Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 05:45 • สุขภาพ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก คืออะไร? ใครบ้างสาเหตุเข้ารับการรักษา
ปัจจุบันภาวะความอ้วนในประเทศไทยเรามีแต่จะพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ทางเลือกเพื่อการรักษา คือ การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เผยคุณสมบัติที่สามารถผ่าตัดได้ เผยขั้นตอนการดูแลหลังผ่าตัด
โรคอ้วน คือภาวะที่ร่างกายคนเราสะสมไขมันมากเกินความจำเป็นจนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา ทั้งนี้การจะทราบว่าเราอ้วนหรือไม่นั้นสามารถพิจารณาได้จากค่า BMI หรือการวัดดัชนีมวลกาย ซึ่งสามารถคำนวณหาได้โดยการ นำน้ำหนัก (กิโลกรัม) มาหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (เซนติเมตร) โดยหากคำนวณออกมาแล้วเราได้ค่า BMI ที่อยู่ระหว่าง 25-30 นั่นหมายความว่าเราเป็นโรคอ้วนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงโรคอันตราย อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ มะเร็งหลายๆ ชนิด โรคข้อเข่าเสื่อม
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
พฤติกรรมและนิสัยในการรับประทานอาหาร คือสาเหตุหลักที่นำพาเราทุกคนไปสู่โรคอ้วนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ชอบกินจุบจิบ ไม่ควบคุมปริมาณอาหารให้ดี ชอบรับประทานบุฟเฟต์ อาหารไขมันสูง ฯลฯ ก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแล้ว ก็ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อีก ที่ทำให้เราเป็นโรคอ้วนได้ คือ
● กรรมพันธุ์ โดยมีโอกาสมากถึงกว่าร้อยละ 80 ที่หากพ่อแม่อ้วนแล้ว ลูกจะอ้วนตาม แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นเสมอไป เพราะก็ต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจ และวิธีการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตด้วย
● ความเครียด ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คนเคยผ่านช่วงเวลาของการ “รับประทานบำบัด” กันมาไม่มากก็น้อย เป็นความรู้สึกที่ว่า ถ้าได้ทานของอร่อยๆ แล้วจะหายเครียด ทำให้เราไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารได้ และเกิดเป็นกระบวนการตามใจปาก ที่ร่างกายเคยชิน คือ พอเครียดปุ๊บก็ต้องทานปั๊บ หาของหวานเป็นรางวัล จนติดเป็นนิสัยและทำให้เป็นโรคอ้วนในที่สุด
● เพศ แม้ว่าสาเหตุหลักจะเกิดจากพฤติกรรม แต่จากสถิติก็พบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้มากกว่าผู้ชาย
● อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญร่างกายคนเราก็ทำงานแย่ลง ถ้าไม่ควบคุมพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม โอกาสอ้วนก็มีสูงขึ้น
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) คือ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะให้เล็กลง หรือเพื่อลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน เพราะว่าในกระเพาะอาหารของเรามีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความอยากอาหาร เมื่อเราผ่าตัดลดขนาดกระเพาะลง ก็จะตัดส่วนที่มีฮอร์โมนชนิดนี้ออกไปด้วย และเมื่อฮอร์โมนนี้ลดลงก็จะส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงไป
ผู้ที่สามารถผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักได้
● มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
● ลดความอ้วนด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ปัจจุบันสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็ก โดยผู้ป่วยจะมีรอยแผลเล็กๆ ที่หน้าท้องประมาณ 5 แผล ขนาดของแผลจะใหญ่เพียงไม่เกิน 2 ซม. เนื่องจากใช้เทคนิคพิเศษผ่านเครื่องมือการผ่าตัดขนาดเล็ก ส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว เจ็บน้อย และกลับมาใช้ชีวิตตามเดิมได้เร็วขึ้น ไม่ต้องพักฟื้นยาวนานในโรงพยาบาล
ดูแลหลังการผ่าตัดกระเพาะ
ภายหลังการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักผ่านกล้อง เพื่อรักษาโรคอ้วน ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการควบคุมอาหารทันที เพื่อให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูงสุด ระยะสัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะรับประทานได้แต่อาหารเหลว ส่วนในสัปดาห์ต่อมาจึงจะสามารถรับประทานอาหารเป็นชิ้นๆ ได้ แต่ก็ต้องเป็นชิ้นเล็กๆ อาทิ ข้าวต้ม ผู้ป่วยจำเป็นต้องเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
และไม่ควรดื่มน้ำพร้อมอาหาร ควรรับประทานอาหารก่อน และค่อยดื่มน้ำตามหลัง ประมาณ 30 นาที หลังทานอาหารเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้รู้สึกอิ่มได้นาน ทั้งนี้ กฎเหล็กอีกขึ้นหนึ่งที่ควรตระหนักและปฏิบัติให้ได้ คือ ถ้าไม่หิว ต้องไม่กิน เพราะถ้าเรากิน เพราะอยากกิน การผ่าตัดที่อุตส่าห์ตั้งใจรักษาเพื่อให้กลับมาควบคุมน้ำหนักได้ ก็ไม่มีความหมาย
อย่างไรก็ตาม ไม่มีการรักษาโรคอ้วนด้วยวิธีได้ จะได้ผลและมีประสิทธิภาพไปกว่า “การควบคุมพฤติกรรมการกิน” ของตัวเราเองอีกแล้ว เพราะต่อให้เราผ่าตัดลดกระเพาะให้เล็กลงเท่าไร แต่เรายังไม่เปลี่ยนแปลงนิสัยการทานอาหารของตัวเราเอง การลดน้ำหนักก็จะไม่มีทางทำสำเร็จได้อย่างแน่นอน
ดังนั้น ไม่ว่าวันนี้เราจะเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนัก ผ่าตัดกระเพาะเพื่อรักษาโรคอ้วนแล้วหรือไม่ การให้ความสำคัญกับนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้เราลดน้ำหนักได้สำเร็จ มีรูปร่างที่ดี และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/6134
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
ร่างกาย
สุขภาพจิต
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย