2 พ.ย. 2024 เวลา 17:00 • ธุรกิจ

VAT คืออะไรทําไมต้องจ่ายVAT?

VAT หรือภาษีมูลค่าเพื่ม มันเป็นสิ่งที่ที่เพื่มขึ้นมาจากการที่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ โดยที่ประเทศได้มีการเก็บVAT อยู่ที่ 7% ซึ่ง 7% นี้จะไปอยู่ในบิลใบเสร็จทุกครั้งหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
(1) ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดเวลาการจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน
(2) ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
  • 1.
    ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  • 2.
    ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • 3.
    การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  • 4.
    การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • 5.
    การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
(3) ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • 1.
    ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • 2.
    ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  • 3.
    ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  • 4.
    ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • 5.
    ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
(4) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสาร ที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป
กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการแห่งนั้น ๆ
กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01
(5) หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2. ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า
(6) ประเภทของใบกำกับภาษี
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1.1 การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1.2 การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม เพื่อออกฉบับใหม่
1.3 การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
3. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี
3.1 ใบเพิ่มหนี้
3.2 ใบลดหนี้
3.3 ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด
3.4 ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริงบำรุงสมองและสายตา
สินค้าที่นำเสนอขายเฉพาะใน "Shopee" เท่านั้น
สามารถซื้อสินค้าได้ที่นี่
ผู้บริโภคจะเป็นผู้ชำระภาษีนี้ในราคาสินค้าและบริการที่ซื้อ
Easy Finance
โฆษณา