวณภาษีเงินได้ของมูลนิธิ หรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีด้วย
(4) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
1. กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือนิติบุคคล ต่างประเทศจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและ ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี กิจการขนส่งระหว่างประเทศนี้มิ ต้องยื่นเสียภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่น คือ ภ.ง.ด.52 (ยื่นรอบระยะเวลาบัญชี ละ 1 ครั้ง)
2. มูลนิธิและสมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้ต้องยื่นแบบ แสดงรายการและชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นคือ ภ.ง.ด. 55 (ยื่นรอบระยะเวลาบัญชีละ 1 ครั้ง) ในการยื่นแบบแสดงรายการนั้นมูลนิธิและสมาคมต้องแสดงบัญชีรายได้ ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ที่มีผู้สอบบัญชี ตามมาตรา 3 สัตตตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวด้วย แต่ไม่ต้องแนบงบดุลแต่อย่างใด
5). ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(1) เงินได้ที่ต้องหักภาษี เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งผู้จ่ายมีหน้าที่ต้อง หักภาษี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6)
1. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับ ทำงานให้ (ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเงินกู้ยืม ในทางปฏิบัติถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8)
2. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล
3. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ได้แก่เงินได้ที่เป็น
3.1 ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
กรณีได้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องเสีย ภาษีฐานนี้ (มาตรา 70 วรรค 2 )
3.2 เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือกองทุนรวม
3.3 เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3.4 เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน
3.5 เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้ รวมกัน
3.6 ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
3.7 ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
4. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน
5. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบ โรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
(2) วิธีการคำนวณหักภาษีฐานนี้ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแยกออก ตามประเภทของเงินได้ ดังนี้
1. เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(2)(3)(4)(5) และ (6) นอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ดังจะกล่าวต่อไปใน (2) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15
2. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 10
การยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับบริษัทต่างประเทศข้างต้น ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินแบบแสดงรายการที่ยื่น ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.54 (ถ้าไม่มี การส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)
6). ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจำหน่ายเงินกำไรหรือเงิน ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่าย
การจำหน่ายเงินกำไรนั้นให้หมายความรวมถึง
(1) การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร จากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใดไปชำระหนี้ หรือหักกลบลบหนี้หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชี ของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ
(2) ในกรณีที่มิได้ปรากฎข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่ได้มีการขออนุญาตซื้อและโอนเงินตรา ต่างประเทศ ซึ่งกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไป ต่างประเทศ หรือ
(3) การปฏิบัติอย่างอื่นอันก่อให้เกิดผลตาม (1) หรือ (2)
(2) อัตราภาษีและการคำนวณภาษี วิธีการเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศนี้ ให้เสียภาษีโดยหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10
(3) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่น ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยื่นทุกครั้งที่มีการจำหน่ายเงิน กำไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเก็บกำไรไว้ในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีฐานนี้)
7). สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สรรพากรเขต/อำเภอ เดิม) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
(2) ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
2. ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ
หมายเหตุ การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.50 , ภ.ง.ด.51 , ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.54 สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็ได้
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
ไม่ว่าผู้อ่านจะทำธุรกิจอะไรก็ต้องเสียภาษี
Easy Finance
โฆษณา